จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นจากผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพในนามชาวอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และเครือข่ายนักวิชาการ ตลอดจนผู้ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความห่วงใยและวิตกต่อผลกระทบในหลากหลายมิติที่อาจจะเกิดขึ้น จากการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน 150 เมกะวัตต์ ของบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้คณะกรรมการ ผู้ชำนาญการ (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ให้ความเห็นชอบต่อรายงานการวิเคราะห์กระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (EHIA) ไปเมื่อวันศุกร์ ที่ 7 ธันวาคม 2561 ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนในพื้นที่
เนื่องจากแม้ตัวโครงการโรงไฟฟ้าฯ150 เมกะวัตต์ดังกล่าว จะตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นที่และชุมชนที่อยู่แนบชิดและเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากโครงการมากที่สุดคืออำเภอมวกเหล็ก ชาวมวกเหล็กและหลายฝ่ายที่มีความวิตกพื้นที่นี้จึงมีความห่วงใยต่อผลกระทบจากมลพิษที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ทั้งในแง่สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้คน คุณภาพของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ อันเกี่ยวพันและส่งผลโดยตรงต่อมูลค่าเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนมวกเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อข้อมูลได้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า โรงไฟฟ้าฯ 150 เมกะวัตต์แห่งนี้ จะใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก
ความห่วงใยและวิตกดังกล่าวได้นำมาซึ่งแรงกายแรงใจของชาวมวกเหล็กผู้รักและหวงแหนท้องถิ่นในการทุ่มเทเวลาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงาน EIA/EHIA ของโครงการฯและร่วมกันออกภาคสนามเพื่อศึกษา “วิถีชุมชน” ในมิติต่างๆเป็นเวลากว่า 1 ปีเต็มและจะนำข้อมูลที่ได้มาประกอบเป็นหนังสือเล่มนี้
แผนที่การประเมินผลกระทบของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ต่อความเสี่ยงต่ออาชีพการเลี้ยงโคนมและเกษตรกรรม อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี


การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ไม่ใช่เพียงแค่การประเมินว่ามลพิษที่ปลดปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดที่พิจารณาเพียงแหล่งเดียวแต่จำเป็นต้องพิจารณาถึงแหล่งสะสมของมลพิษที่มีอยู่เดิมและต้องทำการประเมินผลกระทบจากมลพิษดังกล่าวต่อคุณภาพชีวิตประชาชนรวมถึงการประกอบอาชีพของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเนื่องจากการที่ค่ามลพิษที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไม่ได้แปลว่าไม่มีผลกระทบใดๆเลยเช่นเดียวกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 150 เมกะวัตต์ในอ.มวกเหล็กจ.สระบุรีที่มีข้อบกพร่องหลายจุด
ผศ.ดร.ธนพลเพ็ญรัตน์อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรและดร.วินไตรวิทยานุรักษ์ผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองมลพิษทางอากาศได้ใช้แบบจำลองการแพร่กระจายมลพิษทางอากาศ AREMOD ทำการประเมินผลกระทบของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ต่อความเสี่ยงต่ออาชีพการเลี้ยงโคนมและเกษตรกรรมในอ.มวกเหล็กจ.สระบุรีเพื่อแสดงผลการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศ
*ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิตได้โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งส่งผลกระทบทำให้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั้งโคและประชาชนที่อาศัยในพื้นที่มีการแพร่กระจายของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์นอกจากกนี้ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์สามารถทำปฎิกิริยากันอากาศเปลี่ยนสภาพกลายเป็นฝุ่นPM2.5ได้ด้วย

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป
มีส่วนร่วม
Discussion
ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยุคนี้มีพลังงานทางเลือก
ในการรณรงการลดใช้พลาสติกเป็นสิ่งที่ดี และคิดว่าเมื่อให้ความรู้กับประชาชน (ผู้ใช้) ได้ทราบถึงผลเสีย แต่ถ้าผู้รับผิดชอบไม่หาสาเหตุที่ทำให้ยังมีพลาสติกและอุปกรณ์อื่นๆที่ทำให้เกิดมลพิษ การลดการใช้ย่อมไม่ได้ผล ข้อเสนอ 1. โรงงานลดการผลิต 2. ผลิตวัตถุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ 3.หาวิธีกำจัดมลพิษ