สำหรับกลุ่มคนที่เป็นด่านหน้าในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโควิด19 นั้นไม่ใช่เพียงการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์  หรือการฟื้นฟูให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม แต่ยังหมายถึงการปลดแอกสังคมเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย

หลังจากการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาของโจ ไบเดน ไบเดนมีแผนที่จะนำอเมริกาเข้าร่วมในความตกลงปารีสอีกครั้ง การตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวของอเมริกา ในแง่การเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะต้องรับผิดชอบทั้งในฐานะที่ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่และการขยายอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและความน่าเชื่อถือที่ถูกทำลายลงในยุคของทรัมป์ จากรายงานก่อนหน้ามีข่าวออกมาว่า ไบเดนจะเพิกถอนใบอนุญาตของรัฐบาลกลางในการสร้างท่อขนส่งน้ำมัน Keystone XL และทบทวนข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อมกว่าร้อยรายการที่ถอยหลังลงคลองในยุคของทรัมป์

โจเน็ท เรดแมน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงาน กรีนพีซ สหรัฐ กล่าวว่า “เรายินดีที่เห็นโจ ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่การเข้าร่วมความตกลงปารีสอีกครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย หากทั้งโลกต้องการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593 สหรัฐอเมริกาจะต้องทำงานให้หนักกว่าเดิมเพื่อจะไปถึงเป้าหมาย การกลับเข้าไปร่วมความตกลงปารีสนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆเท่านั้น ในตอนนี้รัฐบาลของไบเดนต้องทำงานอย่างจริงจังเพื่อคืนความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศให้กับพวกเราทุกคน การเพิกถอนใบอนุญาตของรัฐบาลกลางสำหรับโครงการ Keystone XL เป็นการเริ่มต้นที่ดี เราหวังว่าจะได้เห็นไบเดนไปได้ไกลกว่านี้และทำทุกวิถีทางเพื่อหยุดโครงการที่ทำลายสภาพภูมิอากาศอื่น ๆ เช่น Line 3 และ Dakota Access รวมทั้งทำให้ธุรกิจการลงทุนและชุมชนเติบโตขึ้นจากระบบเศรษฐกิจพลังงานหมุนเวียน สำหรับกลุ่มคนที่อยู่ด่านหน้าในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและโควิด19 นั้นไม่ใช่เพียงการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์  หรือการฟื้นฟูให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม แต่ยังหมายถึงการปลดแอกสังคมเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย

“การลด ละ เลิกเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศและขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทำได้โดยการยุติการขุดเจาะน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน หรือหยุดบริษัทต่างๆเช่น Exxon, Shell, Chevron และ BP จากการสร้างมลพิษต่อชุมชนเพื่อหวังผลกำไร ด้วยนโยบายที่ดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล และ การลงทุนในการสร้างงานและกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เรามั่นใจได้ว่า ทุกคนมีโอกาสเติบโตในระบบเศรษฐกิจพลังงานหมุนเวียน แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีความมุ่งมั่น อย่าง Green New Deal จะทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเกือบ 16 ล้านตำแหน่งและรักษาตำแหน่งงานเหล่านั้นในอีกทศวรรษต่อไป รัฐบาลไบเดนมีโอกาสสร้างความมั่นใจว่าผู้คนอีกหลายล้านคนสามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานและการดูแลสุขภาพ ทำงานที่ช่วยฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศอากาศของเราแทนที่งานที่สร้างมลพิษ

ด้วยคำมั่นสัญญาต่อความตกลงปารีสและการยกเลิกโครงการท่อส่งน้ำมัน โจ ไบเดนต้องเดินหน้าทำให้นโยบายของตนเน้นเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เชื้อชาติและสภาพภูมิอากาศ งานรณรงค์ปลดแอกฟอสซิล ระบุถึงปฏิบัติการฝ่ายบริหาร 25 เรื่องเฉพาะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนเริ่มลงมือทำได้นับตั้งแต่วันแรกของการบริหารงานเพื่อกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ยุติการความไม่ธรรมทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนนับล้าน

รวมเข้าด้วยกัน ปฏิบัติการเหล่านี้จะนำไปสู่ :
การปกป้องและลงทุนในชุมชนต่าง ๆ ทำงานกับชาวบ้านและชนชั้นแรงงานที่ต้องเผชิญกับมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและภัยพิบัติจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ปฏิเสธโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ๆ การเลิกรับของกำนัลจากบริษัทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน และยุติยุคเชื้อเพลิงฟอสซิล
เดินหน้าขับเคลื่อนประเด็นการปกป้องสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ โดยมุ่งปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล(Build Back Fossil Free)  เพื่อสร้างงาน ความเป็นธรรมและโอกาสสำหรับทุกคน

ไบเดนถูกตั้งความหวังว่าจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพื่อยกเลิกการห้ามเดินทางเข้าเมืองของชาวมุสลิมที่เกิดขึ้นในยุคทรัมป์ ขยายมาตรการเพื่อจำกัดการระบาดของ Covid-19, หยุดการจ่ายเงินกู้ของนักเรียนนักศึกษาและอื่น ๆ เพื่อพยายามแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลทรัมป์ กรีนพีซเรียกร้องให้ โจ ไบเดนใช้กลไกทั้งหมดรวมถึงคำสั่งของฝ่ายบริหารและการลงนามในกฎหมายใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เป็นหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศในขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้ผู้คนฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรค

Notes:

[1] สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมความตกลงปารีสอย่างเป็นทางการในอีกสามสิบวันข้างหน้า ตามมาตรา 21 ของสหประชาชาติ โดยประธานาธิบดีมีสิทธิ์ที่จะลงนามในข้อตกลงโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการลงคะแนนของสมาชิกวุฒิสภา

[2] https://www.thriveagenda.com/s/THRIVE-PERI-Jobs-Analysis-FINAL.pdf