ปักกิ่ง, 14 กรกฎาคม 2564 – รายงานฉบับใหม่จากกรีนพีซ เอเชียตะวันออกวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากระดับอุณหภูมิที่สูงขึ้นสุดขั้วและปรากฎการณ์ฝนตกหนักในเขตปริมณฑลรอบกรุงปักกิ่ง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว-เซินเจิ้น [1] พบว่าเมืองที่มีความหนาแน่นสูงจะมีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นตาม ขณะที่เขตชานเมืองที่มีชุมชนคนเมืองอาศัยอยู่จะมีระดับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ด็อกเตอร์หลิวจวินเอี๋ยน หัวหน้าโครงการสภาพภูมิอากาศและพลังงาน กรีนพีซ เอเชียตะวันออก กล่าวว่า “ชุมชนทั้งหมดต่างเผชิญกับกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ดังนั้นรัฐบาลท้องถิ่นจำเป็นจะต้องมีศักยภาพที่จะรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนที่มีความเสี่ยง พื้นที่ที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วกำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเขายังไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินทุนและการวิเคราะห์ด้านความเสี่ยงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดีพอ”

รายงานฉบับนี้ได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศจากระดับอุณหภูมิสูงขึ้นสุดขั้วและปรากฎการณ์ฝนตกหนัก ซึ่งมีอัตราเกิดบ่อยขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อุณหภูมิของเมืองร้อนขึ้นแปรผันตามอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น แต่ปรากฎการณ์ฝนตกหนักจะผันผวนจากช่วงอุณหภูมิสูงสุดขั้วไปยังอุณหภูมิต่ำสุดขั้ว 

กรุงปักกิ่งกำลังประสบภาวะอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเฉียบพลัน โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ระดับ 0.32 องศาเซลเซียสทุกๆ 10 ปี ขณะที่เซี่ยงไฮ้ก็เผชิญกับคลื่นความร้อนบ่อยครั้ง ผลลัพธ์จากรายงานแสดงให้เห็นว่าเมืองกวางโจว-เซินเจิ้น เผชิญกับคลื่นความร้อนตั้งแต่ปี 2504 ทั้งหมด 98 ครั้ง โดยตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบันเกิดขึ้น 73 ครั้ง

โดยพิจารณาถึงการคาดการณ์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (the International Panel on Climate Change’s (IPCC) ในปี 2557 [2] หากพิจารณาว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกเพิ่มสูงสุดในปี 2583 ผลที่ได้คือหลายพื้นที่ในกรุงปักกิ่งอาจมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเกิน 2.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2643 และปักกิ่งเองจะมีฤดูร้อนที่ยาวนานขึ้นจากเดิม 28 วัน ส่วนเซี่ยงไฮ้จะมีฤดูร้อนนานขึ้น 24-28 วัน ยิ่งไปกว่านั้นฤดูร้อนในกวางโจว-เซินเจิ้นจะยาวนานกว่าเดิมถึง 40 วัน ทั้งนี้ บางพื้นที่ของเซี่ยงไฮ้และกวางโจว-เซินเจิ้น อาจเจอกับปรากฎการณ์ฝนตกหนักมากกว่า 25% ในขณะเดียวกันพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวางโจว-เซินเจิ้นอาจเจอกับภัยแล้ง

“คลื่นความร้อนระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นตัวอย่างของผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ เพราะสภาพอากาศสุดขั้วอาจเป็นอันตรายต่อชุมชนทำให้พวกเขาไม่สามารถรับมือกับภัยอันตรายอื่นๆได้อย่างเหมาะสม เพราะฉะนั้นหากจะต้องสร้างความเข้มแข็งด้านการปรับตัวให้กับแหล่งชุมชน สิ่งแรกคือจะต้องระบุได้ว่าคนในกลุ่มใดตกอยู่ในความเสี่ยงโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเช่นด้านที่อยู่อาศัย สวัสดิการรายได้ การจ้างงาน ประวัติทางการแพทย์รวมถึงปัจจัยอื่นๆ”

ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับการรวบรวมและวิเคราะห์มานี้ควรเป็นข้อมูลที่ต้องให้ความสำคัญเป็นระดับต้นๆเพื่อให้เกิดการนำไปวิจัยหลากหลายด้านมากกว่าเดิม รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาประกอบการตัดสินใจออกนโยบายต่างๆ 

นี่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการออกนโยบายระดับชาติเพื่อปรับใช้ให้เข้ากับการจัดการและการประสานงานในท้องถิ่นและปรับตัวรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โดยรวมแล้ว พลังของการตระหนักรู้และเข้าใจกับสถานการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศจะช่วยให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้มีประสิทธิภาพ


[1] รายงานฉบับนี้วิเคราะห์เมืองระดับมหานคร 3 เมือง ได้แก่ : ปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแม่น้ำแยงซีในเซี่ยงไฮ้ (รวมถึงบางส่วนของมณฑลเจ้อเจียง มณฑลเจียงสูและมณฑลอันฮุ่ย) และสันดอนแม่น้ำจูเจียง (รวมถึงบางส่วนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง)

[2] RCP4.5 หรือ เป็นหนึ่งใน “ภาพฉายอนาคตแบบปานกลาง” ที่ IPCC อธิบายไว้ในปี 2557 ว่า ในสถานการณ์ RCP4.5 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิทั่วโลก ‘มีความเป็นไปได้ว่า’  จะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส จากสถานการณ์ทั้ง 2 สถานการณ์ (RCP 4.5 และ RCP 6.0) สถานการณ์ RCP 4.5 คาดการณ์ว่าจุดสูงสุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเกิดขึ้นเร็วกว่า

Media contacts

August Rick | Greenpeace East Asia, Beijing | [email protected]

Greenpeace International Press Desk, [email protected], phone: +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)