All articles
-
ชุมชนเกาะขนุนรวมพลัง! ยื่นค้านโครงการสายส่งโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล หวั่นกระทบที่ดินทำกินกว่า 500 ไร่
พี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากโครงการประกาศกำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ได้เข้ามาดำเนินการสำรวจที่ดินเบื้องต้นในพื้นที่ ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียร้อนขึ้นเป็นประวัติการณ์ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมหาสมุทรกลายเป็นหม้อต้มน้ำเดือด
ล่าสุด อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียสูงขึ้นจนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน โดยปีที่ผ่านมา (2567) อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลสูงจนทำลายสถิติที่เคยบันทึกได้ ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดสำหรับมหาสมุทรออสเตรเลีย ซึ่งสถิติดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขชี้วัด แต่บ่งบอกถึงวิกฤตที่เป็นคลื่นใต้น้ำ คุกคามชีวิตของสัตว์ทะเล แนวปะการัง และวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งซึ่งพึ่งพาทะเลอันอุดมสมบูรณ์
-
กรีนพีซ ประเทศไทย แสดงจุดยืนคดี SLAPP ยืนยันไม่ยอมให้ใครปิดปากการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
กรีนพีซ ประเทศไทย แสดงจุดยืนชัดเจนในการปกป้องสิทธิในการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม และยืนหยัดเคียงข้างกรีนพีซ สากล และกรีนพีซ สหรัฐฯ หลังจากมีคำตัดสินคดี SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความพยายามของภาคธุรกิจหรือผู้มีอำนาจในการปิดปากนักเคลื่อนไหวและองค์กรภาคประชาชนผ่านกระบวนการทางกฎหมาย
-
พูดคุยกับสมเกียรติ มีธรรมว่าเพราะเหตุใดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถึงเกิดขึ้นอย่างโปร่งใสทั้งระบบได้ยาก
กรีนพีซพูดคุยกับ คุณสมเกียรติ มีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันอ้อผญา(องค์กรสาธารณประโยชน์) และอดีตผู้ประสานงานแม่แจ่มโมเดลพลัส อีกครั้ง ถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในพื้นที่ไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือตอนบน ตลอดจนรายละเอียดของกระบวนกวนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
-
คณะลูกขุนตัดสินให้กรีนพีซชดใช้ความเสียหายกว่า 660 ล้านเหรียญสหรัฐ ในคดี SLAPP ของเอนเนอร์จี ทรานส์เฟอร์
แมนดาน, นอร์ทดาโคตา, สหรัฐอเมริกา — คณะลูกขุนจากมณฑลมอร์ตัน จำนวนเก้าคน มีคำตัดสินในคดีที่บริษัทเอนเนอร์จี ทรานสเฟอร์ (Energy Transfer) ยื่นฟ้องต่อกรีนพีซ สหรัฐฯ (Greenpeace Inc, Greenpeace Fund) และ กรีนพีซ สากล โดยตัดสินให้องค์กรต้องชดใช้ค่าเสียหายมากกว่า 660 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ มากกว่า 22,000 ล้านบาท
-
สำรวจหลายตัวตน (Alter Ego) ของธารา บัวคำศรี ตลอด 25 ปีที่เดินไปเดินมาในกรีนพีซ
สำรวจหลายตัวตนและหลายวิธีคิด ตลอด 25 ปีของธารา ซึ่งเราอาจนิยามได้ว่าเป็น ‘การ์ดหลายใบของไดเรกเตอร์’ ที่ทำให้เขามีการ์ดที่บ้างเหมาะกับการทำภารกิจให้สำเร็จ บ้างเหมาะกับสร้างความอบอุ่นกลมกลืน บ้างเหมาะกับการต่อสู้ และบ้างเหมาะกับการยืนหยัดอีกครั้งเมื่อเกิดวิกฤติในใจ
-
การติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ร่องรอยพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อน จากภาพดาวเทียม ปีพ.ศ. 2567 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (ตอนบนของประเทศไทย, ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา)
ไม่นานมานี้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขงได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.2558 และ พ.ศ.2562 และได้มีการสันนิษฐานถึงสาเหตุของปัญหาที่ทําให้ระดับความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวมีระดับความรุนแรงขึ้น คือ การปลูกข้าวโพดภายใต้ระบบเกษตรพันธะสัญญาทั้งประเทศไทย เมียนมา และ สปป.ลาว ซึ่งทําให้เกิดปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
-
แผนการลดการใช้พลาสติกสู่ความเป็นศูนย์ของ CP เดินหน้าแบบถอยหลัง
ในฐานะภาคเอกชน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนให้ “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” มีความเข้มแข็งและมีมาตรการที่มุ่งมั่นในการลดมลพิษพลาสติกได้จริง การปรับตัวของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” จึงไม่ควรหยุดอยู่ที่การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล หรือวัสดุทดแทนพลาสติกเท่านั้น แต่ต้องมุ่งไปที่การลดใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทาง ผ่านการสนับสนุนระบบเติม (Refill) และระบบใช้ซ้ำ (Reuse System) อย่างจริงจัง
-
กรีนพีซกังวล ‘อันตรายจากสารพิษหลายชนิด’ จากเหตุเรือชนกันในทะเลเหนือ
กรีนพีซแสดงความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล อันเนื่องมาจากสินค้าและน้ำมันเตา (Bunker fuel) ของเรือบรรทุกสารเคมีและเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เกิดอุบัติเหตุชนกันนอกชายฝั่งยอร์กเชียร์ (Yorkshire) ของอังกฤษ ใกล้กับพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมสูง
-
เครือข่ายประชาชนไม่เอากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยื่นหนังสือคัดค้าน “กฎหมายพิเศษ เพื่อคนพิเศษ”
เครือข่ายประชาชนไม่เอากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในฐานะพื้นที่กลางขององค์กรชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด และองค์กรเครือข่ายภาคีระหว่างภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 94 องค์กร ยื่นหนังสือคัดค้านการร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)