การติดตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก ปี 2563

จากฐานข้อมูลติดตามโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก Global Coal Plant Tracker พบว่าตัวชี้วัด การเติบโตของกําลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแทบทั้งหมดมีการลดปริมาณลงในปี 2562 ซึ่งนับเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งการเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน การอนุมัติกําลังการผลิตสําหรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ และกําลังการผลิตก่อนได้รับอนุมัติให้สร้าง

นักลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ต้องเผชิญกับบรรยากาศธุรกิจเชิงลบพาดหัวข่าวบนสื่อมากมายแสดงถึงความวิตกกังวลต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้งธนาคารและบริษัทประกันภัยช้ันนํากว่า 126 แห่งทั่วโลก ได้ขยายกฎข้อบังคับให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีพันธสัญญาว่าด้วยการยุติการใช้ถ่านหินและการเร่งเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานสะอาดที่รัฐบาล 33 ประเทศและองค์กรปกครองท้องถิ่น 27 แห่งได้ประกาศไว้

ทั้งๆ ที่การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลดลง โรงไฟฟ้าถ่านหินกลับเพิ่มปริมาณขึ้น ในปี 2562 มากกว่าในปี 2561 เป็นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ดําเนินการอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มจํานวนมากข้ึน เนื่องจากได้รับอนุมัติ โครงการในช่วงปี 2557-2559 ในส่วนของพื้นที่นอกเขตสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่าปริมาณโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกโดยรวมลดลงเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จากที่มีการปลดระวาง มากกว่าการใช้งาน กระแสไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วโลกในปี 2562 ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับ ปี 2561 โดยที่โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกมีชั่วโมงการทําางานเฉลี่ยร้อยละ 51 ของจํานวนชั่วโมง การทํางานที่สามารถทําได้จริง ซึ่งนับว่าเป็นสถิติต่ำสุด

ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคร้ังแรกที่กําลังการผลิตในระยะวางแผนก่อนสร้างโรงไฟฟ้า เพิ่มปริมาณขึ้น หลังจากรัฐบาลกลางเร่ิมวางกฎระเบียบต่างๆ สําหรับแผนการเสนอสร้าง โรงไฟฟ้าแห่งใหม่และอนุมัติโครงการต่างๆ ในปี 2559 การเพิ่มขึ้นน้ีเป็นผลมาจากการที่ อุตสาหกรรมพลังงานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังคงสนับสนุนเป้าหมายกําาลังการผลิต ท่ีระบุไว้ในแผนพลังงาน 5 ปีที่จะมาถึง เปิดโอกาสให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่เพิ่มขึ้น อีกกว่า 200 โรง ในขณะที่กําลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังคงมีปริมาณสูงกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า กว่าร้อยละ 40 ของกระแสไฟฟ้าท่ีผลิตได้ในปี 2562 ถูกจัดให้เป็นพลังงานสําารองและถูกจํากัดการใช้งาน

พัฒนาการที่สําคัญในปี 2562:
  • โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 34.1 กิกะวัตต์ (GW) ในปี 2562 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกของกำลังผลิตสุทธิตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โรงไฟฟ้าถ่านหินใหมในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกำลังการผลิตราว 2 ใน 3 ของ 68.3 กิกะวัตต์ และในส่วนนอกเขตแดนของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีปริมาณโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดลงเป็นปีที่ 2 แล้ว และในกลุ่มสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation and Development: OECD) ก็มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินลดลงตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
  • ในขณะที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาลดการใช้ถ่านหินลง ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ผลักดันการใช้ถ่านหินรายใหญ่ที่สุดในองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ญี่ปุ่นพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 11.9 กิกะวัตต์ในประเทศ เป็นการเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินการทำงานร้อยละ 50 จากที่มีอยู่ในปัจจุบัน (จาก 3,000 ล้านตันเป็น 5,800 ล้านตัน) การคลังภาครัฐของญี่ปุ่นอยู่เบื้องหลังโรงไฟฟ้าจากถ่านหินบริเวณนอกเขตชายแดนของญี่ปุ่นขนาด 24.7 กิกะวัตต์ คิดเป็นปริมาณที่มากกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินในออสเตรเลีย (24.4 กิกะวัตต์) เสียอีก
  • ราวครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าที่ปลดระวางในปี 2562 อยู่ในสหรัฐอเมริกาและคิดเป็นปริมาณสูงสุดเป็นอันดับสองของทั้งหมดสหภาพยุโรปมีการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินสูงสุดเป็นอันดับที่สี่ การปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในระหว่างการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เ พิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับการปลดระวางในระหว่างที่ประธานาธิบดี บารัคโอบามาดำรงตำแหน่งอยู่ โดยมีการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศสหรัฐอเมริกา เฉลี่ย 8.2 กิกะวัตต์ ในช่วงเวลาของประธานาธิบดีบารัค โอบามา (2552-2559) และ 13.7 กิกะวัตต์ ในช่วงเวลาของ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (2560-2562)
  • ท่อลำเลียงถ่านหินสู่โรงไฟฟ้าในระยะก่อนการก่อสร้างยังคงหดตัวลงเรื่อยๆ โดยในอินเดียลดลงครึ่งหนึ่งตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2562 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงร้อยละ 22 ภูมิภาคแอฟริกาลดลงร้อยละ 40 และประเทศกลุ่ม ลาติน – อเมริกาลดลงร้อยละ 60 ปัจจุบันตุรกีมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่อยู่ในระยะก่อนการก่อสร้างมากกว่าอินเดียทั้งที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาอินเดียและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินรวมกันในปริมาณที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ เสียอีก
  • การเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลดลงในปี 2562 ลดลงมาก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยไม่มีการเริ่มสร้างใหม่ในภูมิภาคแอฟริกาและลาตินอเมริกา ส่งผลให้กำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างลดลงร้อยละ 16 จาก ปี 2561 ถึง 2562 เนื่องจาก กำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในระยะเริ่มการก่อสร้างไม่สามารถทดแทนกำลังการผลิตในปริมาณที่เท่ากันกับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เปิดดำเนินการอยู่
  • ไม่มีธนาคารพาณิชย์ในออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุน ทางการเงินโดยตรงแก่โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งแต่ต้นปี 2562 แม้ว่า หลายแห่งยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทและหน่วยงานรัฐที่กำลังดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ก็ตาม
  • การผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วโลกลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยลดลงมากในสหภาพยุโรป(ลดลง ร้อยละ 24) สหรัฐอเมริกา (ลดลงร้อยละ 16) และแม้แต่อินเดีย (ลดลงร้อยละ 3) ส่งผลให้อัตราการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเฉลี่ยทั่วโลกลดลงเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 51
  • ผลกระทบร้ายแรงที่สุดจากการอนุมัติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวนมากไปในระหว่างปี 2557-2559 เป็นที่ประจักษ์เมื่อมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเปิดดำเนิน การเพิ่มขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีการเพิ่มปริมาณแซงหน้าการผลิต จนปริมาณไฟฟ้าที่มากเกินความต้องการใช้ ทำให้สถานการณ์แย่ลง รัฐบาลกลางได้ประกาศปรับลดร้อยละ 40 ของกระแสไฟฟ้าจากถ่านหินใหเ้ป็นพลังงานสำรองฉุกเฉินและจำกัดชั่วโมงการทำงานของโรงไฟฟ้าเหล่าน้ี
  • แม้ว่าการผลิตและการใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินจะลงลด ในปี 2562 ทว่า โลกของเรายังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ เส้นทางอันลาดชันสู่การลดใช้พลังงานถ่านหินเพื่อบรรลุ ข้อตกลงปารีสที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Intergovernmental Panelon Climate Change) กล่าวว่า เราจําเป็นต้องลดการใช้พลังงานจากถ่านหินลงร้อยละ 80 ภายในปี 2573 เพื่อให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้สหประชาชาติ ยังเรียกร้องให้ปี 2563 เป็นปีสิ้นสุดของการเสนอสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งใหม่
  • แม้ว่าการใช้กําาลังไฟฟ้าจากถ่านหินท่ีมีอยู่จะลดลง ทว่า ภาคอุตสาหกรรมไฟฟ้าของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงสนับสนุนเป้าหมายกำลังการผลิตที่ระบุไว้ในแผนการพัฒนาในช่วง 5 ปีต่อจากน้ี ซึ่งเปิดช่องให้มีการเพิ่มขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหินราว 200 แห่งภายในปี 2568 สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าในปัจจุบันถึง 150 กิกะวัตต์ หากว่าสามารถลดความต้องการพลังงานจากถ่านหินได้ร้อยละ 80 ภายในปี 2573 แล้วเพดานการผลิตใหม่จากโรงไฟฟ้าถ่านหินจีนนี้ จะกลายเป็นการตัดสินเชิงนโยบายในช่วงต้นทศวรรษที่ 20 ท่ีส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศโลกได้มากที่สุด
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม