ปีแห่งความสําเร็จด้านสิ่งแวดล้อม

ในปี 2566 การผลักดันประเด็นสิ่งแวดล้อมในทั่วภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นถึงพลังการเปลี่ยนแปลงของความหวังและการร่วมมือกัน จนเกิดเป็นชัยชนะที่สําคัญขึ้น ทั่วภูมิภาค แม้อยู่ท่ามกลางความท้าทายมากมาย

ความมุ่งมั่นของกรีนพีซ อินโดนีเซีย ในการหาทางรับมือกับ สถานการณ์มลพิษข้ามพรมแดนบรรลุผลสําเร็จหลังจากที่ ศาลได้พิจารณาตัดสินให้เจ้าหน้ารัฐที่ต้องมีภาระรับผิดชอบต่อ มลพิษทางอากาศ และมีคําสั่งให้ใช้มาตรฐานคุณภาพอากาศ ที่เข้มงวดมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีคดีที่ศาลกรุงจาการ์ตา พิพากษาให้ชาว Awyu เป็นผู้ชนะ คําตัดสินนี้ช่วยปกป้องรักษา พื้นที่ป่าฝนไว้ได้มากกว่า 65,000 เฮกตาร์ แม้จะมีอุปสรรค จากการต่อสู้คดีเรื่องการแผ้วถางป่าอยู่ก็ตาม

ในมาเลเซียนั้น การเข้าไปมีส่วนร่วมกับเยาวชนกลายเป็นเป้าหมายสําคัญระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะสัดส่วนของเยาวชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z นับเป็นตัวแปรสําคัญต่อผลการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วม จองคนรุ่นใหม่แสดงถึงพลังที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง แคมเปญ เลือกตั้งเชิงสร้างสรรค์บนพื้นที่สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ช่วยชูประเด็น สิ่งแวดล้อมขึ้นในวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเมืองก่อน การเลือกตั้งที่จะมาถึง นับเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะมาร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของไทยนั้น กรีนพีซได้ดําเนินงานเพื่อผลักดันเชิงนโยบาย อาทิ การจัดกิจกรรมตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติกเพื่อค้นหาผู้ก่อมลพิษพลาสติกรายใหญ่ การจัดทํารายงาน “เสียงแห่งจะนะ” ซึ่งเป็นรายงานที่ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นลุกขึ้นมา ปกป้องระบบนิเวศทางทะเลในบ้านของตัวเองจากการพัฒนาพื้นที่ อุตสาหกรรม กรีนพีชยังพยายามต่อสู้กับมลพิษข้ามพรมแดน ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ดี นอกจากนี้ ภาคประชาสังคมยังได้รวมตัวกันเรียกร้องให้มีการบังคับใช้ กฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ หรือ PRTR เพื่อผลักดันให้ผู้ก่อมลพิษมีความโปร่งใส่และภาระรับผิดชอบ

งานของกรีนพีซ ฟิลิปปินส์นั้น มีการร่วมมือกับขบวนการ เคลื่อนไหวในท้องถิ่นเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยมีการนําเสนอความริเริ่มเพื่อเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยกรีนพีซมีหน้าที่หลักในการ ส่งเสริมภาระรับผิดชอบต่อสภาพภูมิอากาศ ความพยายามนี้น่าไปสู่การผ่านเทศบัญญัติว่าด้วยความรับผิดต่อสภาพภูมิอากาศในจังหวัดซามาร์ตะวันออก

ในขณะเดียวกัน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังทํางานรณรงค์เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติในภาคประมงอย่างแข็งขัน โดยสนับสนุนการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทํางานในภาคประมงเพื่อจัดการปัญหาการใช้แรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงอีกด้วย

ความหวังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกที่น่าอยู่เปรียบ เสมือนแรงขับเคลื่อนความพยายามในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้นี้ ในยามที่อนาคตดูเลือนราง เรายืนหยัดยึดมั่นในความหวังเพราะความหวังจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวและ ความมุ่งมั่นได้ ความเชื่อมั่นนี้จะนําทางชุมชนท้องถิ่นไปข้างหน้าและเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น