All articles
-
ข้อเสนอของกรีนพีซ กรณี Roadmap การจัดการพลาสติกของประเทศไทย และผลกระทบจากมลพิษพลาสติกต่อสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายาก
กรุงเทพ, 27 สิงหาคม 2562– จากกรณีการเสียชีวิตของกวางในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตลอดจนสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์รวมถึงพะยูนและเต่าทะเลที่มีสาเหตุหนึ่งจากการกลืนขยะพลาสติกเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหาร[1] ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ในช่วงเวลาเพียงสองสัปดาห์ ถ้าไม่นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2562 มาจนถึงปัจจุบัน เราสูญเสียสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ป่าไปหลายชีวิตจากมลพิษพลาสติก คำถามคือ Roadmap การจัดการพลาสติกของประเทศไทยที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไปเมื่อเดือนเมษายน 2562 นั้นเพียงพอหรือไม่ที่จะหลีกเลี่ยงมิให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก” “แม้ว่า Roadmap จะระบุถึงสถานการณ์ปัญหาขยะพลาสติกครอบคลุมทั้งภาคการผลิต การบริโภคและหลังการบริโภค รวมถึงได้ระบุความท้าทายของการขาดกลไกทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็น 1) กฎหมายให้ผู้ผลิตระบุประเภทพลาสติกที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ 2)…
-
ความตายของพะยูน…บอกอะไรกับเรา
เชื่อว่าตอนนี้ไม่มีคนไทยคนไหนที่ไม่รู้จักพะยูนอีกแล้ว ช่วงสามเดือนที่ผ่านมา คนไทยได้ใกล้ชิดและเรียนรู้เกี่ยวกับพะยูนมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผ่านเรื่องราวของมาเรียมและยามีล ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียและเพศผู้ที่ได้รับการอนุบาลอย่างใกล้ชิดโดยทีมสัตวแพทย์ นักวิชาการ ชาวบ้านและอาสาสมัครกว่าร้อยชีวิต แต่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราต้องพบกับข่าวพะยูนเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการจากไปมาเรียมและยามีล
-
เริ่มลดตั้งแต่ผู้ผลิตหรือต้องร่วมกันเก็บกวาดตลอดไป?
วิธีที่จะทำให้การเก็บขยะพลาสติกตามชายหาดให้เห็นผลอย่างแท้จริงนั้นก็คือการเรียกร้องให้แบรนด์ผู้ที่เป็นต้นทางของมลพิษพลาสติกเป็นผู้รับผิดชอบ
-
เมื่อคนที่หลงใหลในเมล็ดกาแฟ ก็อยากจะรักษ์โลกเหมือนกัน
การลดการใช้ภาชนะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ช่วงแรกๆอาจจะดูไม่สะดวกสบายที่ต้องพกขวดน้ำ กล่องอาหาร และถุงผ้าไปทุกที่ แต่เชื่อเราเถอะว่าพอเริ่มปรับตัวได้ ทุกอย่างจะกลายเป็นเรื่องง่ายมาก
-
เดือน 7 กับ 7 ข้อ ช่วยลดขยะพลาสติก
ในครึ่งปีหลังนี้ เราจึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมแสดงความรักของเราที่มีต่อโลกใบนี้กับกิจกรรม #PlasticFreeJuly ด้วยการลดขยะพลาสติก เพื่อชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเพื่อให้โลกที่น่าอยู่ของเราคงอยู่ต่อไป
-
แถลงการณ์ของกรีนพีซ กรณีวาฬหัวทุยเสียชีวิตกลางทะเลแถบเกาะลันตา จ.กระบี่
ถึงแม้ว่าขยะพลาสติกจะไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิตของวาฬหัวทุยในครั้งนี้ แต่ตราบเท่าที่สังคมมนุษย์ยังปล่อยให้มีขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพิ่มปริมาณมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมทางทะเล มลพิษพลาสติกจะยังคงเป็นหนึ่งในภัยคุกคามของความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตและสัตว์ทะเลหายากอยู่ต่อไป
-
การแยกขยะที่ฝังลึกลงไปในวัฒนธรรมญี่ปุ่นจนนักเรียนไทยต้องร้องว่า สุโก้ยเน้~
Culture shock!! ของนักเรียนไทยกับวัฒนธรรมการแยกขยะของญี่ปุ่น
-
แถลงการณ์ของกรีนพีซ กรณีปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล
พลาสติกเป็นปัญหามลพิษ ไม่ใช่ปัญหาขยะ และต้องเน้นการแก้ปัญหาตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงเมื่อพลาสติกหมดอายุการใช้งาน
-
ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ เรียกร้องผู้นำอาเซียนปกป้องภูมิภาคจากการเป็นถังขยะโลก
ตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับนักกิจกรรมและอาสาสมัครจากมูลนิธิบูรณะนิเวศและกรีนพีซรวมตัวกันพร้อมป้ายข้อความ “อาเซียนไม่ใช่ถังขยะโลก”
-
ต่อกรการค้าขยะพลาสติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อประเทศสมาชิกอาเซียน
การที่ผู้นำประชาคมอาเซียน 10 ประเทศเตรียมมาพบกันที่กรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้ นับเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่ไม่มีประเด็นการนำเข้าขยะพลาสติกบรรจุอยู่ในวาระการประชุมที่จะเกิดขึ้น