Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
กรีนพีซสำรวจระบบห่วงโซ่สิ่งทอตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง พบว่าเสื้อผ้าที่ยังไม่ได้ใช้บางส่วนและมือสองจากยุโรปและจีนจะถูกส่งไปยังเคนยาเคนยา โดยถูกขายเป็นแพครวมกัน แต่บ่อยครั้งที่สุดท้าย เสื้อผ้าเหล่านี้ถูกส่งไปยังบ่อขยะสิ่งทอและพลาสติก ดันโดรา ในเมืองไนโณบี © Kevin McElvaney / Greenpeace

อัพเดทสถานการณ์ผลกระทบจากอุตสาหกรรม Fast Fashion

แม้ว่าแบรนด์ฟาสต์ แฟชั่น หลายแบรนด์กำลังโปรโมทนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับอุตสาหกรรมอย่างหนักหน่วง แต่สถานการณ์ในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่โปรโมทมาทั้งหมดคือมายาคติ เพราะความล้มเหลวของโมเดลธุรกิจของอุตสาหกรรมดังกล่าวปรากฎให้เห็นว่าสุดท้ายแล้วขยะเสื้อผ้าราคาถูก (ที่มีอายุการใช้งานแสนสั้น) ปริมาณมหาศาลถูกทิ้งเป็นภูเขาขยะในหลายประเทศ ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศกลายเป็นบ่อขยะและมีขยะถูกเผาในที่โล่ง เกิดสารพิษรั่วไหลลงสู่ทะเล ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้คนไปทั่วโลก

ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานวิจัยในเคนยาและทานซาเนียเพื่อพิสูจน์ถึงปัญหาการนำเข้าขยะสิ่งทอมาในกลุ่มประเทศเหล่านี้ คุณสามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้จากรายงาน “Poisoned Gifts” ที่เผยแพร่โดยกรีนพีซ เยอรมนี

ภาพบ่อขยะ ‘ดันโดรา’ ในประเทศเคนยา เพราะการผลิตที่ล้นเกินของแบรนด์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมฟาสต์ แฟชั่น ทำให้สิ่งทอปริมาณมหาศาลรวมทั้งรองเท้าถูกนำมาทิ้งที่บ่อขยะ ตามแม่น้ำ หรือถูกทำลายด้วยการเผาในที่โล่ง © Kevin McElvaney / Greenpeace

เราเกี่ยวข้องอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น?

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับเราอย่างไม่คาดคิด เพราะเมื่อเราบริจาคเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วเพื่อส่งต่อให้คนอื่น ๆ หรือส่งกลับคืนให้กับแบรนด์ หรือนำไปยังจุดรับสิ่งของเพื่อรีไซเคิล เราก็ต้องคิดว่ามันจะถูกขายเป็นสินค้ามือสองหรือไม่ก็ถูกรีไซเคิลไปเป็นสิ่งของใหม่ๆอยู่แล้ว

แต่ในความจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะมีสิ่งของเสื้อผ้าเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 10-30% เท่านั้น) ที่ถูกรวบรวมและนำกลับมาขายในประเทศ เสื้อผ้าบางกลุ่มถูกนำไปดาวน์ไซเคิล (downcycle) เปลี่ยนจากเสื้อผ้าไปเป็นผ้าเช็ดทำความสะอาด และมากกว่าครึ่งของเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วเหล่านี้ถูกส่งออกเพื่อ ‘ใช้ซ้ำ’ ไปยังภูมิภาคตะวันออก และตะวันตกของแอฟริกา รวมทั้งยุโรปตะวันออก

เบื้องหลังเส้นทางเสื้อผ้ามือสอง

เพื่อหาคำตอบให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเสื้อผ้าใช้แล้วที่ถูกส่งออกไปเหล่านี้ ฉันจึงเดินทางไปยัง 2 ประเทศที่อยู่ใน 5 อันดับประเทศที่มีการนำเข้าเสื้อผ้ามือสองสุทธิมากที่สุด คือ เคนยา และ ทานซาเนีย ที่นั่นทำให้ฉันเรียนรู้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้มีคำศัพท์ในการเรียกเสื้อผ้ามือสองนำเข้าเหล่านี้ว่า ‘ไมทัมบา (Mitumba) ’ ซึ่งเป็นภาษาคิชวาฮีลี (Kiswahili) ที่แปลว่า ‘มัด หรือ มัดรวม’ เพราะพวกมันจะถูกขายผ่านผู้ค้าในรูปร่างของผ้าที่ถูกผูกรวมกันมาเป็นมัด ไมทัมบาเกี่ยวโยงกับผู้คนและระบบเศรษฐกิจของเคนยาและทานเซเนีย

อย่างไรก็ตามเมื่อฉันพูดคุยกับผู้ค้าในตลาดกิคอมบา (Gikomba) ในเมืองไนโรบี พวกเขาบอกกับฉันว่าเดี๋ยวนี้พวกเขามักจะผิดหวังกับมัดไมทัมบาที่ซื้อมา เพราะผ้าหนึ่งมัดนั้นเกือบครึ่งเป็นเสื้อผ้าที่ขายไม่ได้เพราะคุณภาพของมันแย่เกินไป หรือไม่ก็เป็นเสื้อผ้าฉีกขาดเปื่อยยุ่ยจนแทบจะกลายเป็นขยะอยู่แล้ว

Fast Fashion Research in Tanzania. © Kevin McElvaney / Greenpeace
ตลาดขายไมทันบาในเมือง อารัชา (Arusha) ทานซาเนีย เมื่อพ่อค้าแม่ค้าเปิดมัดผ้าแต่ละมัด ผู้ค้าปลีกจะเข้ามาเลือกผ้าอย่างแข็งขันเพื่อหาเสื้อผ้าที่มีคุณภาพมากพอที่จะเอาไปขายเป็นเสื้อผ้ามือสองต่อได้ และทิ้งส่วนที่เหลือที่เรียกว่าขยะสิ่งทอเอาไว้ © Kevin McElvaney / Greenpeace

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงตีความได้ว่าซีกโลกเหนือหาทางจัดการกับปัญหาขยะสิ่งทอของตนเองได้ในที่สุด นั่นก็คือการส่งขยะเหล่านี้ยัดไส้มากับเสื้อผ้ามือสองไปยังกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ เป็นการบังคับให้พวกเขาต้องหาทางจัดการกับขยะสิ่งทอที่เป็นผลกระทบจากอุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่น แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีมาตรการรับมือในเชิงโครงสร้างกับปัญหานี้เลยก็ตาม

เมื่อออกจากตลาดกิคอมบาแล้วเดินเลียบไปยังแม่น้ำไนโรบี ฉันช็อคมากที่พบว่าฉันเดินอยู่บนกองขยะเสื้อผ้าที่กองซ้อนทับกันเลียบไปกับแม่น้ำ บางส่วนไหลลงสู่แม่น้ำและไหลไปตามกระแสน้ำ 

Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
ตลาดกิคอมบาในไนโรบี : พื้นของตลาดเต็มไปด้วยขยะสิ่งทอวางซ้อนทับกัน   © Kevin McElvaney / Greenpeace © Kevin McElvaney / Greenpeace

เย็นวันนั้นเองก็มีกลุ่มคนที่เผากองรองเท้าและเสื้อผ้า นั่นคือวิธีที่พวกเขาพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ฉันเริ่มแสบตาเพราะควันไฟจากการเผาขยะนั้น และกลุ่มควันเหล่านี้เห็นได้ชัดว่าส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อผู้คนโดยรอบที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
ภาพแม่น้ำไนโรบีที่ไหลผ่านตลาดกิคอมบา พื้นที่บางส่วนเกิดการอุดตันเนื่องจากขยะสิ่งทอ © Kevin McElvaney / Greenpeace

การเติบโตของอุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่นที่มีการผลิตที่ล้นเกิน นำไปสู่ปริมาณเสื้อผ้ามือสองที่ส่งออกจากประเทศซีกโลกเหนือไปสู่ประเทศซีกโลกใต้ที่เพิ่มสูงมากขึ้น ในปี 2562 เคนยานำเข้าเสื้อผ้ามือสองปริมาณ 185,000 ตัน และในหนึ่งมัดเสื้อผ้ามีปริมาณเสื้อผ้ากว่า 30-40% ที่ขายต่อไม่ได้แล้ว ซึ่งหมายความว่า ในปริมาณการนำเข้าเสื้อผ้ามือสองทั้งหมด มีสิ่งทอกว่า 55,500 – 74,000 ตันที่เป็นขยะ หรือคำนวนได้เป็นวันละ 150-200 ตันต่อวันและจะต้องใช้รถบรรทุกในการขนส่งประมาณ 60-75 คัน เพื่อนำขยะเหล่านี้ไปทิ้งที่บ่อขยะ และจะถูกเผาในที่โล่ง หรือถูกนำไปทิ้งที่บ่อขยะอื่นๆเช่นบ่อขยะดันโดรา

Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
รถบรรทุกกำลังเทขยะลงในพื้นที่บ่อขยะดันโดรา เมืองไนโรบี เคนยา แม้ว่าบ่อขยะแห่งนี้จะถูกใช้งานจนเต็มพิกัดไปแล้วในปี 2544 แต่ในปัจจุบันบ่อขยะดังกล่าวยังคงถูกใช้งานอยู่ © Kevin McElvaney / Greenpeace

นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะบอก

กระแสของฟาสต์แฟชั่นทำให้เสื้อผ้ากลายเป็นสิ่งที่ใช้แล้วทิ้ง การจะหยุดยั้งไม่ให้ขยะสิ่งทอเหล่านี้ถูกทิ้งไปยังซีกโลกใต้ ในเมื่อไม่มีทางที่จะทำให้ฟาสต์แฟชั่นหมุนช้าลงกว่าเดิมได้ แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นระดับโลกจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของพวกเขาที่เป็นแบบเส้นตรงให้หันมาเริ่มผลิตเสื้อผ้าให้น้อยลง และดีไซน์เสื้อผ้าที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม เพื่อให้ผู้บริโภคใส่ได้นานขึ้น รวมทั้งจะต้องซ่อมได้และสามารถใช้ซ้ำได้ด้วย

Fast Fashion Research in Kenya. © Kevin McElvaney / Greenpeace
พรมที่ถูกออกแบบอย่างสวยงามจากกางเกงยีนส์ที่ไม่ใช้แล้วขององค์กรสัญชาติเคนยาที่ชื่อว่า Africa Collects Textiles ประเทศซีกโลกเหนือสามารถเรียนรู้จากดีไซน์เนอร์ ผู้ค้าในไมทัมบา, กลุ่มคนอัพไซเคิลสิ่งของไม่ใช้แล้ว พนักงานเก็บขยะในแอฟริกาถึงคุณค่าและการดูแลรักษาเสื้อผ้าที่ถูกผลิตเข้าสู่ระบบแล้ว © Kevin McElvaney / Greenpeace

นอกจากนี้แล้ว เรายังจำเป็นต้องเปลี่ยนทัศนคติของกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือเกี่ยวกับแนวคิดการล่าอาณานิคมในยุคใหม่ต่อกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ กล่าวคือระบบการซื้อขายที่กลุ่มประเทศซีกโลกเหนือได้ประโยชน์เป็นหลัก และแนวคิดแบบนี้ก็ทำให้กลุ่มประเทศซีกโลกใต้กลายเป็นที่ทิ้งขยะของอุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่น ในขณะที่ก็ไม่ได้สนับสนุนหรือให้การสนับสนุนเพียงน้อยนิดในการพัฒนาการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอที่สะอาดและปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชาชนในประเทศ และต้องบังคับใช้มาตรฐานและการปฏิบัติที่มีคุณภาพแบบเดียวกับในยุโรป

เราต้องขับเคลื่อนเพื่อความเป็นธรรมด้านสิทธิและสิ่งแวดล้อมได้แล้ว

ภาพขยะสิ่งทอปริมาณมหาศาลที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นภาพที่น่าสะเทือนใจ มันบ่งบอกอย่างชัดเจนแล้วว่า การที่แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นพุ่งเป้าไปที่การจัดการที่ปลายทางนั้นมันยังไม่พอ กรีนพีซเรียกร้องให้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นก้าวไปอีกขั้นในการหยุดสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

เมื่อเร็วๆนี้ ยุโรปได้เผยแพร่นโยบายสิ่งทอใหม่ ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนสำคัญอย่างเช่นแผนการแบนการส่งออกขยะสิ่งทอและประชาสัมพันธ์เสื้อผ้าที่มีคุณภาพที่สวมใส่ได้นานกว่าเดิม มีความทนทานและซ่อมแซมได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าหากเราอยากจะหยุดผลกระทบที่เกิดจากอุตสาหกรรมฟาสต์แฟชั่นต่อผู้คน สิ่งแวดล้อม แล้วนั้น โลกจะต้องควบคุมอุตสาหกรรมดังกล่าวผ่านกฎหมายสนธิสัญญาระดับโลก


วิโอลา  โวลเกมุธ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเศรษฐกิจยั่งยืนและสารพิษ กรีนพีซ เยอรมนี