การศึกษาของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ระบุพบไมโครพลาสติกในอุจจาระของหมีดำฟอร์โมซาน (Ursus thibetanus formosanus), กวางป่าไต้หวัน (Rusa unicolor swinhoii), นากใหญ่ธรรมดา(Lutra lutra), หมาไม้ (Martes flavigula) และแมวดาว (Prionailurus bengalensis) ซึ่งสัตว์ทุกสายพันธุ์อยู่ในบัญชีแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกของไต้หวัน และยังอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังพบไมโครพลาสติกในน้ำที่เก็บจากแหล่งที่อยู่อาศัยของหมีดำฟอร์โมซาน กวางป่าไต้หวัน นากใหญ่ธรรมดา และปลาแซลมอนน้ำกร่อยไต้หวัน (Oncorhynchus masou formosanus) รวมถึงตัวอย่าง ลูกน้ำ แมลงที่เป็นอาหารหลักสำหรับฟอร์โมซาน ปลาแซลมอนน้ำกร่อยไต้หวัน

นักวิจัยเก็บตัวอย่างอุจจาระ 112 ตัวอย่างจากสัตว์ทั้ง 5 ชนิด จากตัวอย่างเหล่านี้ พบไมโครพลาสติกจำนวน 604 ชิ้น มีขนาดตั้งแต่ 10.0 ไมโครเมตร ถึง 1,333.3 ไมโครเมตร

ในขณะเดียวกัน ยังพบชิ้นส่วนไมโครพลาสติกทั้งหมด 1,323 ชิ้นในตัวอย่างน้ำ มีขนาดตั้งแต่ 10.0 ไมโครเมตร ถึง 1,431.7 ไมโครเมตร การทดสอบยังเผยให้เห็นว่าไมโครพลาสติกมีอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยและอาหารของปลาแซลมอนน้ำกร่อยไต้หวัน (Formosan landlocked salmon)

นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนว่าปัญหาของไมโครพลาสติกซึ่งในตอนนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติแล้ว จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น พลาสติกถือเป็นภัยคุกคามไม่เพียงแค่ระบบนิเวศทางทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบนิเวศบนบกและน้ำจืดอีกด้วย ไมโครพลาสติกจะยังคงอยู่ยาวนาน และเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้วจะไม่สามารถเก็บออกหรือจัดการแก้ไขได้ 

Notes:
English executive summary here.
Full report here.