ในเดือนมกราคม พ.ศ.  2562 สหภาพยุโรปได้ประกาศปลด ‘ใบเหลือง’ และถอดประเทศไทยออกจากรายชื่อ ‘ประเทศที่ถูกเตือน’ สำหรับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU fishing)  

ส่งผลให้ประเทศไทยกลายมาเป็น “ต้นแบบ” (Role model)  ของหลายประเทศในแง่การแก้ปัญหาการทำประมง และการจัดการดูแลสวัสภาพแรงงานประมง หลังจากที่ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาการทำงานในภาคประมง พ.ศ.2550 (ฉบับที่ 188) ซึ่งคุ้มครองการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ของแรงงงานบนเรือประมง นับเป็นชาติแรกในเอเชียที่ให้การรับรองสัตยาบันข้อนี้ 

หากแต่ว่าในทางปฏิบัติ เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรกับชีวิตแรงงานประมงบ้าง 

จากผลการวิจัยพบว่า ประเด็นเรื่องการจ่ายค่าจ้าง สิทธิการเจรจาต่อรอง และสิทธิการลาป่วยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น สะท้อนว่าแรงงานตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากขึ้น และผู้ประกอบการ ในขณะที่ยังมีอีก 8 ประเด็นที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง เพื่อให้ลดช่องว่างทางสิทธิ ได้แก่

  • การเข้าถึงสัญญาจ้างและเอกสารประจำตัว 
  • การจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 
  • การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่บนเรือ 
  • ชั่วโมงทำงานและพักผ่อนของแรงงานประมง
  • อุปสรรคในการเปลี่ยนงานหรือนายจ้าง
  • ช่องทางในการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการเข้าถึงสิทธิแรงงาน  
  • กลไกการตรวจสอบข้อเท็จจริง และการเข้าถึงกลไกการร้องเรียนของรัฐ

นอกจากนี้ ภายใต้สถานการ์ COVID-19 ยังเผยให้เห็นถึงความเปราะบางของสถานการณ์การด้านการดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยแรงงาน เช่น กรณีแรงงานถูกขอให้หยุดงาน หรือถูกบังคับให้เซ็นใบลาออก เมื่อไม่มีช่องทางการร้องเรียน และแรงงานที่ถูกให้ออกจากงานหานายจ้างใหม่ไม่ทันตามกำหนดของกรมการจัดหางาน จากคนที่เคยถูกกฎหมายก็กลายเป็นคนผิดฎหมาย และถูกยกเลิกใบอนุญาตการทำงานในที่สุด หรือแม้ภาครัฐจะมีมาตรการรักษาและตรวจผู้ที่เข้าข่ายติดเชื้อ COVID-19 ฟรี โดยไม่จำกัดสัญชาติ แต่ข้อมูลส่วนนี้แรงงานแทบไม่ได้รับรู้

ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายของรายงาน “ชีวิตติดร่างแห ปีที่ 2” ยังครอบคลุมไปถึงภาครัฐที่มีบทบาทโดยตรง รวมถึงสมาคมผู้ซื้ออาหารทะเลในต่างประเทศ สมาคมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ผู้ค้าปลีกในต่างประเทศ บริษัทผู้ส่งออกอาหารทะเล และเจ้าของเรือประมงในต่างประเทศ ให้ทำงานร่วมกันอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรม

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ผลักดันเขตคุ้มครองทางทะเล

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม