ระดับมลพิษทางอากาศในปักกิ่ง เทียนจินและอีก 26 เมืองโดยรอบเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมปีก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้แผนควบคุมมลพิษทางอากาศในช่วงฤดูหนาว

Airpocalypse Now Redux: Everyday Life in Beijing Smog. © Yat Yin / Greenpeace

เจ้าหน้าที่ประจำจุดจอดรถทำงานด้านนอกอาคารเป็นเวลานานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ที่ได้มาตรฐาน ที่ผ่านมาปัญหามลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ปักกิ่งยังต้องเผชิญ

จากข้อมูลของรัฐบาลที่วิเคราะห์โดยหน่วยมลพิษทางอากาศของกรีนพีซพบว่า คุณภาพอากาศบริเวณปักกิ่งแย่ลงอย่างมีนัยยะสำคัญตามระดับการใช้ถ่านหินที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ระดับความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศยังคงลดลง เป็นไปตามเป้าที่จะลดฝุ่นลงมากกว่าร้อยละ 9.2 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ระดับมลพิษทางอากาศในปักกิ่ง เทียนจินและอีก 26 เมืองโดยรอบเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคมในปีก่อนหน้านี้ หรือเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้แผนควบคุมมลพิษทางอากาศในช่วงฤดูหนาว

มีเพียงแค่ 4 เมืองจาก 28 เมืองที่สามารถลดฝุ่นได้ถึงเป้า ดังที่ข้อมูลอย่างเป็นทางการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแสดงให้เห็นว่า จำนวนวันที่มีมลพิษทางอากาศสูงนั้นมีจำนวนสูงขึ้นร้อยละ 37

การวางเป้าหมายที่ผิดพลาด

ภูมิภาคที่เป็นปัญหานั้น มีเป้าหมายที่จะลดระดับฝุ่น PM2.5 และจำนวนวันที่มีฝุ่น PM2.5 ในระดับสูงลงร้อยละ 3 ซึ่งเป้าหมายนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐบาลกลาง แต่ในฤดูหนาวที่ผ่านมานั้นดูเหมือนว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะละเลยต่อวิธีการที่จะเร่งรัดให้เป้าหมายนี้สำเร็จ

รัฐบาลท้องถิ่นละเลยต่อการจำกัดการผลิตทางอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ. 2560 – 2561 ประกอบไปด้วยการลดการผลิตเหล็กลงร้อยละ 26 ลดการผลิตโลหะที่ไม่ใช่เหล็กลงร้อยละ 18  ซีเมนต์ร้อยละ 23 และลดการผลิตพลังงานความร้อนลงร้อยละ 4 ซึ่งกลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30, 25, 4 และ 16 ตามลำดับในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา

Smog in Pictures at Beijing's Landmarks. © Zhang Tao / Greenpeace

ภาพฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณจตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ปักกิ่งเผชิญกับฝุ่นละออง PM2.5 เกินมาตรฐาน โดยมีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ถึง 344 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ผลคือมีการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ใน 6 อำเภอ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมคุณภาพอากาศ และด้วยข้อมูลของ Fenwei Energy เราก็พบว่าความต้องการนี้มาจากโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมผลิตเหล็กที่ต้องการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นนั่นเอง

6 พื้นที่รอบๆปักกิ่งนี้มีการใช้ถ่านหินราวๆ 1,200 ล้านตัน ถือเป็นร้อยละ 30 จากการใช้ถ่านหินทั้งหมดของประเทศซึ่งเป็นปริมาณมากกว่าการใช้ถ่านหินของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริการวมกัน โดยมีการใช้ถ่านหินตั้งแต่ช่วงฤดูหนาวปี พ.ศ.2560 – 2561 ไปจนถึงช่วง พ.ศ.2561-2562 เพิ่มขึ้นราว 60 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าการใช้ถ่านหินทั้งหมดของโปแลนด์ในช่วงเวลาเดียวกัน

ปักกิ่งที่ดีขึ้น

ที่ผ่านมา ปักกิ่งประสบความสำเร็จในการลดฝุ่น PM2.5 ลงร้อยละ 2 ในแต่ละปีตามเป้าหมาย แม้ว่าปีล่าสุดนั้นสภาพอากาศไม่เอื้อเท่าปีก่อนๆอีกทั้งยังมีการผ่อนผันข้อจำกัดของโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม สภาพอากาศในพื้นที่โดยรวมนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ดีมากแม้ว่าจะเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีมลพิษมากที่สุด แม้จะไม่ดีเท่าฤดูหนาวปีก่อนหน้าที่มีกระแสลมแรงจากทุ่งหญ้าทางตอนเหนือ

การปรับปรุงหลักๆที่เห็นผลได้ชัดคือ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในพื้นที่ทางตอนใต้ลดการผลิตลงเนื่องจากนโยบายคุณภาพอากาศ ฝุ่น PM2.5 ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ในมณฑลกวางตุ้ง กวางสี นอกจากนี้มณฑลเพื่อนบ้านอย่างหูหนานและฝูเจี้ยนก็มีรายงานว่าฝุ่น PM2.5 ลดลงมากกว่าร้อยละ 10

Coal Transfer Station in China. © Nian Shan / Greenpeace

จุดพักและสถานีขนส่งถ่านหิน Niujialiang ใน มณทลชานซีของจีน

อย่างไรก็ดี การใช้ถ่านหินของเมืองในปักกิ่งที่อยู่นอกเหนือเขตควบคุมมลพิษเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงแวลาเดียวกัน ที่ค่อยๆชะลอการเติบโตจาก 0 ในไตรมาสแรก ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมพยายามอย่างหนักเพื่อทำให้ระดับมลพิษทางอากาศลดลงในขณะที่การใช้ถ่านหินของอุตสาหกรรมนั้นไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังที่มลพิษ PM2.5 จะอยู่ในระดับสูงที่สุดในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้หน่วยงานเหล่านี้ยังผลักดันให้อุตสาหกรรมทำงานหนักในฤดูร้อนแทน ซึ่งนั่นส่งผลให้ระดับโอโซนในฤดูร้อนแย่ลง

ความพ่ายแพ้ต่อการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในฤดูหนาวทางตอนเหนือของจีนนี้ ชี้ให้เห็นว่าเราไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้ หากยังไม่มีการลดใช้ถ่านหิน

Yulin Coal Industry in China. © Nian Shan / Greenpeace

อุตสาหกรรมถ่านหิน Yulin ในจีน

รายงานการปรับปรุงแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศของจีนตั้งแต่ ปี พ.ศ.2555 แสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเข้มงวดบวกกับการหยุดใช้ถ่านหินสามารถลดมลพิษทางอากาศและรักษาชีวิตผู้คนได้ ส่วนก้าวต่อไปนั่นคือการวางแผนระยะยาวเพื่อยุติการใช้ถ่านหินและอุตสาหกรรมหนัก

การยกระดับคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นในอนาคตนั้นจะสำเร็จได้ด้วยการยุติการพึ่งพาถ่านหินและลงทุนระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดโดยตั้งเป้าหมายลด ละ เลิกถ่านหินในแผนพลังงานและเป้าหมายหลังจากปี พ.ศ.2563

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม