กรุงเทพฯ, ประเทศไทย -29 สิงหาคม 2567– หลังจากที่การประชุมระหว่างสมัย (Intersessional Work) ซึ่งจัดขึ้นก่อนหน้าการเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global Plastic Treaty) ที่เป็นมาตรการด้านมลพิษพลาสติกและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24-28 สิงหาคม 2567 ได้จบลง สนธิสัญญานี้คือความหวังในการยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
ในขณะที่การประชุมในครั้งนี้ ขาดผู้สังเกตการณ์ และการขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการระหว่างการประชุมจากภาคประชาสังคม ผู้ถือสิทธิ รวมถึงชนพื้นเมือง การขาดการมีส่วนร่วมของกลุ่มเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนพื้นฐานในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิทธิที่สำคัญ โดยเฉพาะต่อกลุ่มผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง
พิชามญชุ์ รักรอด หัวหน้าโครงการรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติก กล่าวว่า “ก่อนที่เราเข้าสู่การเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกโลกครั้งที่ 5 (INC-5) ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ ผู้นำโลกต้องยอมรับว่าทางเดียวที่จะจัดการกับวิกฤตมลพิษพลาสติกได้ คือการให้ความสำคัญกับการลดการผลิตและยุติการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ การเจรจาในอนาคตต้องโปร่งใสและรับฟังเสียงของภาคประชาสังคม ชนพื้นเมือง และชุมชนที่ได้รับผลกระทบเป็นสำคัญ เพื่อสร้างข้อตกลงที่ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ
ผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศจากมลพิษพลาสติกกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นผู้นำโลกต้องเลือกที่จะให้ความสำคัญกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม มากกว่าการแสวงหาผลกำไรระยะสั้นของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้น”
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ ประเทศไทย
โทร. 081 929 5747 อีเมล[email protected]