All articles by รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์
-
เสียงของคนตัวเล็กที่หายไปของปัญหาไฟป่า
ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดนั้นได้สร้างข้อถกเถียงและข้อกล่าวหาว่า ชาวบ้าน คนบนดอย คนหาของป่าล่าสัตว์นี่แหละคือผู้ร้ายตัวการมือเผา แม้แต่ทางรัฐบาลเองก็ยังเสนอให้เปลี่ยนชื่อ “เห็ดเผาะ” เป็น “เห็ด PM2.5” ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นหากเห็ดเผาะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ชาวบ้านเก็บขายได้สูงเช่นนั้น ทำไมการส่งออกติดอันดับหนึ่งของเอเชียจึงเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ ไม่ใช่เห็ดเผาะ
-
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) คืออะไร และทำไมจึงเป็นทางออกของวิกฤตฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ หรือ traceability คือกลไกที่สำคัญมากสำหรับสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภคและทุกคนที่อาจได้รับผลกระทบจากห่วงโซ่อุปทานการผลิตของสินค้า ว่าแต่ละขั้นตอนการผลิตนั้นเกี่ยวโยงกับการก่อมลพิษและการทำลายสิ่งแวดล้อมรูปแบบใดหรือไม่ เช่น การทำลายป่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิเกษตรกร แรงงานทาส หรือสิทธิต่อการมีอากาศที่ดีสำหรับหายใจของประชาชนในพื้นที่ และการเปิดเผยข้อมูลจากการตรวจสอบย้อนกลับอย่างโปร่งใสนี้ คือภาระการพิสูจน์ความจริงที่บริษัทอุตสาหกรรมจะต้องทำ
-
ป่าไม้ จิตวิญญาณ และความเป็นผู้นำหญิงปกาเกอะญอของแม่หลวงหน่อแอ่ริ
ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นผู้นำหญิง หรือ “แม่หลวง” ในชุมชนปกาเกอะญอ ในบทสัมภาษณ์นี้กรีนพีซจะพาไปสำรวจความคิดของ หน่อแอ่ริ ทุ่งเมืองทอง ถึงความเป็นหญิงและบทบาทผู้นำชนพื้นเมืองท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งวิกฤตโลกร้อนและนโยบายของประเทศและโลกที่ยังไม่ได้ยอมรับสิทธิของผู้หญิงและชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียม
-
BCG และการชดเชยคาร์บอนด้วยป่าไม้: นโยบายโลกร้อนเพื่อใคร?
ส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ BCG แย่งยึดอะไรที่คำป่าหลาย: นโยบายฟอกเขียวในนามความยั่งยืน หรือการแย่งยึดแผ่นดินราษฎร คือเวทีเสวนาที่ชวนตัวแทนจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตัวแทนชุมชนผู้ได้รับผลกระทบ และนักวิชาการ มาร่วมกันถกในประเด็นโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มาพร้อมกับกลไกตลาดคาร์บอน (Carbon Market) ที่เอื้อให้บริษัทอุตสาหกรรมซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้ได้ แต่ข้อกังวลของชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและภาคประชาสังคมคือ การลิดรอนสิทธิมนุษยชนอันเกิดมาจากการแย่งยึดที่ดิน
-
การฟ้องคดีฝุ่นภาคเหนือและความคาดหวังของคนเหนือต่ออำนาจตุลาการ: บทสัมภาษณ์ทีมทนายผู้ฟ้อง
ก่อนที่ศาลปกครองจะตัดสินคดีความ กรีนพีซอยากชวนมาพูดคุยถึงประเด็นนี้อีกครั้ง กับสองตัวแทนทีมทนายประชาชนชาวเหนือ—กรกนก วัฒนภูมิ และ วัชลาวลี คำบุญเรือง
-
ปรัตถกร จองอู : บทสนทนาว่าด้วยความไม่เป็นธรรมทางสัญชาติของคนชาติพันธุ์และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้อเท็จจริงของปัญหาเรื่องฝุ่นพิษและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นไม่ใช่แค่วิถีการทำเกษตรจากประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ บนพื้นที่ภูเขา แต่เงื่อนไขที่ผลักดันให้คนบนดอยต้องพึ่งพารายได้จากการปลูกข้าวโพดนั้นเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมที่เรื้อรังมายาวนานและตอกย้ำความไม่เป็นธรรมทางสิทธิมนุษยชน
-
นิทรรศการHazilla ปีศาจฝุ่นร้ายข้ามพรมแดนจากการลงทุนข้ามแดน
ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนดูจะเป็นสิ่งที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญร่วมกัน มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบฝุ่นพิษข้ามแดน
-
กฎหมายที่ขาดหายไปใต้ฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
กว่า 15 ปีที่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนต้องทนกับฝุ่นพิษที่ปกคลุมทั่วภูมิภาคเป็นเวลาหลายเดือนทุกช่วงต้นปี จนเกิดทัศนคติหลากหลายวาทกรรมที่สร้างให้คนบนดอยและเกษตรกรเป็นจำเลยผู้ก่อมลพิษของสังคม
-
ไข่ครึ่งซีก ความจนในระบบอาหารตามนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก”
เรื่องราวของไข่ครึ่งซีกที่ต้องแบ่งกันกินในบ้านของข้าวปุ้นจากเนื้อหาของแบบเรียนภาษาไทยชั้นป.5 นอกจากรัฐจะทำให้ความจนเป็นความโรแมนติกแล้ว อีกมุมมองหนึ่ง หากมองเรื่องความยากจนและการขาดแคลนอาหารในกรณีนี้สามารถสะท้อนถึงปัญหาการผูกขาดของการผลิตอาหารภายใต้ระบบอาหารเชิงอุตสาหกรรม ที่รัฐยังไม่เคยลงมือแก้ปัญหาแต่กลับยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำนี้
-
Carbon Foodprint มองอาหารผ่านการผลิตและการกินของ รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล
ภาคเหนือตอบนของไทยเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่ออุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เป็นระยะเวลาเกือบสองทศวรรษ ทั้งมลพิษข้ามพรมแดนที่คุกคามสุขภาพ และป่าไม้ที่สูญเสียไปเพื่อเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งการผลิตเนื้อสัตว์ของไทยนั้นนอกจากเลี้ยงคนในประเทศแล้ว ยังมีสัดส่วนในการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ไปยังตลาดโลกเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ความหมายของการกินและการผลิตของไทยเป็นอย่างไร เราได้ชวน รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล มาพูดคุยถึงอาหาร ที่มากกว่าความอิ่ม แต่หมายถึงคาร์บอนฟุตปรินท์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ