All articles
-
ภูเขาขยะ โรงไฟฟ้าขยะ และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ไทยจะมุ่งหน้าสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร ในเมื่อทิศทางพลังงานของประเทศยังมุ่งเน้นไปที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้นยังมุ่งการจัดการขยะด้วยการเผา?
-
แถลงการณ์ของมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ และกรีนพีซ ประเทศไทยกรณีการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายจากโรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ของบริษัทอินโดรามา
กรีนพีซจี้ อินโดรามาเปิดรายชื่อสารเคมีที่รั่วไหลพร้อมมาตรการเยียวยาประชาชน ย้ำภาครัฐต้องออกกฎหมายควบคุมมลพิษ PRTR
-
ทำไมต้องมีกฎหมายว่าด้วยการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR) ในประเทศไทย
แม้ว่าเราแทบจะไม่รู้เลยว่า มีสารมลพิษชนิดใดบ้างที่ปล่อยออกสู่ดิน น้ำ อากาศ มีสารมลพิษชนิดใดบ้างที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เรากิน อากาศที่เราหายใจ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และสารมลพิษดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างไร แต่ทำไมต้องมีกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR) ของประเทศ บทความนี้มีคำตอบ
-
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรีนพีซ ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายภาคประชาชนยื่นริเริ่มร่างกฎหมาย PRTR ภาคประชาชนต่อประธานรัฐสภา
ตัวแทนจากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรีนพีซ ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เดินทางไปที่สัปปายะสภาสถาน เพื่อยื่นริเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…. (PRTR) ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อดำเนินการรวบรายชื่อ 10,000 รายชื่อในการเสนอร่างกฎหมายภาคประชาชนเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติของรัฐสภา
-
มองการชะลอใช้ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ใหม่ของไทย : หน่วยงานรัฐซื้อเวลาให้ภาคอุตสาหกรรม ขณะที่สุขภาพคนไทยเอาไว้ก่อนได้?
อ่านข่าวดีประเด็นฝุ่น PM2.5 ที่มาพร้อมข่าวร้าย มองการชะลอใช้ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ใหม่ของไทย : หน่วยงานรัฐซื้อเวลาให้ภาคอุตสาหกรรม ขณะที่สุขภาพคนไทยเอาไว้ก่อนได้?
-
อำนาจนิยมที่ไม่นิยมกฎหมาย PRTR
กระบวนการตรวจสอบโรงงาน-ความปลอดภัย ช่องโหว่ของกฎหมายโรงงานอุตสาหกรรม และความจำเป็นต้องมีกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register: PRTR)
-
ผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย หมิงตี้เคมิคอลต้องจ่ายเท่าไหร่ !?!
“เหตุการณ์นี้เหมือนเดจาวู ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วในอนาคตก็จะเกิดอีก” ดร.สมนึก จงมีวศิณ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch) เริ่มต้นการพูดคุยในเวทีเสวนา “#ผนงรจตกม: ปัดตกกฎหมาย! ผู้ก่อมลพิษไม่ต้องจ่าย?” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม EEC Watch และกรีนพีซ ประเทศไทย จากกรณีการระเบิดและอุบัติภัยเพลิงสารเคมีจากถังเก็บโพลีสไตรีน(polystyrene) และเพนเทน(pentane) ซึ่งเป็นสารเคมีตั้งต้นในการผลิตโฟม EPS (Expandable Polystyrene)ของ บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ในเครือ Ming…
-
เอกสารประกอบเวทีสาธารณะออนไลน์ #ผนงรจตกม : ปัดตกกฎหมาย! ผู้ก่อมลพิษไม่ต้องจ่าย?
เอกสารและ Presentation ประกอบจากเวทีเสวนาออนไลน์ Live Stream เวทีสาธารณะออนไลน์ “#ผนงรจตกม : ปัดตกกฎหมาย! ผู้ก่อมลพิษไม่ต้องจ่าย?”
-
แถลงการณ์ กรีนพีซ ประเทศไทย อุบัติภัยอุตสาหกรรมในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการและความจำเป็นของกฏหมาย PRTR ในประเทศไทย
“เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นอีกครั้งหนึ่งในจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนที่สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเผชิญกับอุบัติภัยสารเคมีร้ายแรง”
-
อุบัติภัยอุตสาหกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : สิทธิการรับรู้และความจำเป็นของกฎหมาย PRTR ในประเทศไทย
สังคมไทยเดินทางผ่านวิกฤตการพัฒนาอุตสาหกรรมมาหลายทศวรรษแล้ว ทำเนียบการปลดปล่อยและการเคลื่อนย้ายมลพิษควรต้องทำให้ครอบคลุมทั้งประเทศ และเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นธรรม และการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม