ในปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานให้กับบ้านเรือนได้รับความนิยมมากกว่าเมื่อก่อนมาก ด้วยปัจจัยหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็น ราคาของอุปกรณ์ที่ถูกลง มีบริษัทรับติดตั้งที่มีมาตรฐานเข้ามาให้บริการมากขึ้น หรือต้องการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน 

Solar Rooftop at Luang Suan Hospital in Thailand. © Greenpeace / Arnaud Vittet

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ด้วยการระดมทุนของกองทุนแสงอาทิตย์

เนื่องจากโซลาร์เซลล์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ในระยะยาว แน่นอนว่าเมื่อมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้น เราก็จำเป็นต้องดูและรักษาอุปกรณ์และระบบต่างๆให้ดีเพื่อให้โซลาร์เซลล์บนหลังคาของเราผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อาชีพการติดตั้งและบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพใหม่ ที่กำลังขยายตัวลงไปในพื้นที่ต่างๆมากขึ้น

วิทยาลัยการอาชีพหลังสวนกับแนวคิดสร้างอาชีพกู้วิกฤตโลกร้อน

Solar Rooftop ที่โรงพยาบาลหลวงสวนในประเทศไทย. © Greenpeace

โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร เปิดตัวโรงพยาบาลแสงอาทิตย์แห่งที่ 2ของประเทศไทยจากการระดมทุนผ่านกองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund) ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 15 เครือข่ายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ยั่งยืน

การสร้างอาชีพจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นความสนใจของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน อนาคตใหม่ของการสร้างงานจากพลังงานหมุนเวียน วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จังหวัดชุมพรจะสอนการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนอยู่แล้ว และการเข้ามาร่วมอบรมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่โรงพยาบาลแสงอาทิตย์หลังสวนครั้งนี้ ทางวิทยาลัยอยากให้เด็กเรียนรู้กระบวนการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นด้วย การสอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นสิ่งใหม่ที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งการติดตั้งและการบำรุงรักษา 

นายจักรรัตน์ จักรานนท์ ครูพิเศษสอนวิชาไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จังหวัดชุมพร กล่าวว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้นำมาบูรณาการและเริ่มสอนในรายวิชาของนักเรียนภาคไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งได้ผลตอบรับดีมาก นักเรียนชอบและมันเป็นสิ่งใหม่ที่นักเรียนอยากเรียนรู้ ส่วนความท้าทายในการสอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์คือ อุปกรณ์และพื้นที่ในการติดตั้ง ทุกวันนี้เราให้เด็กดูจากทฤษฎีไปก่อนและลงมือปฏิบัติจากโครงการต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนมา ปัญหาหลักในพื้นที่ตอนนี้สินค้าค่อนข้างมีราคาแพง อุปกรณ์ที่จะหาในท้องถิ่นยาก 

ทุกภาคส่วนต้องมาสนับสนุนสร้างคนให้เด็กมีโอกาสได้สัมผัสของจริงและรู้เทคโนโลยีใหม่และชุมชนช่วยกันดูแล นักเรียนวิทยาลัยการอาชีพหลังสวนกำลังจะไปสถานที่ที่ได้ปฏิบัติจริงคือ บ้านกำนันในพื้นที่อำเภอหลังสวนตามโครงการพระราชดำริที่มีเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางของการติดต่อในสภาวะภัยภิบัติเพื่อให้สามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้”

ด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา จากผลการวิจัยจากรายงานการจ้างงานพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย พบว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียนในมิติต่างๆ หลอมรวมเข้าไปในรายวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรเพื่อการสร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา สามารถทำได้ทั้งรายวิชาเอกเลือกหรือส่วนหนึ่งของรายวิชาพื้นฐานการศึกษา ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมุมมองที่ถูกต้องและเกิดทักษะการวิเคราะห์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพลังงานหมุนเวียนได้อย่างเป็นระบบ 

Solar Rooftop at Luang Suan Hospital in Thailand. © Greenpeace / Arnaud Vittet

การติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาโรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร

ก้าวต่อไปของหลักสูตรด้านพลังงานหมุนเวียน

นอกจากการบูรณาการเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์และการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แล้ว คณะ สำนัก หรือวิทยาลัย ฯลฯ ที่จัดการศึกษาหลักสูตรด้านพลังงานหมุนเวียนหรือที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรง จะเป็นภาคส่วนที่มีความจำเป็นในการสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านการจัดการความปลอดภัยและการ

จัดการสภาพแวดล้อมของพลังงานหมุนเวียนให้กับนิสิต นักศึกษาที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนที่สำคัญการพัฒนาด้านนี้ซึ่งจะทำให้คนกลุ่มนี้มีทักษะที่เพิ่มเติมมากกว่าทักษะเชิงวิชาชีพเพียงมิติเดียว และเมื่อเข้าสู่การทำงานจริงทักษะดังกล่าวจะสามารถบูรณาการร่วมกันเพื่อการใช้ประโยชน์ได้ และยังเป็นข้อได้เปรียบของบัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรดังกล่าวด้วยเช่นกัน

นอกจากหลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว ข้อค้นพบจากผลการวิจัยยังสะท้อนถึงขีดความสามารถที่เพิ่มเติมของทรัพยากรมนุษย์กลุ่มนี้ที่จำเป็นมากคือ การพัฒนาหลักสูตรที่มีการสร้างคนที่มีความเข้าใจในการจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะโดยเทคโนโลยีดิจิทัล (smartgrid) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในเร็ววันนี้ นอกจากนั้นการสร้าง วิศวกร นักเทคนิค หรือนักวิชาการ ที่มีความชำนาญด้านการออกแบบระบบพลังงานหมุนเวียน (plant design)ซึ่งมีความหลากหลายทั้งประเภทของพลังงานและขนาดของการประกอบการ ก็มีความจำเป็นอย่างมากเช่นกัน

ส่วนสำคัญที่มีต่อนโยบายด้านการศึกษาประการถัดมา คือการสร้างทักษะการประกอบการให้กับบัณฑิต เพื่อนำไปสู่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพ จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจประเภทนี้มี

ข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษาผลตอบแทนที่ดีทั้งการจ้างงานรายบุคคลและระดับธุรกิจ ดังนั้นตลาดธุรกิจประเภทนี้เป็นอีกช่องทางที่ให้บัณฑิตที่สนใจสามารถเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการได้ แต่ต้องมีความต่อเนื่องของการจัดการศึกษาของหลักสูตร รวมทั้งการให้นักศึกษาเข้าสู่ระบบสหกิจศึกษา (CooperativeEducation) หรือ WIL (Work Integrated Learning) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นหรือความชัดเจนในเชิงการประกอบการก่อนเข้าสู่ระบบธุรกิจอย่างแท้จริง

การเรียนรู้จากพื้นที่จริง ณ โรงพยาบาลแสงอาทิตย์หลังสวน

ด้วยน้ำใจจากประชาชนทั่วประเทศทำให้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่โรงพยาบาลหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สำเร็จไปได้ด้วยดี ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลแล้ว ยังถือเป็นโอกาสดีที่น้องๆนักเรียน นักศึกษาจะได้มาร่วมเรียนรู้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่จริง

Solar Rooftop at Luang Suan Hospital in Thailand. © Greenpeace / Arnaud Vittet

นายแพทย์ศักดิ์สิทธิ์ มหารัตนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร

นายแพทย์ศักดิ์สิทธิ์ มหารัตนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลังสวน กล่าวว่า “การที่ทางโรงพยาบาลติดตั้งโซลาร์เซลล์และมีช่างของโรงพยาบาล นักเรียนอาชีวะ วิทยาลัยการอาชีพ นักเรียนจากการศึกษานอกโรงเรียนและคนในชุมชนสามารถที่จะเรียนรู้การติดตั้งและบำรุงรักษาได้เองนั้นบ่งชี้ถึงความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น และยังเป็นการต่อยอดประสบการณ์ การสร้างอาชีพและการเพิ่มศักยภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ สิ่งสำคัญคือ การที่คนในพื้นที่เรียนรู้จากโรงพยาบาลแสงอาทิตย์หลังสวนแล้วไปประชาสัมพันธ์ต่อหรือไปติดตั้งที่บ้าน ตลาด โรงเรียนและที่ทำงานก็จะทำให้เกิดการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น นอกจากลดค่าไฟฟ้าแล้วยังลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นสาเหตุสำคัญของโลกร้อนอีกด้วย 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สำคัญและสามารถไปสอนให้กับนักศึกษาสร้างอาชีพต่อและผลักดันให้เกิดวิสาหกิจชุมชนโซลาร์เซลล์ ชุมชนสามารถขายไฟฟ้าให้กับรัฐทั้งสร้างรายได้และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โรงพยาบาลแสงอาทิตย์หลังสวนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมจุดประกายประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขด้วย”

โรงพยาบาลหลังสวนขนาด 120 เตียงเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ มีแพทย์พยาบาลครบทุกสาขา โรงพยาบาลใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 6แสนบาท ปีละราว 8ล้านบาท ค่าไฟฟ้าที่จ่ายทุกเดือนถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่า หากทางโรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้จะทำให้โรงพยาบาลสามารถนำเงินปีละเกือบ10ล้านไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้น การเริ่มต้นติดโซลาร์เซลล์เริ่มต้น30กิโลวัตต์ประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ200,000บาท ทั้งนี้หากทางโรงพยาบาลจะลดค่าไฟฟ้าให้คุ้มจะต้องติดโซลาร์เซลล์บนหลังคา 300กิโลวัตต์

ทั้งนี้ ภายในปีนี้ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานจะสนับสนุนงบประมาณมาติดตั้งอีก 85 กิโลวัตต์ในปี2562นี้ จะทำให้โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ทั้งหมดปีละราว 6แสนบาท การให้แสงสว่างคือการให้ชีวิตเพื่อต่อลมหายใจผู้ป่วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม