ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแบรนด์แฟชั่นออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Shein ประกาศบริจาคเงิน 15 ล้านดอลลาร์ให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานกับกลุ่มแรงงานงานขยะสิ่งทอในกานา

คำมั่นสัญญานี้เกิดขึ้นระหว่างการประชุมแฟชั่นระดับโลกในกรุงโคเปนเฮเกน ทำให้แบรนด์ Shein ได้รับคำชมอย่างล้นหลามแต่แท้ที่จริงแล้วบริษัทไม่ได้ทำอะไรไปมากกว่าการบริจาค นี่เป็นเพียงหนึ่งในการฟอกเขียวเท่านั้นและไม่ส่งผลดีทางสิ่งแวดล้อม

ทำไมการบริจาคเงินของ Shin จึงไม่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

แม้ว่า Shein จะเป็นธุรกิจด้านแฟชั่นที่ได้รับความนิยมแต่จริง ๆ แล้วเบื้องหลังความสำเร็จนั้นคือการทำธุรกิจที่ไม่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม Shein ยกระดับตัวเองจากโมเดลธุรกิจ Fast Fashion ให้กลายเป็น Ultra-Fast Fashion  แต่ยังคงเป็นธุรกิจแฟชั่นที่ใช้ทรัพยากรโลกอย่างสิ้นเปลืองหรือเรียกได้ว่าเป็นการทำธุรกิจที่เอาเปรียบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านแรงงาน

จุดขายของแบรนด์ Shein คือเสื้อผ้าราคาถูก หลากหลายรูปแบบ แต่หากย้อนกลับไปดูห่วงโซ่การผลิตแล้ว การผลิตเสื้อผ้าที่เป็น Fast Fashion นั้นจะ มีราคาถูก มีอายุการใช้งานสั้น และคุณภาพไม่ดี ทำให้การใส่ซ้ำ ขายต่อ หรือกำจัดเสื้อผ้าเหล่านี้จึงมีราคาสูงมากกว่าการผลิตขึ้นมาใหม่

ขยะสิ่งทอส่วนใหญ่มักจะถูกทิ้งลงแม่น้ำไนโรบี ประเทศเคนยา เนื่องจากหลุมขยะตามสถานที่ต่าง ๆ อัดแน่นไปด้วยขยะแล้ว © Kevin McElvaney / กรีนพีซ

เดือนเมษายนที่ผ่านมาทีมวิจัยของกรีนพีซแอฟริกาและกรีนพีซเยอรมนีได้ศึกษาเพิ่มเติมในเคนยาและแทนซาเนียและพบว่า เสื้อผ้า Fast Fashion ราคาถูกโดยเฉพาะ Ultra-Fast Fashion ที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่มีสภาพไม่คงทน เมื่อเสื้อผ้าที่ถูกส่งมาไม่สามารถสวมใส่ได้ก็จะถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีเช่น ทิ้งตามหลุมขยะ เผาทิ้ง ทิ้งไว้ตามแม่น้ำ ถูกกระแสน้ำพัดลงสู่ทะเล และท้ายที่สุด Fast Fashion เหล่านี้กลายเป็นมลพิษต่อมนุษย์และโลก

เราได้รับข้อมูลที่น่าตกใจเมื่อมีประเด็นหลายๆประเด็นในรายงานของกรีนพีซเยอรมนี  ‘ของขวัญอาบยาพิษ’ ที่ศึกษาปัญหาขยะสิ่งทอในเคนยาและทานซาเนีย มีความคล้ายคลึงกับประเด็นที่เกิดขึ้นในกานา ซึ่งเป็นประเทศที่องค์กร The Or Foundation (องค์กรที่รับเงินบริจาคจาก Shein) ทำงานอยู่

คนงานเก็บขยะในแดนโดรา ไนโรบีต้องแบกภาระความเสี่ยงทางสุขภาพเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหลุมขยะ © Kevin McElvaney/ กรีนพีซ

แม้ว่าเงินจะเป็นปัจจัยหลักสำหรับการทำงาน แต่การรับเงินจาก Shein ของ The Or Foundation อาจทำให้องค์กรไม่มีความอิสระในการทำงานอีกต่อไป ทั้งนี้เมื่อย้อนดูห่วงโซ่การผลิตภายใต้การผลิตและผลกระทบจากขยะสิ่งทอของ Shein ก็ไม่ได้พบแค่ในกานาเท่านั้น ซึ่งทำให้บริษัทผู้ผลิตอย่าง Shein ต้องจ่ายค่าการจัดการมลพิษตามหลักการ “ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นคนจ่าย” (Polluter Pays) เพื่อรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของตนที่อาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้คน ไม่ว่ามลพิษนั้นจะอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้

แบรนด์เสื้อผ้ายักษ์ใหญ่ต้องทำอะไร

รูปแบบการทำธุรกิจของ Shein กำลังส่งเสริมให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม โดยเฉพาะตอนนี้ที่เรากำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Emergency) และวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ  ดังนั้นเราต้องการให้แบรนด์แฟชั่นชั้นนำทั่วโลกยุติการทำธุรกิจแบบ Fast Fashion หันมาผลิตเสื้อผ้าที่มีคุณภาพ สามารถใส่ซ้ำได้นานขึ้นเพื่อลดใช้ทรัพยากรในห่วงโซ่การผลิต 

หากแบรนด์ธุรกิจ fast fashion ทั้งหลายเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจจากเดิม หันมาผลิตเสื้อผ้าที่มีคุณภาพมากขึ้น สามารถใส่ได้นาน มากกว่าสนใจผลกำไรที่จะได้จากการผลิตสินค้าก็อาจเป็นโอกาสที่เราจะส่งต่อโลกที่เต็มไปด้วยทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ให้กับคนรุ่นต่อไป – วิโอลา  โวลเกมุธ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเศรษฐกิจยั่งยืนและสารพิษ กรีนพีซ เยอรมนี

#Consumption