โตเกียว, 4 มีนาคม 2564 – เดือนนี้เป็นวาระครบรอบ10ปีหายนะจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ กรีนพีซเผยแพร่รายงาน  2 ฉบับ ว่าด้วยผลพวงที่เกิดขึ้นอย่างสลับซับซ้อนหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และสึนามิ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554

รายงานฉบับแรก ‘ฟุกุชิมะ ปี2554 -2563’ (Fukushima 2011-2020) กล่าวถึงระดับรังสีนิวเคลียร์ในหมู่บ้านอิทาเตะ และ หมู่บ้านนามิเอะ จังหวัดฟุกุชิมะ สิ่งที่เราค้นพบคือความพยายามในการฟื้นฟูพื้นที่จากการปนเปื้อนรังสีมีข้อจำกัด และร้อยละ 85 ของพื้นที่ที่ต้องมีการฟื้นฟูเป็นพิเศษยังปนเปื้อนรังสีอยู่

ในรายงานฉบับที่สอง “การปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ จากแผน A เป็นแผน B และจากแผน B เป็นแผน C” ได้วิพากษ์แผนการปลดระวางฉบับทางการภายใน 30-40 ปี นั้นซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

“รัฐบาลคณะต่างๆ ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลของนายชินโซะ อาเบะได้พยายามเผยแพร่มายาคติของหายนะภัยนิวเคลียร์ และหลอกลวงประชาชนโดยนำเสนอประสิทธิภาพของแผนการฟื้นฟูการปนเปื้อนรังสีแบบผิดๆ รวมถึงเพิกเฉยความเสี่ยงจากรังสีนิวเคลียร์” ชวน เบอร์นี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านนิวเคลียร์นิวเคลียร์อาวุโส กรีนพีซ เอเชียตะวันออก กล่าว

เบอร์นียังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นยังอ้างว่าพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิจะกลับฟื้นคืนสภาพเดิมภายในกลางศตวรรษนี้แต่คำพูดลอย ๆ ที่ไม่เป็นจริงของรัฐบาล และ บริษัท เทปโก (TEPCO) มานานกว่า 10 ปีควรจบลงได้แล้ว แผนปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฉบับใหม่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทำไมเรายังต้องมาเสียเวลากับเรื่องเพ้อฝันกับแผนเดิมที่เป็นไปไม่ได้นี้อีก”

ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีกลุ่มแรกของกรีนพีซได้เดินทางไปยังจังหวัดฟุกุชิมะ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 และทำการวิจัย 32 กรณีเกี่ยวกับผลทางรังสีวิทยาที่เกิดจากหายนะภัยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน2563 ข้อค้นพบที่สำคัญของรายงาน Fukushima 2011-2020 มีดังนี้:

  • กรีนพีซ พบว่าพื้นที่กว่า 840 ตารางกิโลเมตรที่เป็นเขตฟื้นฟูการปนเปื้อนรังสีเป็นพิเศษ(SDA) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลยังคงเต็มไปด้วยรังสีซีเซียม
  • ผลการวิเคราะห์จากข้อมูลของรัฐบาลแสดงให้เห็นว่ามีเพียงร้อยละ 15ของเขตฟื้นฟูการปนเปื้อนรังสีเป็นพิเศษได้รับการฟื้นฟู
  • รัฐบาลญี่ปุ่นไม่กำหนดกรอบเวลาว่าเป้าหมายการฟื้นฟูในระยะยาวเพื่อให้รังสีอยู่ในระดับ 0.23 ไมโครซีเวอร์ต่อชั่วโมง (μSv / h)ในพื้นที่ต่างๆ จะประสบผลเมื่อใด ประชาชนจะต้องได้รับรังสีในระดับที่เกินกว่า 1 ไมโครซีเวอร์ต่อปี (mSv / y)  ไปอีกหลายสิบปี
  • ในพื้นที่ทีมีการยกเลิกคำสั่งอพยพออกในปี 2560 โดยเฉพาะในหมู่บ้านนามิเอะและอิทาเตะ ระดับรังสียังคงเกินค่าความปลอดภัย  และประชาชนอาจเพิ่มความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง การยกเลิกแผนอพยพออกจากพื้นที่นั้นไม่อาจยอมรับได้จากมุมมองด้านสาธารณะสุข
  • จนถึงปี2561 มีการจ้างงานหลายหมื่นคนเพื่อทำงานในเขตฟื้นฟูการปนเปื้อนรังสีเป็นพิเศษจากข้อมูลสำรวจของกรีนพีซ [1] คนงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างรับเหมาช่วงและมีค่าตอบแทนต่ำต้องเสี่ยงกับรับรังสีภายใต้แผนการฟื้นฟูพื้นที่ที่มีข้อจำกัดและไร้ประสิทธิภาพ

ข้อค้นพบสำคัญในรายงานการปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ [2] ได้แก่

  • ไม่มีแผนการที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเศษเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ตกค้างอยู่หลายร้อยตันด้านในและด้านใต้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งสามจำเป็นต้องมีการทบทวนแผนการนี้อย่างถึงรากถึงโคน
  • หากไม่มีวิธีการใหม่ น้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นเตาปฏิกรณ์และการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน และการสะสมของน้ำในถังเก็บบรรจุ จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต  รวมถึง
  • วัสดุที่ปนเปื้อนรังสีทั้งหมดควรอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าอย่างไม่มีกำหนด หากเก็บกู้เศษเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ออกมา ก็ยังต้องเก็บในเขตโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิเช่นเดิมและเป็นสถานที่เก็บกากนิวเคลียร์ในระยะยาว
  • แผนปลดระวางใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงในระยะเวลา 30-40 ปี เพื่อทำให้พื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลับมาเหมือนเดิม

กรีนพีซเสนอให้ทบทวนแนวทางและแผนการใหม่ในระดับรากฐานเพื่อปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ รวมถึงให้ชะลอการย้ายเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมละลายออกไปจากโรงไฟฟ้าอีก 50-100 ปี  หรือนานกว่านั้น พร้อมกับมีการก่อสร้างอาคารคลุมกักเก็บที่ปลอดภัยในระยะยาว การเสริมโครงสร้างตัวคลุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชั้นแรกจะต้องใช้เป็นแนวป้องกันที่ไม่สมบูรณ์แนวแรก และใช้อาคารเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เป็นแนวป้องกันที่สองในระยะกลางและระยะยาว  ในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่จะช่วยทำงานแทนแรงงานคน โดยเฉพาะกับงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสรังสี

เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของน้ำปนเปื้อนรังสี ควรเปลี่ยนการหล่อเย็นเศษเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จากการใช้น้ำเป็นการใช้อากาศ  พื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ต้องเป็น ‘พื้นที่แห้ง’  ที่ตัดขาดจากน้ำใต้ดินพร้อมกับการสร้างคูน้ำล้อมรอบ

ลิงก์รายงานฉบับเต็ม

หมายเหตุ

[1] รายงานของกรีนพีซ ญี่ปุ่นเรื่อง “On the Frontline of the Fukushima Nuclear Accident: Workers and Children Radiation risks and human rights violations”, March 2019

[2] Report commissioned by Greenpeace from a consulting nuclear engineer, formerly with General Electric including at the Fukushima Daiichi reactors, Mr. Satoshi Sato.

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

Shaun Burnie, Senior Nuclear Specialist, Greenpeace East Asia
[email protected] – +44790 4958286

Mitsuhisa Kawase, Senior Communications Officer, Greenpeace Japan
[email protected] – +81 (0)70-3195-4165

Greenpeace International Press Desk
[email protected], – +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)

โต๊ะข่าว กรีนพีซ สากล
อีเมล [email protected] โทร.  +31 (0) 20 718 2470 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ ประเทศไทย
อีเมล [email protected] โทร. 081 929 5747