All articles
-
การประเมินของกรีนพีซระบุ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ชั้นนำ 12 แห่งในประเทศไทยล้มเหลวที่จะต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก
กรีนพีซ ประเทศไทยเผยแพร่รายงาน “ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต และวิกฤตมลพิษพลาสติก : การจัดอันดับนโยบายพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย ปี 2563”[1] ระบุ ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ทั้ง 12 แห่งที่มีการสำรวจในรายงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน จะต้องปรับปรุงและมุ่งมั่นมากขึ้นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติกอย่างเร่งด่วน
-
7 วิดีโอ การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่กรีนพีซอยากให้คุณดู
เราขอรวบรวม 7 คลิปสั้นและแอนิเมชั่นที่สร้างแรงขับเคลื่อนในปี 2564 มัดรวมเรื่องราวที่อาจทำให้เราเศร้า โกรธ แต่ชวนให้เราตั้งคำถามและจุดไฟในใจสร้างแรงให้เราลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม
-
กรีนพีซร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายกายา(GAIA) เรียกร้อง UNFCCC ยกระดับแผนการ zero waste ให้ตรงจุดเพื่อชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศและยกระดับคุณภาพชีวิต
กรีนพีซร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมของกายา (Global Alliance for Incinerator Alternatives-GAIA) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(UNFCCC) ปฏิเสธแผนการแก้ปัญหาการชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ไม่ตรงจุด
-
พบขยะพลาสติกจากโคคา-โคล่า และเป๊ปซี่โคสูงสุดเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
รายงานแบรนด์ออดิทปี 2564 ยังพบจำนวนขยะพลาสติกจากผู้สนับสนุนหลักของ COP26 อย่างยูนิลิเวอร์ เพิ่มขึ้นจนติดอันดับผู้ก่อมลพิษพลาสติกมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก
-
หรือนี่คือยุคทองของ “การฟอกเขียว”
คำว่า “การฟอกเขียว” เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 - 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติและวิกฤตสภาพภูมิอากาศเริ่มเข้ามาเป็นประเด็นถกเถียงกระแสหลัก
-
กรีนพีซเรียกร้องกรมควบคุมมลพิษให้ประเมินผลและทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก ระบุ Roadmap ไร้ทิศทางและสวนทางกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
บทวิพากษ์ “Roadmap การจัดการขยะพลาสติกของไทย พ.ศ. 2561-2573” โดยกรีนพีซ ประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาจากการบริหารนโยบายสาธารณะของรัฐ (publicity governance) และกระบวนการมีส่วนร่วมทางนโยบายของพลเมืองไทย (society and policy pathway consciousness) Roadmap การจัดการขยะพลาสติกนี้ยังขาดความมุ่งมั่นและไร้ทิศทางเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษพลาสติก และที่สำคัญ ยังสวนทางกับแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจก พ.ศ. 2564-2573 และเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) พ.ศ.2608-2613
-
ปัว เล เปง: ด่านหน้าผู้ปกป้องมาเลเซียจากวิกฤตมลพิษพลาสติก
ปัว เล เปง (Pua Lay Peng)เป็นแกนนำเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Kuala Langat Environmental Action Group ซึ่งออกมาเรียกร้องทางโลกออนไลน์ถึงปัญหาการนำเข้าขยะพลาสติกในเมืองเจนจารอม ของรัฐเซลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย
-
วิกฤติอุทกภัยที่เกิดจากมลพิษพลาสติกในแคเมอรูน
ทุก ๆ ปี ดูอาลา เมืองที่ฉันอาศัยอยู่ต้องเผชิญกับน้ำท่วม ที่ทำลายทั้งบ้านเรือน ร้านค้า ไปจนถึงถนนหนทาง กระทบคุณภาพของน้ำดื่มและอาหาร ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียบ้าน วิถีชีวิตที่พวกเขาคุ้นเคย หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัว
-
แถลงการณ์ (ฉบับที่ 2): คัดค้านการผ่อนปรนการนำเข้าเศษพลาสติกหยุดการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างเด็ดขาดภายในปี 2564
ปัญหาขยะพลาสติกเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทย ภายหลังจากรัฐบาลจีนออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกต่างประเทศ นโยบายดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะพลาสติกในประเทศจีนหลายรายได้ย้ายฐานการรีไซเคิลไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกที่อาจแฝงด้วยขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา จนทะลุ 5 แสนกว่าตันในปี 2561 และข่าวการจับกุมการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกหลายราย ที่มีการสำแดงเท็จว่าเป็น “เศษพลาสติก”
-
ขยะพลาสติกล้นโลก: เมื่อไหร่รัฐและผู้ผลิตจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา?
ระบบการจัดการขยะโดยรวมของประเทศไทย ทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ได้ คนทิ้งก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย และผู้ผลิตเองก็ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน