All articles
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนสร้างอาชีพได้ไม่มากเท่าอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
จริงอยู่ที่ว่ามีตำแหน่งงานนับล้านที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล (ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้) แต่เราต้องเลิกมองเรื่องดังกล่าวว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลกับพลังงานหมุนเวียน และควรตระหนักได้แล้วว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้กำลังเกิดขึ้นจริงๆและหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป
-
มายาคติ: การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมทำให้ต้นทุนไฟฟ้าของผู้บริโภครายอื่นสูงขึ้น
พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมสร้างประโยชน์ให้กับระบบมากกว่าอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการลดมลพิษและความสูญเสียจากการนำส่งไฟฟ้า มากกว่าผลประโยชน์อื่นใด หรือมากกว่าเงินอุดหนุนที่จ่ายให้กับผู้บริโภคอนาคตเสียด้วยซ้ำ
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกของคนรวยเท่านั้น อย่างไรเสียถ่านหินก็เหมาะสมกว่าในการผลิตไฟฟ้าในประเทศยากจน
เรื่องนี้นับเป็นข้อโต้แย้งหลักที่อุตสาหกรรมถ่านหินมักยกขึ้นมาใช้ แต่อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกลบล้างโดยผลการวิจัยมากมาย แม้กระทั่งทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเคยประเมินการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด ยังกล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้ผู้คนมีไฟฟ้าใช้ได้มากกว่าถ่านหิน ถ่านหินไม่ใช่แค่ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากไร้ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังขังพวกเขาไว้ให้อยู่สภาพที่ย่ำแย่เช่นเดิม โดยรายงานฉบับหนึ่งของอ็อกซ์แฟมในปี 2560 ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า: “ยิ่งมีการใช้ถ่านหินมากเท่าใด ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องตกอยู่ในสภาพยากไร้ ทั้งจากผลกระทบร้ายแรงของความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ และความสูญเสียโดยตรงจากการทำเหมืองและการเผาไหม้ถ่านหินที่มีต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ทำกิน มลพิษ และสุขภาพที่เสื่อมโทรมลง” การพัฒนาที่ยั่งยืน การเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มั่นคงและราคาจับต้องได้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งถ่านหินไม่อาจทำให้ได้ อีกทั้งยังขัดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆอย่างการมีสุขอนามัยที่ดีและการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดอีกด้วย ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนนั้นอาจช่วยให้ไปถึงเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนนี้ได้ทั้งหมด หรืออาจกล่าวได้ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียน 100%คือหนทางเดียวที่เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้สำเร็จทุกประการ ที่มา: World Future…
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถนำมาใช้ได้เร็วพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
การคาดการณ์ที่ผิดพลาดมาโดยตลอดในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา พลังงานหมุนเวียนขยายตัวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายของใครหลายๆคน รวมถึงกลุ่มที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างบริษัทบีพี (BP) และทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) (ดูที่ figure 4) โดยสถิติชี้ว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2559 ที่สหรัฐอเมริกา มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัว ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการใช้สอยเองก็เพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า ในปี 2559 เพียงปีเดียว จีนได้ติดตั้งแผงโซลาร์มากถึง 34 กิกะวัตต์ เกือบสองในสามของกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาในปี 2559 มาจากพลังงานหมุนเวียน…
-
“ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ปกป้องตือโละปาตานี
“ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ชุมชนเทพาขอเลือกเทใจให้พลังงานหมุนเวียน
-
เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์เข้าร่วมขบวนเรือประมงพื้นบ้านในตือโละปาตานี ประกาศเจตนารมย์หยุดถ่านหิน
วันนี้เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ ซึ่งเป็นเรือสัญลักษณ์ของกรีนพีซ เดินทางมาถึงตือโละปาตานี
-
กรณ์อุมา พงษ์น้อย: “เราไม่เคยคิดหวังพึ่งกระบวนการยุติธรรมแม้กระทั่งศาลปกครอง เพราะไม่คิดว่าจะสร้างความเป็นธรรมให้กับเราได้”
สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเรื่องน่ากังวลในประเทศไทย แต่สิ่งที่เป็นความหวังในการปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อมเสมอมาคือพลังและการขับเคลื่อนของภาคประชาชน
-
รายงานเรื่องมลพิษทางอากาศจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ย้ำเตือนถึงความจำเป็นที่จะต้องปลดแอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
แผนที่แสดงระดับมลพิษทางอากาศในเมืองต่างๆ ทั่วโลกขององค์การอนามัยโลกที่เพิ่งเปิดเผยไป คือการออกมาเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อันตรายอย่างจริงจัง แผนที่ชิ้นนี้จัดได้ว่าเป็นแผนที่แสดงระดับมลพิษทางอากาศที่ครอบคลุมมากที่สุดในปัจจุบัน
-
รุ่งเรืองแล้วร่วงโรย 2561
เป็นระยะเวลา 2 ปีต่อเนื่องมาแล้ว ที่ข้อบ่งชี้สำคัญต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนั้นลดลงอย่างฮวบฮาบในปี 2560 ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อยู่ในระยะวางแผนก่อสร้าง เริ่มดำเนินการก่อสร้าง และเสร็จสิ้นการก่อสร้างแล้ว
-
รายงานฉบับใหม่ระบุการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกลดลงเป็นปีที่สองติดต่อกัน
ข้อมูลจากรายงานฉบับล่าสุดที่นำเสนอโดยกรีนพีซ เซียราคลับและโคลสวอร์ม ระบุว่า เป็นปีที่สองติดต่อกัน ที่จำนวนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในปี พ.ศ.2560 โดยที่จีนและอินเดียมีจำนวนลดลงมากที่สุด