-
รายงาน เสียงแห่งจะนะ Voice of Chana
รายงาน “เสียงแห่งจะนะ” เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม โดยมีข้อมูลคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลฉากทัศน์ความเสี่ยงด้านผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านมลพิษทางอากาศ และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หากมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิดขึ้น รวมถึงผลลัพธ์จากการะบวนการเปิดพื้นที่รับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่มาจากการระดมความเห็นของประชาชนหลากหลายอาชีพ
-
รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน หมู่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ดำเนินไปจนสุดกระบวนการอันจะนำมาสู่การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ โครงการวิจัยจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลกระทบดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ด้านมลพิษอากาศอันเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดขอบเขตโดยชุมชนอมก๋อย
-
อมก๋อย แหล่งอากาศดีที่อาจสิ้นสูญ : แผนที่ความเสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศกรณีดำเนินโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย ตำบลกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ดำเนินไปจนสุดกระบวนการอันจะนำมาสู่การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ โครงการวิจัยจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลกระทบดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ด้านมลพิษอากาศอันเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดขอบเขตโดยชุมชนอมก๋อย
-
รายงาน: 30×30 จากสนธิสัญญาทะเลหลวงสู่เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล
รายงาน 30x30: From Global Ocean Treaty to Protection at Sea เผยข้อมูลการวิเคราะห์ของภัยคุกคามทะเลหลวง และสาเหตุว่าทำไมเราต้องใช้สนธิสัญญาทะเลหลวงสร้างเขตคุ้มครองทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งหมดภายในปี 2573 พื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด 11 ล้านตารางกิโลเมตรต้องได้รับการปกป้องตามเป้าหมาย 30x30 ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมตั้งแต่ปี 2565 และสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ทันกำหนด
-
ผลวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และจุดความร้อน ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ปี 2564-2566 : ความท้าทายของระบบตรวจสอบย้อนกลับของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์
ข้อมูลการวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดระบุว่าในปี 2566 พบจุดความร้อนในแปลงข้าวโพดเลี้ยง สัตว์มากถึงร้อยละ 41 ของจุดความร้อนทั้งหมดในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ขณะเดียวกัน ผืนป่าในอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขงหายไป 11.8 ล้านไร่จากการขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะเวลาเพียง 9 ปี (ปี 2558-2566)
-
The Mercury Monster
รายงานการปลดปล่อยปรอทจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ฉบับกราฟิก
-
World Air Quality Report 2022
รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2565 นี้เป็นรายงานฉบับที่ 5 ซึ่ง IQAir จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลคุณภาพอากาศ PM2.5 จาก 7,323 เมือง ใน 131 ประเทศ และภูมิภาค โดยรวบรวมข้อมูลมาจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดินกว่า 30,000 แห่งทั่วโลก และใช้เกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นค่าพื้นฐานในการนำเสนอข้อมูลคุณภาพอากาศ
-
ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ ประเทศไทย ต่อพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2566
ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในปี 2566 นี้ กรีนพีซ ประเทศไทย ในฐานะเป็นองค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และรัฐบาลไทย ในประเด็นสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย
-
รายงานการปลดปล่อยปรอทจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยนเรศวร และ กรีนพีซ ประเทศไทย ขอชวนอ่าน “รายงานการปลดปล่อยปรอทจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย” (Mercury Emission from Coal Plants in Thailand) ที่จะทำให้เรารู้จักปรอทในบริบทของประเทศไทยมากขึ้น สำรวจแนวโน้มของการปนเปื้อนปรอทในอาหาร และเห็นว่าการรั่วไหลของปรอทต่อระบบนิเวศเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
-
รายงานประจำปี 2563-2564
ปี 2563 และ 2564 เป็นปีที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์เราต้องย้อนกลับมาพิจารณาการกระทำและการตัดสินใจที่ผิดพลาดตลอดหลายปีที่ผ่านมา และทำให้เกิดผลกระทบที่กลายเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์เอง