เมื่อสองปีก่อน ผมเคยมีโอกาสไปสอนหลักสูตรการดำน้ำให้กับเด็กๆในประเทศไทยในหมู่เกาะหนึ่งที่ผมชื่นชอบ ด้วยสภาพอากาศดีมากประกอบกับกระแสลมและวิสัยทัศน์สดใสและภูมิประเทศที่สวยงาม มองเห็นปะการังที่สวยงาม ผมมองเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของนักเรียนแม้ว่าขณะนั้นเรากำลังฝึกสอนกันอย่างเคร่งครัด

© Torben Lonne

ภาพปะการังระหว่างการดำน้ำในหมู่เกาะทะเลอันดามัน ประเทศไทย © Torben Lonne

แน่นอนว่าทักษะการดำน้ำของเราจะไม่ได้ดีขึ้นจนกว่าเราจะเดินขึ้นเรือ ระหว่างที่เราว่ายน้ำอยู่ในหมู่เกาะ ผมสังเกตความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ผมสังเกตเห็นกองขยะพลาสติกลอยอยู่เต็มพื้นที่บริเวณนั้น

ผมเห็นปลาตัวเล็กๆที่อาศัยอยู่ในโขดหินว่ายอยู่กับหลอดพลาสติก ถุงพลาสติกรวมถึงเศษพลาสติกอื่นๆ ผมมองเห็นพวกมันกำลังตอดขยะพลาสติก หลังจากที่เราจบการดำน้ำและกลับขึ้นเรือแล้วเราก็พบว่ามีขยะพลาสติกอยู่รอบๆตัวเราเต็มไปหมด ทะเลดูเหมือนกองขยะมากกว่าเป็นมหาสมุทร

ขยะพลาสติกที่ถูกเก็บขึ้นมาระหว่างการดำน้ำ ไม่ยากเลยที่จะเจอพวกมัน © Torben Lonne

พลาสติกกำลังส่งผลอะไรกับมหาสมุทรของเรา?

ตลอดสิบปีที่ผ่านมา นักดำน้ำรวมทั้งคนที่รักทะเลสังเกตได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทร

แม้กระทั่งในพื้นที่ที่ห่างไกลก็ยังถูกคุกคามจากขยะพลาสติกและสารเคมี ขยะพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทรในอัตราที่น่าตกใจคือมากกว่า 12 ล้านตันต่อปี กองขยะพลาสติกที่มหาศาลสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศใต้น้ำรวมทั้งเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลที่คิดว่าขยะเหล่านี้เป็นอาหารของพวกมัน ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์น่าเศร้าของเต่าทะเลและนกทะเล

มลพิษนี้จะนำมหาสมุทรของเราไปสู่หายนะ หากเราไม่สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตและมนุษยชาติจะตกอยู่ในความเสี่ยง

เราต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ต้องหยุดมลพิษขยะพลาสติกจากต้นทาง

หลังจากเหตุการณ์การค้นพบมลพิษพลาสติกจากการดำน้ำในครั้งนั้น ผมตั้งใจสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับมหาสมุทรและใช้เวลาที่มีสื่อสารเรื่องราวออกไปสู่ผู้คนทั่วโลกถึงอันตรายของมลพิษขยะพลาสติกต่อมหาสมุทร เพราะไม่ใช่เพียงแค่สัตว์ทะเลแต่รวมไปถึงมนุษยชาติ

เรามีหลากหลายวิธีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง! แน่นอนว่าสิ่งที่เราทำได้ในขั้นพื้นฐานก็คือการหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น การใช้ถุงผ้าหรือถุงใช้ซ้ำ ใช้กระบอกน้ำและไม่รับหลอดพลาสติกและบรรจุภัณท์พลาสติก

และฝากถึงเพื่อนๆนักดำน้ำ หากคุณอยู่ในระหว่างการดำน้ำและมองเห็นชิ้นส่วนพลาสติกลอยผ่านคุณไป ลองเก็บมันใส่กระเป๋าชุดดำน้ำของคุณ หรือถ้าคุณเดินเล่นอยู่บนชายหาดแล้วเผอิญเจอพลาสติกถูกฝังอยู่ในทราย ลองรวบรวมมันไปทิ้งให้ถูกต้อง การลงมือทำสิ่งเล็กๆนี้จะทำให้คุณช่วยชีวิตสัตว์ทะเลได้

การเก็บรวบรวมขยะพลาสติกระหว่างการดำน้ำกลายเป็นปรากฏการณ์ทำให้นักดำน้ำคนอื่นๆเริ่มเก็บขยะพลาสติกระหว่างการดำน้ำด้วย © Torben Lonne

อย่างไรก็ดี เรายังต้องก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะว่าเพียงแค่การลงมือทำขั้นพื้นฐานนี้จะไม่มีวันจบสิ้นและไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติขยะพลาสติกได้หากธุรกิจใหญ่ไม่หยุดการผลิตขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง

เราจะช่วยให้แบรนด์ใหญ่ๆเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?

ย้อนไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมอ่านบทความ บทหนึ่งจากกรีนพีซแล้วก็ได้แรงบันดาลใจจากบทความนี้มาหาทางที่ผมจะช่วยสื่อสารถึงบริษัทหลายๆแห่งที่พวกเขาต้องลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง

หนึ่งในทางเลือกที่ผมสนใจ ซึ่งง่ายและเหมาะกับกลุ่มนักดำน้ำและคนทั่วไปที่รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพียงแค่ถ้าคุณพบเห็นพวกเศษขยะพลาสติกในมหาสมุทร ในลำธารหรือบนชายหาดหรือในทางเดินธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งทางเดินบนถนน ให้ถ่ายรูปแล้วโพสต์ลงโซเชียล มีเดีย แท็กชื่อแบรนด์ และใช้แฮชแท็ก  #IsThisYours? นี่ดูเป็นทางเลือกในการสื่อสารที่ดีและเป็นหลักฐานที่จะบอกแบรนด์ว่าสุดท้ายแล้วเส้นทางพลาสติกของพวกเขามีจุดจบอย่างไร

 

View this post on Instagram

 

Hey @lipton @unilever #isthisyours @greenpeace @allimak88

A post shared by Torben Lonne (@torbenlonne) on

นอกจากนี้ยังมีทางเลือกอีกหลายแบบในการลงมือทำ คุณสามารถจับกลุ่มเพื่อนๆแล้วช่วยโน้มน้าวซูเปอร์มาร์เก็ตในท้องถิ่น ร้านอาหาร ให้ลดและหยุดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีนั่นก็คือการส่งจดหมายไปหาบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเพื่อเขียนเกี่ยวกับผลกระทบของขยะพลาสติกต่อชุมชนของคุณ

โลกใต้น้ำนั้นเป็นโลกที่น่าประทับใจ โลกที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตใต้น้ำอันหลากหลายประกอบกับเหล่าปะการังหลากสีสันและฉากสีน้ำเงินใต้น้ำที่สวยงาม แต่ถ้าคุณยังไม่เคยสัมผัสการดำน้ำมาก่อน ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่จะเริ่ม และถ้าคุณยังไม่เคยสัมผัสอัศจรรย์ของโลกใต้น้ำด้วยตัวเอง ขอให้รู้ไว้ว่าโลกใต้น้ำแห่งนี้คือความสวยงามอันน่ามหัศจรรย์ตลอดมา และเราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องโลกสีน้ำเงินนี้

เทอร์เบ็น โลนน์ เป็นทั้งนักดำน้ำสกูบา เป็นคุณพ่อและเป็นผู้ที่รักและหลงใหลในมหาสมุทร เขาเป็นนักอนุรักษ์ตัวยงและเป็นห่วงกับการจัดการมหาสมุทร คุณโลนน์เป็นเจ้าของเว็บไซต์ Divein.com แม็กกาซีนออนไลน์เกี่ยวกับการดำน้ำสกูบาและประเด็นเกี่ยวกับบนักดำน้ำและการสร้างการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในเชิงบวก เขากล่าวว่า “หนึ่งในสิ่งที่ผมกลัวที่สุดคือผมไม่จะสามารถโชว์ให้ลูกๆของผมว่าการดำน้ำมีความหมายอย่างไร เพราะมันไม่เหลืออะไรให้พวกเขาได้ดูแล้ว”