นั่นสิ เป็นคำถามที่นอกจากคุณครู ผู้ปกครองแล้ว ตัวเราเองก็ยังสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้มีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยในโรงเรียนได้

ย้อนกลับไปในวัยเด็กของเรา อาหารกลางวันที่อยู่ในความทรงจำก็จะมีแต่ ราดหน้า ขนมจีนน้ำยา ก๋วยเตี๋ยว อะไรพวกนั้น ซึ่งตอนนั้นเรากินไปก็ไม่สงสัยอะไรเลยสักนิด แต่พอโตขึ้นก็มานั่งนึกทำไมนะ อาหารกลางวันที่เรากินมันสามารถมีประโยชน์มากกว่านั้นได้ไหม และมันปลอดภัยจริงๆหรือไม่?

พอเราอยากรู้เราก็เลยลองไปสอบถามข้อมูลจากอาจารย์หลาย ๆ โรงเรียน เรื่องอาหารกลางวันที่เด็กนักเรียนกิน เรารู้ว่ามันสะอาด ปรุงสุกแน่นอน แต่ว่าวัตถุดิบเนี่ย พวกผัก หมู ไก่ ปลา เนี่ย มีที่มาอย่างไรใช้สารเคมีมากน้อยแค่ไหน

จากที่ได้ไปสอบถามมาหลากหลายโรงเรียนที่มาร่วมในงานการแสดงนิทรรศการผลงานการเรียนรู้ โครงการ “จัดการสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงเพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการบริโภคผักผลไม้ที่ปลอดภัย” ที่จัดโดยมูลนิธิการศึกษาไทย บางโรงเรียนก็ได้ประยุกต์วิถีการทำเกษตรอินทรีย์เข้าไปในวิชาเกษตรของนักเรียน ตัวอย่างเช่น มีการแบ่งการปลูกดูแลในแต่ละชั้น เช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา เพาะเห็ดนางฟ้า เลี้ยงไก่อารมณ์ดี โดยเลี้ยงไก่ที่ไม่ให้เกิดความเครียด ทั้งหมดนี้มีการสร้างแหล่งอาหารภายในโรงเรียน และนักเรียนสามารถนำต้นกล้ากลับไปปลูกที่บ้านเพื่อนำมาประกอบอาหาร และที่ดีไปกว่านั้นใน 1 สัปดาห์จะปรุงอาหารพื้นบ้านที่อุดมด้วยพืชผักเพื่อให้นักเรียนกินอีกด้วย

โรงเรียนบางแห่งจะมีการปลูกพืชผักสวนครัว ร่วมกับเครือข่ายชุมชนภายในชุมชนส่งผลผลิตให้กับทางโรงเรียนโดยตรง แต่ยังไม่สามารถหาพืชผักผลไม้จากเกษตรอินทรีย์ได้เต็มร้อย เนื่องจากยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ สัดส่วนที่เหลือจึงยังเป็นพืชผักจากเกษตรกรรมที่มีสารเคมี

ปัญหาหรือสาเหตุที่ทางโรงเรียนไม่สามารถสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยให้กับอาหารกลางวันของเด็กได้ก็มีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของทางโรงเรียนเองที่มีอย่างจำกัด หรือสภาพความไม่อุดมสมบรูณ์ของดิน หรือ ขาดความรู้ความเข้าใจในการเพาะปลูก เป็นต้น

เรื่องราวเหล่านี้ ทางคุณครูก็คิดเห็นเหมือนกัน และยังร่วมกันเสนอแนะและแบ่งปันในวิธีที่หลากหลายซึ่งล้วนน่าสนใจทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น การสร้างหรือรวมกลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อปลูกผัก เพื่อเป็นอาหารกลางวันของทางโรงเรียนโดยการสร้างข้อตกลงกับทางผู้ปกครองผู้ปลูก เช่นเรื่อง ราคากลาง ชนิดผักที่หลากหลาย มีตลาดสีเขียวสำหรับผักเกษตรอินทรีย์ มีคณะกรรมการสถานศึกษา หรือหน่วยงานในพื้นที่อื่น ๆ เข้ามาสนับสนุนในการช่วยผลิตอาหารให้โรงเรียน เช่นมหาวิทยาลัย หรือสำนักงานเกษตรต่าง ๆ กศน. หรือแม้กระทั่งแลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลทางด้านการผลิตอาหารในพื้นที่ที่ทำสำเร็จ เช่นการปลูกผักแนวตั้ง เพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตสำหรับบางโรงเรียนที่มีพื้นที่จำกัดในการเพาะปลูก หรือแม้กระทั้งการตรวจหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของเด็ก เพื่อติดตามและปรับปรุงการจัดหาวัตถุดิบที่ปลอดภัยเพื่อประกอบเป็นอาหารกลางวันให้เด็ก ๆ ได้กินกันอย่างปลอดภัย

ตัวอย่างเช่น วิธีการที่โรงเรียนวนิษารังสิตทำให้เด็กๆได้รู้จักการปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อมาใช้ประกอบอาหารกลางวัน

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม