จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีรวมกันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็น  1 ใน 3 ของการปล่อยทั่วโลกในปี 2561 ดังนั้น  ถือเป็นข่าวดีเมื่อทั้งสามประเทศให้คำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ มุ่งไปสู่ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Nuetral) 100% ภายในปี 2593 (สำหรับเกาหลีและญี่ปุ่น) และภายในปี 2603(สำหรับจีน) ความมุ่งมั่นครั้งใหม่นี้เป็นเรื่องน่าชื่นชม แต่กระบวนการทั้งหมดเพิ่งเริ่มต้น เราจึงเรียกร้องให้ทั้งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีพัฒนาแผนงานรูปธรรมในระยะยาวขึ้นมา ว่าทำอย่างไรที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ รวมถึงกรอบเวลาที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100%

Celebration Cake for East Asia's G3 Countries going Carbon-Neutral. © Greenpeace
เมื่อไม่นานนี้ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้ประกาศความมุ่งมั่นด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน © Greenpeace

ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) คืออะไร และเพราะอะไรจึงสำคัญ?

ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ และมีสองแนวทางด้วยกัน แนวทางแรกคือการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา โดยการชดเชยคาร์บอนเครดิต (Carbon Offsets) ตัวอย่างเช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มจำนวนต้นไม้ อีกแนวทางหนึ่งคือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับแนวทาวแรก ในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นั้น หมายถึง การยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100%และขยายประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยมีการยกระดับในทุกภาคส่วน ไม่ใช่เพียงโรงไฟฟ้า แต่รวมถึง การขนส่ง อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและในชีวิตประจำวันของเรา

ความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า เพื่อจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มสูงไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส(เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม) เราต้องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 หรือเร็วกว่านั้น และจำนวนประเทศที่เริ่มเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก็แสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนของประเด็นนี้ ทั้งสหภาพยุโรป แคนาดา แอฟริกาใต้ ต่างให้คำมั่นสัญญาว่าจะเดินหน้าเรื่องนี้ภายในปี 2593 นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ ชิลี เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ฮังการี และสหราชอาณาจักร ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมา กำหนดให้มีการดำเนินแผนการให้สำเร็จภายในปี 2593 เพิ่มความชัดเจนและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง และยังมีอีกหลายประเทศที่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วย เช่น ออสเตรีย (2583) ไอซ์แลนด์ (2583) และฟินแลนด์ (2578)

ผลสะเทือนที่เพิ่มพูน

คำมั่นสัญญาของสามประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนี้เป็นก้าวสำคัญในการกอบกู้วิกฤตภูมิอากาศ เพราะนี่คือกลุ่มประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากสามประเทศรวมกันคิดเป็น 1 ใน 3 ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกในปี 2561 และคำมั่นสัญญาของแต่ละประเทศเหล่านี้ คือผลสะเทือนที่เพิ่มพูนในการกระตุ้นปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งภูมิภาค

แต่การตั้งเป้าหมายนั้นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น คำมั่นสัญญาจะต้องมีแผนการดำเนินงานในระยะยาวอย่างเป็นขั้นตอน แต่ละภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างไรบ้างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปี 2593 ทุกประเทศต้องมีกรอบเวลาที่ชัดเจนและเครื่องมือในการวัดความคืบหน้าของการดำเนินงาน แผนการนั้นต้องรวมถึงการลด ละ เลิกเชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100% นโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศและการลงทุนต้องสอดคล้องกับกับแผนการการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในระดับประเทศเพื่อให้ธนาคารที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐยุติการให้เงินกู้ถ่านหิน และเน้นไปที่ภาคส่วนที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม

จีนต้องหยุดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ทั้งหมด และขยายภาคพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น และดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำในทุกภาคส่วนของสังคม ญี่ปุ่นต้องตั้งเป้าหมายพลังงานหมุนเวียน 50% ภายในปี 2573 และนำเสนอนโยบายเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดได้ เกาหลีต้องทำให้เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2573 เข้มข้นมากขึ้น โดยตกลงที่จะลดการปล่อยลงอย่างน้อย 50% ภายในปี 2573 ขณะที่แผนการปัจจุบันระบุไว้ 20% นอกจากนี้ เกาหลีจะต้องมุ่งมั่นเดินหน้ายกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด และทั้งสามประเทศจะต้องหยุดการให้เงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดในต่างประเทศ

สภาพภูมิอากาศสุดขั้วส่งผลในหลายพื้นที่ เช่นในต้นฤดูร้อนปี 2563 อุทกภัยและแผ่นดินถล่มสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากในจังหวัดคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ผู้คนมากมายเสียชีวิต และกว่าล้านคนต้องอพยพจากบ้านไป

ความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยคาร์บอนในเอเชียตะวันออกที่เราได้เห็นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น พวกเขาเป็นแรงผลักดันสำคัญสู่ก้าวแรกและแสดงถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ แต่ทั้งสามประเทศนี้จะต้องทำให้คำมั่นของพวกเขาจับต้องได้ ไม่ใช่เพียงแค่คำสัญญาลอยๆ โดยเริ่มจากการวางแผนระยะยาว เป็นขั้นเป็นตอน ที่จะทำให้พวกเขาทำตามแผนได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

กรีนพีซเองก็กำลังเริ่มขั้นตอนต่อไป พวกเรากำลังศึกษา วิจัยและติดตามแบบแผนที่เปลี่ยนแปลงไปของสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว เช่น คลื่นความร้อน พายุไต้ฝุ่น และอุทกภัย เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร การที่เราได้เป็นประจักษ์พยานของผลกระทบที่เป็นหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เราได้ เรียกร้องให้รัฐบาลลงมือปฏิบัติการเพื่อกอบกู้วิกฤตนี้โดยทันที

เราเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกแผนที่นำทาง(Roadmap)ด้านสภาพภูมิอากาศ และให้หน่วยงานรัฐและภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100% และกดดันให้ธนาคารรายใหญ่หยุดให้เงินทุนสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล

คำมั่นสัญญาว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศในเอเชียตะวันออกเป็นควรชื่นชม แต่สิ่งที่ต้องทำจริงๆ นั้นเพิ่งเริ่มต้น เพื่อที่จะให้คำมั่นสัญญานั้นส่งผลสะเทือน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ต้องเปิดเผยแผนการที่ชัดเจนว่าจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของตนอย่างไร

กรีนพีซกางป้ายผ้าบริเวณแม่น้ำเหลือง ในจีน พร้อมข้อความเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตลุ่มแม่น้ำเหลือง © Zhu Jie / Greenpeace

กรีนพีซมีบทบาทอะไรต่อประเด็นนี้?

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกทำงานอย่างแข้งขันเพื่อผลักดันรัฐบาล อุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษ และสาธารณชนให้รับรู้ความจำเป็นเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตามรายงานข่าวล่าสุด งานของเรากำลังเริ่มส่งผล

ในปีนี้ เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้ง เช่น อุทกภัยร้ายแรง เป็นต้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากในสามประเทศของเอเชียตะวันออก การรณรงค์ของเราทำให้ผู้นำของประเทศเหล่านี้รับมือกับความ้ทาทายครั้งใหญ่ นั้นคือ ยุติถ่านหิน และเร่งรัดระบบพลังงานหมุนเวียน

ในปักกิ่ง เรารณรงค์เรื่องพลังงานและวิกฤตสภาพภูมิอากาศกว่าสิบปีแล้ว และเราเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นวิกฤตสภาพภูมิอากาศองค์กรแรก ๆ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ตัวอย่างเช่น เรารณรงค์ให้นำเอาโครงการที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินทั้งหมดออกจากระบบบัญชีรายชื่อใหม่ภายใต้มาตรฐานตราสารหนี้สีเขียวของจีน (China’s Green Bond standards) เป็นผลสำเร็จ ปัจจุบัน กรีนพีซได้รับการยอมรับ ไม่ใช่เพียงการรณรงค์ด้านมลพิษทางอากาศ แต่รวมถึง ผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศจากรายงานวิเคราะห์เชิงลึกทั้งในประเด็น การละลายของธารน้ำแข็งในเขตเทือกเขาหิมาลัย ไปจนถึงประเด็นอุทกภัย และแบบแผนการตกของน้ำฟ้าที่โยงใยกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในแถบจีนตอนใต้ในปี 2563

ในเกาหลี เราได้ล็อบบี้ให้นักการเมืองหันมาให้ความสนใจกับนโยบายเพื่อหาทางออกต่อวิกฤตสิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์บนยูทูป (YouTube) เพื่อที่จะส่งสารของเราให้ถึงกลุ่มเยาวชน และเผยแพร่เรื่องราวความกล้าหาญของผู้สนับสนุนกรีนพีซผ่านแคมเปญที่สร้างสรรค์

ที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็จะเจอกับถ่านหิน ถ่านหิน และถ่านหิน เราจึงมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้โตเกียวหยุดการเสพติดถ่านหินนี้ และเข้าร่วมกับเวทีเศรษฐกิจโลก ณ เมืองดาโวสเพื่อย้ำเตือนสถาบันการเงินญี่ปุ่นให้หยุดเงินกู้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ ความสำเร็จครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในปี 2563 คือเราได้รับคำมั่นสัญญาจากธนาคารญี่ปุ่นรายใหญ่ 3 แห่งว่าจะหยุดสนับสนุนโรงงานไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ แต่ถึงกระนั้น หากมีข้อแม้ในคำสัญญาที่ให้ไว้ เราต้องการให้พวกเขาระบุเอาไว้ทั้งหมด และให้ทางธนาคารมุ่งมั่นที่จะหยุดการสนับสนุนถ่านหิน โดยไร้ซึ่งข้อแม้ใด ๆ

Korea Flooding and Declare Climate Emergency Action in Seoul. © Jung Taekyong / Greenpeace
ในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 นักกิจกรรมกรีนพีซรณรงค์ประเด็นเร่งด่วนที่จะต้องจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่มารีนาคอนเวนชั่นเซนเตอร์ กรุงโซล โดยจำลองเหตุการณ์สมมุติ ว่าอาคารหลักและสิ่งก่อสร้างหลักในกรุงโซลกำลังพังทลายเพราะคลื่นความร้อนที่สูงขึ้น © Jung Taekyong / Greenpeace

การสนับสนุนของคุณคือแรงผลักดันสำคัญ

แม้ว่าเราจะบรรลุเป้าหมายบางส่วนของงานรณรงค์ แต่เราจะไม่หยุดอยู่แค่นั้น เราจะใช้ความสำเร็จที่เราได้มาต่อยอดไปสู่การรณรงค์อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยทุกแคมเปญของเรา และในขณะเดียวกัน และเราจะเดินหน้าทำงานร่วมกับประชาชนและเพื่อประชาชน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องเราจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เราต้องลงทุนพัฒนาด้านคุณภาพอากาศให้ดียิ่งขึ้น เปิดโอกาสด้านหน้าที่การงานในกิจการที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น และพัฒนาระบบอาหารให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะทุกชีวิตคู่ควรกับการอยู่บนโลกอย่างปลอดภัย ปราศจากซึ่งผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศและความไม่เป็นธรรมในสังคม เพราะเช่นนั้น เราจึงอยากเชิญชวนคุณมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้โลกของเราน่าอยู่ไปด้วยกัน

มาร่วมสร้างอนาคตเพื่อสภาพอากาศที่ปลอดภัยไปด้วยกัน © Ruben Neugebauer / Greenpeace

ในประเทศไทย กรีนพีซ มุ่งมั่นทำงานรณรงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ไปสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ด้วยการผลักดันรัฐบาลนำงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เพื่อลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ 1 ล้านครัวเรือนด้วยมาตรการ Net Metering นอกจากจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1.48 ล้านตันต่อปีแล้วมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟระดับครัวเรือน (Net Metering) จะนำสามารถทำให้ประชาชนสามารถมีรายได้จากหลังคาบ้านของตนเอง ยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม