All articles
-
หลายประเทศเริ่มหันมาใช้กฎหมายที่เน้นการใช้ซ้ำและการเติม เพื่อหยุดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง
เราได้เห็นการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไปของโมเดลธุรกิจที่ใช้ระบบการใช้ซ้ำและการเติมเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ถึงเวลาของเราแล้วที่จะต้องลงมือขยายระบบดังกล่าวไปสู่อุตสาหกรรมและชุมชนให้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันผ่านนโยบายและกฎหมาย
-
การประเมินของกรีนพีซระบุ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ชั้นนำ 12 แห่งในประเทศไทยล้มเหลวที่จะต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก
กรีนพีซ ประเทศไทยเผยแพร่รายงาน “ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต และวิกฤตมลพิษพลาสติก : การจัดอันดับนโยบายพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย ปี 2563”[1] ระบุ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ทั้ง 12 แห่งที่มีการสำรวจในรายงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน จะต้องปรับปรุงและมุ่งมั่นมากขึ้นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติกอย่างเร่งด่วน
-
ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต และวิกฤตมลพิษพลาสติก : การจัดอันดับนโยบายพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย ปี 2563
รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อประเมินนโยบายและแนวทางการจัดการพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรีนพีซ ประเทศไทยใช้แบบสำรวจที่ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ด้านหลัก คือ ด้านนโยบาย(Policy) ด้านการลดพลาสติก(Reduction) ด้านนวัตกรรมและการริเริ่ม(Initiatives) และด้านความโปร่งใส(Transparency) ประกอบกับการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงและสื่อสาธารณะ ช่วงเวลาการประเมินคือระหว่างเดือนมิถุนายน 2563-กุมภาพันธ์ 2564
-
โมเดลเวียนคืนภาชนะ เกิดขึ้นจริงแล้วที่ประเทศไทย
Samata สมถะ มังสวิรัติเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ร้านอาหารมังสวิรัติอบอุ่นน่ารักที่จังหวัดเชียงใหม่มีแนวคิดที่ว่าอยากให้ร้านอาหารแห่งนี้เป็นเหมือนคอมมิวนิตี้พูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องผัก สุขภาพ รวมถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำอุตสาหกรรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีอีกมุมที่สมถะเล็งเห็นว่าเราสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมนอกจากลดการทานเนื้อสัตว์ได้ นั่นคือหันมาใช้การ “ผูกปิ่นโต” สำหรับลูกค้าที่อยากวางแผนการกินอาหารมังสวิรัติล่วงหน้า การผูกผิ่นโตคืออะไร? แล้วทำไมเราต้องวางแผนการกินด้วย?
-
พบขยะพลาสติกจากโคคา-โคล่า และเป๊ปซี่โคสูงสุดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
รายงานแบรนด์ออดิทปี 2564 ยังพบจำนวนขยะพลาสติกจากผู้สนับสนุนหลักของ COP26 อย่างยูนิลิเวอร์ เพิ่มขึ้นจนติดอันดับผู้ก่อมลพิษพลาสติกมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก
-
กรีนพีซเรียกร้องกรมควบคุมมลพิษให้ประเมินผลและทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ระบุ Roadmap ไร้ทิศทางและสวนทางกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
บทวิพากษ์ “Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของไทย พ.ศ. 2561-2573” โดยกรีนพีซ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากการบริหารนโยบายสาธารณะของรัฐ (publicity governance) และกระบวนการมีส่วนร่วมทางนโยบายของพลเมืองไทย (society and policy pathway consciousness) Roadmap การจัดการขยะพลาสติกนี้ยังขาดความมุ่งมั่นและไร้ทิศทางเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก และที่สำคัญ ยังสวนทางกับแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 และเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) พ.ศ.2608-2613
-
บทวิพากษ์ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ.2561-2573)
การวิเคราะห์ “Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของไทย พ.ศ. 2561-2573” โดยกรีนพีซ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากการบริหารนโยบายสาธารณะของรัฐ (publicity governance) และกระบวนการมีส่วนร่วมทางนโยบายของพลเมืองไทย (society and policy pathway consciousness) Roadmap การจัดการขยะพลาสติกนี้ยังขาดความมุ่งมั่นและไร้ทิศทางเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก และที่สำคัญ ยังสวนทางกับแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 และเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) พ.ศ.2608-2613
-
แถลงการณ์ (ฉบับที่ 2): คัดค้านการผ่อนปรนการนำเข้าเศษพลาสติกหยุดการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างเด็ดขาดภายในปี 2564
ปัญหาขยะพลาสติกเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทย ภายหลังจากรัฐบาลจีนออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกต่างประเทศ นโยบายดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศจีนหลายรายได้ย้ายฐานการรีไซเคิลไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกที่อาจแฝงด้วยขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จนทะลุ 5 แสนกว่าตันในปี 2561 และข่าวการจับกุมการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกหลายราย ที่มีการสำแดงเท็จว่าเป็น “เศษพลาสติก”
-
ขยะพลาสติกล้นโลก: เมื่อไหร่รัฐและผู้ผลิตจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา?
ระบบการจัดการขยะโดยรวมของประเทศไทย ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ได้ คนทิ้งก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย และผู้ผลิตเองก็ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน
-
ครั้งแรกในเอเชีย! เซเว่น อีเลฟเว่นไต้หวันประกาศยุติการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
เซเว่น อีเลฟเว่นไต้หวัน เป็นร้านค้าปลีกรายแรกในเอเชียที่ออกมาให้คำมั่นว่าจะยุติการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง นี่เป็นความคืบหน้าที่สำคัญของการรณรงค์ยุติมลพิษพลาสติกของกรีนพีซ ไต้หวัน