ปฏิวัติพลังงานบนหลังคา
ผลักดันโซลาร์รูฟท็อปสู่หลังคาครัวเรือน หนุนมาตรการ net-metering และเพิ่มโอกาสการจ้างงาน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เป็นธรรมหลังวิกฤตโรคระบาด

เพื่อจะชะลอการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ป้องกันเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ เราจำเป็นต้องปฏิวัติพลังงานสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน
กรีนพีซ ประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและพลังงานได้เสนอข้อเสนอการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยด้วยการ “ปฏิวัติพลังงาน 1 ล้านหลังคาเรือน ภายใน 3 ปี” นั่นคือการนำเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์เข้ามาติดตั้ง บนหลังคาครัวเรือน โรงเรียน และโรงพยาบาล โดยคาดหวังว่าพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยไปพร้อม ๆ กับการชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อเรา
ข้อเสนอ ‘ปฎิวัติพลังงานบนหลังคา’ ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ได้ 1 ล้านหลังคาเรือน
เกินกว่าร้อยละ 90 ของการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเป็นแบบโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ แทนที่จะเป็นหลังคาบ้านสำหรับที่อยู่อาศัย ทั้งๆ ที่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ผู้บริโภคสามารถผลิตไฟฟ้าจากหลังคาบ้านตนเองได้แล้ว สามารถลดจำนวนเงินที่เคยไหลออกอย่างเดียวให้ลดลงได้ หรือถ้าดีกว่านี้อีกก็สามารถทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋าตนเองได้ด้วย จนมีการกล่าวกันว่า ผู้บริโภค หรือ consumer ได้กลายเป็น “prosumer” แล้ว
นโยบายการสนับสนุนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ง่ายที่สุด ลงทุนน้อยที่สุด ไม่ต้องซื้อมิเตอร์เพิ่มเติม ไม่ต้องติดอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน และไม่ต้องซื้อแบตเตอรี่ ก็คือ นโยบาย “net – metering” คือการอนุญาตให้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ (ในตอนกลางวันซึ่งเจ้าของบ้านส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้าน) สามารถไหลเข้าสู่สายส่งได้ก่อน และในเวลากลางคืน (เจ้าของบ้านกลับมา) ไฟฟ้าจากสายส่งก็ไหลกลับเข้าบ้าน เมื่อครบเดือนก็คิดการใช้สุทธิ (net) ตามที่ปรากฏในมิเตอร์
ปัจจุบัน หลายประเทศได้นำนโยบาย net-metering ไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย ปากีสถาน และ เคนยา เป็นต้น แต่ประเทศไทยเรายังไม่นโยบายนี้เลย นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในบ้านเรือนมากกว่า 10 ปี แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคหลายประการในการติดตั้ง จนทำให้ระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟท็อป ในประเทศไทยมีความคืบหน้าช้ามาก
ร่วมผลักดันรัฐบาลนำงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้ครัวเรือน 1 ล้านหลัง โรงพยาบาล 8,170 แห่ง และโรงเรียน 31,021 แห่งทั่วประเทศภายในเวลา 3 ปี (พ.ศ.2564-2566) ด้วยมาตรการ Net Metering
มาตรการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป (Net Metering)
มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป (Net Metering) คือ ระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เองจากโซลาร์เซลล์บนหลังคากับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้ว
-
ข้อเรียกร้องของ กรีนพีซ ประเทศไทย ต่อโครงการ Carbon Capture and Storage ที่แหล่งอาทิตย์
โครงการ Carbon Capture and Storage(CCS) นอกชายฝั่งกำลังถูกผลักดันในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ในช่วงกลางปี 2566 บริษัทและรัฐบาลต่างๆ ประกาศแผนการก่อสร้างโครงการ offshore CCS มากกว่า 50 แห่งทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือโครงการ CCS ที่แหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย จนถึงปัจจุบัน ประสบการณ์ทั่วโลกในเรื่อง offshore CCS นั้นมาจากโครงการเพียง 2 โครงการในนอร์เวย์ ซึ่งประสบปัญหาที่คาดเดาไม่ได้ แม้จะมีการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่ายและมีขนาดเล็ก ก็พิสูจน์ความซับซ้อนของ offshore CCS และทำให้เกิดความกังวลอย่างจริงจังถึงโครงการ CCS ที่มีขนาดและขอบเขตที่ใหญ่ขึ้น
-
ข้อเสนอของ “กรีนพีซ” ว่าด้วยปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ที่มาจากการเลือกตั้ง”
เมื่อพิจารณาถึงปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยวิเคราะห์ช่องทางและความเป็นไปได้ตามอํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารที่ดําเนินการได้ผ่านกระบวนการบริหารจัดการ การจัดสรรงบประมาณและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร กรีนพีช ประเทศไทย มีข้อเสนอในทางปฏิบัติทั้งหมด 4 ด้าน
-
ข้อเสนอฉบับย่อของ “กรีนพีซ” ว่าด้วยปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ที่มาจากการเลือกตั้ง”
ข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goals) สำหรับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่
-
ปลดระวางถ่านหินเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทย
การปลดระวางการลงทุนในถ่านหิน (coal divestment) เป็นแนวทางที่ดำเนินการทั่วโลก เนื่องจากการตระหนักถึงพิษภัย และความเสี่ยงในการเกิดปรากฏการณ์โลกร้อนแบบที่ไม่มีจุดวกกลับ ประเทศไทยในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลก จึงมีส่วนสำคัญในการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อความยั่งยืนของลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไปในการดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข
กองทุนแสงอาทิตย์
กองทุนแสงอาทิตย์ซึ่งกรีนพีซร่วมเป็นหนึ่งในเครือข่าย เกิดขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายภาคประชาสังคมที่หลากหลายทั้งด้านผู้บริโภค การพัฒนาเด็ก สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อระดมทรัพยากรติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ทำงานรณรงค์ผลักดันให้เกิดขยายตัวของระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาในระดับครัวเรือน หน่วยงานและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน และภาคธุรกิจ บนพื้นฐานของการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปพลังงานโดยการลงมือทำจริงในพื้นที่เป้าหมายและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานหมุนเวียน
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน