All articles
-
ถ่านหิน: วิกฤตสุขภาพในเมียนมาร์
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศเมียนมาร์เป็นประเทศที่มีปริมาณมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ เมืองในอาเซียนที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงสุด 10 อันดับแรกนั้น คือเมืองในประเทศเมียนมาร์
-
รุ่งเรืองแล้วร่วงโรย 2560
กำลังผลิตของโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกที่กำลังพัฒนาโครงการนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและสภาวะทางเศรษฐกิจในจีนและอินเดีย
-
รายงานฉบับใหม่ระบุการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกลดลง จุดประกายต่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก
วอชิงตัน ดี ซี, 22 มีนาคม 2560- หลังจากที่โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งที่ 250 ในสหรัฐอเมริกาถูกปลดระวางไปเมื่อเร็วๆ นี้ เซียร่าคลับ(Sierra Club) กรีนพีซ และโคลสวอร์ม (CoalSwarm) ได้เปิดเผยผลสำรวจประจำปีฉบับที่ 3 ว่าด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนา ในรายงาน Boom and Bust 2017: Tracking The Global Coal Plant Pipeline โดยระบุว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างนั้น ลดลงร้อยละ 62 กิจกรรมก่อนการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกลดลงร้อยละ 48 และโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ที่ได้รับอนุญาตในจีนลดลงถึงร้อยละ 85
-
EIA-EHIA ถ่านหินฉบับรัฐบาล คสช.
การประกาศใบแดงให้กับ EHIA ในครั้งนี้สะท้อนถึงความล้มเหลวของการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA ครั้งแรกของประเทศไทยที่รัฐบาลยอมรับท่ามกลางการต่อสู้เพื่อปฎิรูปกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการขับเคลื่อนมายาวนานกว่า5ปี โดยที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐเพิกเฉยต่อข้อเสนอเหล่านั้นมาโดยตลอด
-
อัปยศ! วันที่ผู้นำประเทศไทยเลือกเดินหน้าถ่านหิน
หลังจากชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาชนขับเคลื่อนเพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่มาเป็นเวลากว่า 3 ปี ในที่สุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติให้เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่แล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนที่มารอฟัง ซึ่งไม่เห็นด้วยและกังวลต่อผลกระทบของโครงการ
-
โรงไฟฟ้าถ่านหินและระบบผูกขาดพลังงานของไทย
การสั่งเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่สะท้อนให้เห็นระบบผูกขาดพลังงานของประเทศอย่างเหนียวแน่นและยังอยู่ในภาวะยุคมืดอีกหลายปีนับจากนี้
-
“ถ่านหิน-ไฟฟ้า-ทรัพยากร” อะไรคือทางออกของปัญหา?
ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกต่างหันมาเดินหน้าเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุของวิกฤตโลกร้อนและภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ภาครัฐของไทยยังทำให้คนไทยรอคอยเก้อ
-
ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จากการลงทุนถ่านหินของบริษัทไทยในอินโดนีเซีย
เหมืองถ่านหินของบริษัทบ้านปูฯ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นรอยแผลที่บาดลึกและยากเกินจะเยียวยาของผู้คนในจังหวัดกาลิมันตัน อินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นการทำลายป่า การปนเปื้อนมลพิษในแหล่งน้ำและผืนดิน รวมไปถึงการละเมิดสิทธิชุมชน
-
ลาก่อนถ่านหิน! “พีบอดี” เหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลกล้มละลาย
โดมิโนชิ้นใหญ่ที่สุดล้มครืน สัญญาณเตือนแห่งทางตันของอุตสาหกรรมถ่านหิน
-
การแย่งยึดน้ำครั้งใหญ่
ทรัพยากรน้ำจืดโลกที่กำลังลดลงอย่างรวดเร็วมีแนวโน้มร่อยหรอลงอย่างต่อเนื่องหากแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่หลายร้อยแห่งทั่วโลกยังคงเดินหน้าซึ่งเป็นแรงกดดันต่อสภาวะภัยแล้งที่รุนแรงและการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ