ขออากาศดีคืนมา

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
PM 2.5 แบ่งเป็นฝุ่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรง และจากการรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน
PM 2.5 ยังเป็นมลพิษข้ามพรมแดนและปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้นาน เป็นฝุ่นอันตรายไม่ว่าจะมีองค์ประกอบใดๆ เช่น ปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) องค์การอนามัยโลก(WHO)จึงกำหนดให้ PM 2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ในปี พ.ศ.2556
-
ชวนประชาชนร่วมจับตา ระบบตรวจสอบย้อนกลับการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายโดยท้องถิ่นส่งภาครัฐ
หนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของกรีนพีซ ประเทศไทย มาอย่างยาวนานต่อปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดนคือการแก้ปัญหาที่ต้นทาง และการกำหนดภาระรับผิดของอุตสาหกรรมเกษตรและเนื้อสัตว์ที่ครอบคลุมถึงการผลิตภายในและภายนอกประเทศ ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับที่โปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลให้กับภาคประชาชนร่วมตรวจสอบ และจะต้องสามารถเอาผิดกับอุตสาหกรรมกรรมผู้ก่อมลพิษ ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ โดยหลังจากกรีนพีซและเครือข่ายภาคประชาสังคมร่วมเข้าไปยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายและหารือกับพรรคการเมืองและกระทรวงต่างๆ เราได้รับฟังความคืบหน้าของการดำเนินแก้ไขปัญหาจากภาครัฐ ที่อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยการจับตามองอย่างใกล้ชิดของภาคประชาชนต่อไป ถึงหลักการ และกระบวนการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แน่ใจว่ากฎหมายและพรบ.ต่างๆที่เกิดขึ้น จะไม่เอื้อต่อการฟอกเขียวของบริษัท และเป็นไปเพื่อสิทธิของประชาชนอย่างแท้จริง
-
เสียงของการปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ถูกทำให้เงียบด้วย ‘SLAPP’
มีคดี SLAPP เกิดขึ้นมากกว่า 500 คดี ทั้งคดีที่ฟ้องโดยรัฐและฟ้องโดยเอกชน ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการฟ้องคดีปิดปากมากที่สุด 3 อันดับ คือกลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และกลุ่มพลังงาน
-
ภาคประชาสังคมเรียกร้อง กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบและปฏิรูประบบป้องกันน้ำมันรั่วในทะเลอย่างจริงจัง หลังเกิดเหตุซ้ำซากในอ่าวไทย
กรุงเทพฯ, 11 มิถุนายน 2568 – กรีนพีซ ประเทศไทย กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH) และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) ในฐานะขององค์กรภาคประชาสังคม ร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร[1] โดยมีคุณพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นผู้รับมอบหนังสือด้วยตัวเอง กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมเรียกร้องให้เร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันการปฏิรูประบบการจัดการอุบัติภัยน้ำมันรั่วในทะเลอย่างยั่งยืนและรอบด้าน หลังเกิดกรณีท่อรับน้ำมัน SBM-2 ของบริษัทไทยออยล์ รั่วไหลซ้ำในอำเภอศรีราชา จ.ชลบุรี…
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน