นับตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา การผลิตและการใช้พลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก Plastics Europe ซึ่งเป็นองค์กรด้านการค้า ระบุว่า ในปี 2563 การผลิตพลาสติกทั่วโลกจะขึ้นไปถึง 367 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก 359 ล้านเมตริกตันในปี 2561ในกรณีที่มีการดำเนินการไปตามปกติ การประมาณการณ์โดยอุตสาหกรรมคาดว่า การผลิตพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2573-2578 และ 3 เท่าในปี 2593 เมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งจริง ๆ แล้ว รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ของมูลนิธิมินเดอรู (Minderoo Foundation) พบว่า มีผู้ผลิตพลาสติกโพลีเมอร์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเพียง 5 ราย ที่วางแผนเพิ่มกำลังการผลิตอีก 30% หรือ เพิ่มขึ้น 70 ล้านเมตริกตันระหว่างปี 2563-2568

การขยายตัวของการผลิตพลาสติก ทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจนคุกคามต่อเป้าหมายที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส(เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

รายงานฉบับนี้ เราจะสำรวจว่า แบรนด์ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นล้มเหลวที่จะลดการพึ่งพาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างมีนัยสำคัญ และการลงทุนอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อขยายกำลังการผลิตพลาสติกนั้นนำไปสู่ความนิยมพลาสติก (plastic boom) ที่อาจขยายกำลังการผลิตเป็น 3 เท่าภายในปี 2593 ได้อย่างไร

นอกจากการเร่งเร้าวิกฤตมลพิษพลาสติก การขยายตัวของการผลิตพลาสติกเป็นบ่อนทำลายศักยภาพ เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ได้อย่างไร

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม

ทั้งนี้ ประเด็นที่เราสำรวจเป็นการเฉพาะคือ

  • บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค (Fast-moving Consumer Goods – FMCG) ล้มเหลวในการรายงานอย่างโปร่งใสเรื่องผลกระทบว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างไร
  • การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่าง บริษัท FMCG รายใหญ่ 9 แห่งกับ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • การเน้นถึงการรีไซเคิลที่สืบเนื่องมาหลายทศวรรษในฐานะเป็นข้ออ้างบังหน้าแต่แท้ที่จริงแล้วเอื้อให้มีการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้น
  • ผลกระทบสภาพภูมิอากาศและประเด็นกับ “การรีไซเคิลทางเคมี”
  • ผลกระทบด้านสุขภาพของมนุษย์และความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  • ภูมิภาคหลักที่มีการขยายตัวของการผลิตพลาสติก
  • ความจำเป็นของบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ที่ต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบการจัดส่งแบบไม่มีบรรจุภัณฑ์หรือระบบใช้ซ้ำ เพื่อยุติการขยายตัวของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ