วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ชาวจะนะกว่าห้าสิบชีวิตเดินทางกว่าสิบห้าชั่วโมงมาที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เรียกร้องให้กระทรวงทบทวนคำสั่งย้าย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ หรือ “หมอสุภัทร”
เมื่อไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน พวกเขาปักหลักชุมนุมข้ามคืนหน้ากระทรวง ท่ามกลางเสียงรถที่วิ่งไปมา คนที่พลุกพล่าน และสายฝน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับหมอที่ร่วมกับชาวจะนะในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและชุมชนจะนะมากว่าสองทศวรรษ
รู้จักหมอสุภัทร
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ หรือที่คนมักเรียกสั้น ๆ ว่า “หมอจุ๊ก” เป็นที่รู้จักดีในฐานะหมอผู้ร่วมขับเคลื่อนชุมชน ปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
หลังเรียนจบในปี 2538 หมอสุภัทรเริ่มงานที่โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ก่อนจะขึ้นเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล และมาประจำโรงพยาบาลจะนะในปี 2542 จนถึงปัจจุบัน
ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา นอกจากการรักษาคนไข้ ผลักดันชมรมแพทย์ชนบท หมอสุภัทรยังพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง วิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐด้านสาธารณสุขอย่างถึงพริกถึงขิง ร่วมรณรงค์ต่อต้านโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และสุขภาพของคนในชุมชน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาในปี 2559 หรือโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะในปัจจุบัน
แน่นอนว่าเส้นทาง “หมอเอ็นจีโอ” ที่ทำงานร่วมกับชุมชน วิจารณ์รัฐ ขัดขานายทุน ต่อสู้กับเพื่อสิ่งแวดล้อมมากว่าสองทศวรรษมิได้เป็นไปอย่างราบรื่น หมอสุภัทรเล่าว่ามีความพยายามสั่งย้ายเขาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งคำสั่งล่าสุด ที่ให้เวลาเขาเพียง 15 วันในการย้ายออกจากอำเภอที่เขาอยู่มากว่า 24 ปี
สั่งย้ายฟ้าผ่า
วันที่ 25 มกราคม 2566 มีคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุข ให้หมอสุภัทรย้ายไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากจะนะประมาณ 60 กิโลเมตร
นพ.สวัสดิ์ อภิวัจนีวงค์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข อ้างว่าคำสั่งย้ายหมอสุภัทรเป็นไปตามขั้นตอนและ “ไร้ประเด็นทางการเมือง”
อย่างไรก็ดี หมอสุภัทรได้ตั้งข้อสังเกตุผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวของตนว่าเป็นการสั่งย้าย “ที่ไม่เป็นธรรม” และจะ “สะเทือนการทำงานของผู้อำนวยปการโรงพยาบาลชุมชนทั้งประเทศ”
ส่วนหนึ่งของข้อความระบุว่า “คุณหมอรุ่งเรือง กิจผาติ ออกมาแถลงให้ข่าวผิดๆแก่สังคมว่า ‘ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนนั้นต้องย้ายทุก4ปี นี่อยู่มา 20ปีแล้วจึงควรต้องย้าย’ การให้ข่าวจงใจเชลียร์นายเช่นนี้ ทั้งๆที่รู้ความจริงอยู่เต็มอก ว่ามีผู้อำนวยโรงพยาบาลชุมชนร่วมสี่ห้าร้อยคนที่อยู่มาเกิน 4 ปีแล้ว มิเช่นนั้นต้องจับย้ายให้หมดใช่ไหม ซึ่งวันนี้เป็นไปได้ทางกฏหมาย เพราะมีระเบียบที่เพิ่งประกาศใช้วันที่ 23 และ 24 มกราคม 2566 ออกมารองรับแล้ว ให้ผู้ตรวจราชการย้าย ผอ.รพช.ได้ตามความเหมาะสม และผมคือรายแรกของหลักเกณฑ์นี้”มาเกิน 4 ปีแล้ว มิเช่นนั้นต้องจับย้ายให้หมดใช่ไหม ซึ่งวันนี้เป็นไปได้ทางกฏหมาย เพราะมีระเบียบที่เพิ่งประกาศใช้วันที่ 23 และ 24 มกราคม 2566 ออกมารองรับแล้ว ให้ผู้ตรวจราชการย้าย ผอ.รพช.ได้ตามความเหมาะสม และผมคือรายแรกของหลักเกณฑ์นี้”
คำสั่งย้ายดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสคัดค้านทั้งจากบุคลากรในโรงพยาบาลจะนะและคนที่อาศัยในชุมชน โดยประชาชนในพื้นที่ได้รวมตัวกันที่สาธารณสุขจังหวัดสงขลาเพื่อยื่นหนังสือถึงนพ.สวัสดิ์ ที่ลงนามคำสั่งย้าย ขณะที่บุคลากรโรงพยาบาลจะนะก็ได้มีการจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว
กระทั่งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ชาวชุมชนจะนะกว่าห้าสิบชีวิต เดินทางมาเรียกร้องที่หน้ากระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
จากใจชาวจะนะถึงหมอ
ไซหนับ ยะหมิงยะ หนึ่งในชาวจะนะที่เดินทางมาชุมนุมหน้ากระทรวง เล่าว่าเธอรู้จักหมอมาเป็นเวลานาน และชุมชนได้รับความช่วยเหลือจากหมอมาโดยตลอด ทำให้ไม่อยากให้หมอย้ายออกจากพื้นที่
“อยากให้หยุดคำสั่งย้ายหมอ ให้อยู่จะนะจนเกษียณ หมอเป็นคนหาดใหญ่แต่มาอยู่จะนะยี่สิบกว่าปีแล้ว หมอจะมาช่วยเวลามีกิจกรรม อยู่กับชาวบ้านตลอดไม่ว่าเรื่องอะไร บางทีเราอาจไม่รู้เรื่อง พวกโรคภัยไข้เจ็บสามารถติดต่อได้ เขาอยู่กับชุมชนมาโดยตลอด แนะนำเราว่าทำโซล่าเซลล์จะช่วยประหยัดเงิน โรงพยาบาลจะนะก็ทำโซล่าเซลล์ทบทวนค่ำสั่งย้าย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ที่หน้ากระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
“เรื่องสิ่งแวดล้อมหมอก็ทำ หมอส่งเสริมเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากกว่าการทำลาย อย่างนิคมอุตสาหกรรมจะสร้างมลพิษตั้งมากมาย หมอก็ออกมาแนะนำว่าถ้ามลพิษออกมา คนจะเป็นโรคนี้ๆ หมอก็ไม่อยากให้คนเป็นโรคจะได้ไม่ต้องรักษามาก จะได้ไม่ต้องพึ่งหมอมาก”
สมาน สะหลำ ชาวตำบลเทพา เล่าถึงหมอสุภัทรว่า “เป็นคนอัธยาศัยดีกับชาวบ้านและชุมชน ไม่มีพูดหยาบกับชาวบ้าน หัวเราะยิ้ม ถ้าชาวบ้านไม่สบายก็เอายามาให้ ขนาดแกอยู่จะนะ ผมอยุ่เทพาแกยังส่งยามาให้”
สมานเล่าต่อว่า “แกเหมือนพี่น้อง มีปลาก็ย่างกินคนละท่อน แกทำงานหลายอย่าง ให้ความรู้ ไปเจอชาวบ้าน ให้คำปรึกษา ลงไปบอกพื้นที่ให้ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากร ไม่ใช่แค่พวกผมนะ คนจะนะจากสกอม ตลิ่งชัน เทพา รักแกทั้งนั้น พอมีการสั่งย้ายไม่มีเหตุผล พวกผมก็ไม่ยอม ถ้าแกทำผิดร้ายแรง ผมไม่ว่า แต่แกอยู่ดีๆ ช่วยเหลือประชาชนทุกสิ่งอย่าง สั่งย้ายดื้อๆไม่รู้เหตุผล ชาวบ้านก็รับไม่ได้”
หลังยื่นหนังสือที่กระทรวงสาธารณะสุขแต่ไม่ได้รับการตอบรับ ช่วงสายวันที่ 15 ชาวจะนะจึงเดินทางต่อไปยื่นหนังสือที่สัปปายะสภาสถานรัฐสภา และยังคงปักหลักจัดกิจกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯ
ท้ายที่สุดแล้ว คำสั่งย้ายครั้งนี้เกิดจากการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐ และการเคลื่อนไหวคัดค้านนิคมฯขนาดใหญ่ในพื้นที่ดั่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกตุจริงหรือไม่ ? การเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับหมอจะจบลงอย่างไร ? หมอสุภัทรจะต้องย้ายออกจากพื้นที่จริงไหม ? เราได้แต่ต้องคอยติดตามดูต่อไป
แต่สิ่งหนึ่งที่คนในชุมชนแน่ใจ คือไม่ว่าหมอจะย้ายไปที่ไหน เขาจะยังคงช่วงเหลือคนในชุมชนและทำงานเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติจะนะต่อไป
“ถึงแม้ต้องย้ายจริงๆ แต่หมอก็ยังเป็นหมออยู่วันยันค่ำ ไกลแค่ไหนหมอก็ยังมาอยู่ดี” หนึ่งในผู้ชุมนุมกล่าว
อ่านเพิ่มเติม
ผลกระทบของโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะต่อสิ่งแวดล้อม > https://voiceofchana.greenpeace.org/
อ้างอิง
https://mgronline.com/politics/detail/9660000008739