โลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤต แต่เหตุใดรัฐบาลยังคงเดินหน้าให้สัมปทานเหมืองใต้ทะเล และใครอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้

นักวิทยาศาสตร์ต่างออกมาเตือนว่าการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึกจะนำไปสู่การทำร้ายระบบนิเวศในท้องทะเล จนยากจะฟื้นฟูกลับมาได้ โดยกลไกทางธรรมชาติที่ช่วยกักเก็บคาร์บอนใต้ท้องทะเลลึก ถึงอย่างนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมก็ยังคงไม่ละความพยายามที่จะเข้าแทรกแซงและล็อบบี้รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่จะเข้าประชุม องค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ลงมติคัดค้านการปกป้องพื้นที่มหาสมุทร โดยหลายครั้งพบว่า ตัวแทนของบริษัทเหล่านี้ก็ปรากฎในฐานะตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาต่อรองทางการเมืองด้วย

กลุ่มอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มักจะอ้างว่า หากบริษัทได้รับสัมปทานให้เข้าสำรวจการทำเหมืองในบริเวณทะเลนอกน่านน้ำ จะช่วยสร้างงานให้กับคนในประเทศและนำรายได้เข้าประเทศแต่ทว่า จากการสืบสวนตรวจสอบเอกสารเจ้าของสัมปทานและผู้ได้รับผลประโยชน์ พบว่า 1 ใน 3 ของสัญญาการสำรวจ นำมาสู่คำถามที่ว่า  ใครคือผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงแล กลุ่มที่ต้องได้รับผลกระทบหาก มีการอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ใต้ทะเลเกิดขึ้น

ทั้งนี้ จากการสืบหาข้อมูลของกรีนพีซสากล (Greenpeace International) เผยให้เห็นว่า  การสำรวจเหมืองแร่ใต้ทะเลจะถูกเข้าครอบครองสิทธิ์โดยกลุ่มบริษัทเอกชนที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในแถบประเทศซีกโลกเหนือ (The Global North) เพียงผู้เดียว แต่มีวิธีการดำเนินงานผ่านบริษัทสาขา ผู้รับเหมารายย่อย และกลุ่มพันธมิตร เพื่อ ให้ดูเหมือนว่าการทำเหมืองแร่จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ในขณะเดียวกัน ประเทศที่กำลังพัฒนาจำนวนหนึ่งซึ่งให้การสนับสนุนสัมปทานการเจาะสำรวจของบริษัทเหล่านี้ก็กำลังเผชิญกับภาวะหนี้สินอันมหาศาลและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างบริษัทที่ซับซ้อนและคลุมเครือของกลุ่มคู่สัญญาที่เป็นบริษัทต่างชาติด้วย

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม