สรุปโดยย่อ

  • พลาสติกชีวภาพ หากถูกทิ้งเป็นจำนวนมากอาจทำให้ระยะเวลาการย่อยสลายไม่ทัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในน้ำ และอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้เช่นกัน
  • พลาสติก แต่ละชนิดต่างใช้ปัจจัยในการย่อยสลายต่างกัน
  • พลาสติกที่กล่าวอ้างว่าย่อยสลายได้ อาจเป็นเพียงแค่การแตกตัวเป็นไมโครพลาสติกเท่านั้นอีกทั้งยังอาจสามารถดูซับโลหะหนักต่างๆ ได้

    ในปัจจุบันวันนี้ขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งก็ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบใหญ่เป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วยความเป็นมนุษย์ผู้มีสมองอันหลักแหลม จึงได้อดทนค้นคิดสร้างบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกที่แทบจะย่อยสลายไม่ได้ขึ้นมา จึงเป็นต้นกำเนิดของ พลาสติกชีวภาพ (Biodegradable Plastic) นั่นเอง

     พลาสติกชีวภาพ หรือ Biodegradable Plastic คือ พลาสติกที่ใช้วัตถุดิบผลิตจากการเกษตรหรือ ธรรมชาติ เช่นมันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย โปรตีนจากถั่ว เซลูโลสจากพืช ฯลฯ โดยมีวัตถุอินทรีย์เหล่านั้นเป็นส่วนประกอบหนึ่ง เพื่อนลดละยะเวลาการย่อยสลาย

     ซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็น พลาสติกทั่วๆไป หรือพลาสติกชีวภาพนั้น ก็ต้องอาศัยปัจจัยในการย่อยสลายที่ต่างกันออกไป เช่น Oxo-biodegradable plastic แตกตัวโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน Photo-biodegradable แตกตัวเมื่อเจอแสง (แต่การย่อยสลายนี้จะไม่เกิดขึ้นภายในบ่อฝังกลบขยะ หรือพื้นที่มืดเนื่องจากไม่ได้รับแสงยูวีที่ทำให้เกิดปฏิกริยาการแตกตัว) Hydro-biodegradable ใช้ความชื้นในน้ำเป็นตัวแปรในการย่อยสลาย

Misdeclared Korean Plastic Waste Dumped in Philippines. © Jilson Tiu / Greenpeace

    พลาสติกเหล่านี้ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้หมดจดอย่างสมบูรณ์ หรือท้ายสุดแล้วมันกลับกลายเป็นเพียงแค่การแตกตัวออกเป็นไมโครพลาสติก ที่สามารถดูดซึมสารเคมีอันตรายชนิด DDT (dichlorodiphenyltrichloroethane) และ PCBs (polychlorinated biphenyls) รวมทั้งโลหะหนักอื่นๆ ที่อยู่ในดิน ในทะเล หรือถูกสะสมเข้าไปอยู่ในสิ่งมีชีวิต และอาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์เรา เช่น สารก่อมะเร็ง เป็นต้น

     ส่วนพลาสติกที่ผลิตจากพืชที่กล่าวว่าย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินั้น แต่ถ้าหากใช้เป็นจำนวนที่มากและกลายเป็นขยะลงสู่แหล่งน้ำก็อาจทำให้น้ำเน่าเสียได้เนื่องจากเกิดจุลินทรีย์เป็นจำนวนมาก คล้ายๆกับการลอยกระทง หากมีจำนวนมากเกินก็สามารถทำให้น้ำเน่าได้ถึงแม้จะย่อยสลายได้ตามธรรมชาติก็ตาม

     แต่ทั้งนี้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อายุการย่อยสลายสั้นกว่าพลาสติกทั่วไป หรือดูเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่กล่าวอ้าง พลาสติกเหล่านั้นเพียงแค่แตกตัวตัวออกเป็นไมโครพลาสติก หากไม่ถูกหลอมด้วยความร้อนสูงก็จะไม่ย่อยสลาย  มันไม่ได้หายไปจากโลกนี้อย่างที่เราเข้าใจกัน ทางที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นการ หยุดใช้ ลดใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือลดการสร้างขยะน่าจะเป็นทางแก้ที่ดีที่สุด

     แม้ว่าจะย่อยสลายได้ภายในระยะเวลาไม่นานเหมือนพลาสติกปกติทั่วไป แต่การย่อยสลายของมันอาจเป็นเพียงแค่การแตกตัว หรือกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งพลาสติกยุคใหม่ที่ใช้คำว่า “ย่อยสลายได้” มักนำคำเหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าให้ดูรักโลกมากขึ้นเกินกว่าที่ตัวมันเองเป็น

Product Shot of Compostable Bags. © Fred Dott / Greenpeace

ทางที่ดีคือลดการใช้ ลดการสร้างขยะก็จะดีที่สุด เพื่อไม่ให้ความสะดวกของเรากลายเป็นวิกฤตที่ตัวเราเองของเผชิญ

#BreakFreeFromPlastic

Illustration by Puchong Saelao