บากู, อาเซอร์ไบจาน, 18 พฤศจิกายน 2567 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกรีนพีซ สากล และ Stamp Out Poverty แสดงให้เห็นว่าการเก็บภาษีเพียงเล็กน้อยจากบริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซรายใหญ่สุดเพียง 7 แห่ง สามารถทำให้กองทุนเพื่อการชดเชยค่าความสูญเสียและความเสียหายขององค์การสหประชาชาติเติบโตขึ้นมากว่า 2,000 % และสามารถช่วยเหลือค่าใช้จ่ายหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วได้ ซึ่งกรีนพีซ สากล และ Stamp Out Poverty เรียกร้องให้มีการเก็บภาษีระยะยาวจากอุตสาหกรรมขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเพิ่มอัตราภาษีทุกปี รวมกับภาษีจากกำไรส่วนเกิน และการจัดเก็บภาษีอื่น ๆ [1][2]

  • การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิล ของ ExxonMobil ในปี 2566 สามารถจ่ายค่าความเสียหายจากพายุเฮอริเคนเบอริล ได้ถึงครึ่งหนึ่งจากค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
  • การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิลจาก เชลล์ (Shell) ในปี 2566 สามารถจ่ายค่าความเสียหายจากพายุเฮอริเคนคาริน่า ได้เกือบทั้งหมด
  • การเก็บภาษีจากการขุดเจาะก๊าซฟอสซิลจากโททาลเอนเนอร์ยีส์ (TotalEnergies) ในปี 2566 สามารถจ่ายความเสียหายจากน้ำท่วมในเคนยาปี 2567 ได้มากถึง 30 ครั้ง

 เดวิด ฮิลล์แมน ผู้อำนวยการ Stamp Out Poverty กล่าวว่า

“ในขณะที่บริษัทขุดเจาะน้ำมันและก๊าซยักษ์ใหญ่ยังคงทำกำไรอย่างมหาศาลจากการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ความเสียหายจากการดำเนินงานของอุตสาหกรรมฟอสซิลนี้กลับตกไปเป็นภาระของผู้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดวิกฤต ทั้งนี้การเก็บภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับภาษีอื่น ๆ สำหรับอุตสาหกรรมฟอสซิล และภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง จะทำให้ผู้ก่อมลพิษต้องจ่ายค่าความเสียหายและความสูญเสียที่เกิดจากผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสนับสนุนคนงานและชุมชนที่ได้รับผลกระทบในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด ซึ่งรวมถึงการจ้างงาน  และระบบการขนส่ง”

องค์กรต่าง ๆ เน้นย้ำถึงค่าความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ได้แก่ พายุเฮอริเคนเบอริล พายุเฮอริเคนเฮเลน คลื่นความร้อนในอินเดียในเดือนพฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นคารินา/แกมี อุทกภัยในบราซิลในเดือนพฤษภาคม และอุทกภัยในเคนยาและแทนซาเนียในเดือนเมษายน[4] ซึ่งการวิเคราะห์พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วเพียงอย่างเดียวมีค่าความสูญเสียและเสียหายรวมมูลค่า 64,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ค่าความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นคารินามีมูลค่าประมาณ 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากคลื่นความร้อนในอินเดียมีมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ค่าความสูญเสียและเสียหายเหล่านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวของความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงขนาดของความเสียหายที่เกิดจากบริษัทอุตสาหกรรมฟอสซิลที่เป็นพลังงานสกปรก การวิเคราะห์ข้อมูลยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (CDT) เริ่มต้นเก็บในปีแรกที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1 ตันที่ปล่อยออกมาจากขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ[4] ซึ่งบริษัทอุตสาหกรรมฟอสซิลทั้ง 7 แห่งที่ปรากฏในรายงานการวิเคราะห์นี้ ได้แก่ ExxonMobil, Shell, Chevron, TotalEnergies, BP, Equinor และ ENI  ในปี 2566 มีรายได้รวมกันเกือบ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลระบุว่า การเพิ่มอัตราภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็น 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันต่อปี บวกกับอัตราเงินเฟ้อ จะสามารถระดมเงินเข้ากองทุนฯได้หลายแสนล้านดอลลาร์ภายในสิ้นทศวรรษนี้ 

ภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่จัดเก็บในประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ร่ำรวย หรือ OECD อาจมีบทบาทสำคัญในการจัดหาเงินทุนเพื่อการดำเนินการด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การเก็บภาษีนี้จะเพิ่มขึ้นปีละ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำมันและก๊าซที่ขุดเจาะได้ และอาจระดมเงินเข้ากองทุนได้ประมาณ 9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 เพื่อเป็นการช่วยเหลือรัฐบาลและชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและและกลุ่มเปราะบาง[5]

อับดุลลาย ดิยัลโล หัวหน้าโครงการรณรงค์ “หยุดเจาะ เริ่มจ่าย หรือ Stop Drilling Start Paying ” กรีนพีซ สากล กล่าวว่า

“ใครควรเป็นผู้จ่าย? นี่คือปัญหาพื้นฐานของความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ ถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนผู้รับภาระทางการเงินจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไปสู่ผู้ที่ก่อมลพิษ การวิเคราะห์ข้อมูลเผยให้เห็นขนาดของการสูญเสียและความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ  รวมทั้งความจำเป็นเร่งด่วนในการหาวิธีแก้ไขเพื่อระดมทุนในการแก้ปัญหานี้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกนำภาษีความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศและกลไกอื่น ๆ ที่สามารถนำรายได้จากอุตสาหกรรมฟอสซิลมาใช้”

การเรียกร้องให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เกิดขึ้นหลังจากการประท้วงติดต่อกันเป็นเวลาสองสัปดาห์ ซึ่งกรีนพีซได้มีการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุของเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ชำรุดเสียหาย ของบุคคลและชุมชน ไปยังสำนักงานของ TotalEnergies, Eni, Equinor และ OMV ซึ่งเป็นของที่ส่งมาจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและพายุทั่วโลก ซึ่งการประท้วงของกรีนพีซและผู้รอดชีวิตจากสภาพอากาศสุดขั้วในครั้งนี้ เกิดขึ้นในออสเตรีย, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, อิตาลี, นอร์เวย์, ฟิลิปปินส์, โรมาเนีย, แอฟริกาใต้ และสเปน”


ภาพถ่ายและภาพวิดีโอ ของเหตุการณ์สภาพอากาศที่นำเสนอในการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

หมายเหตุ

[1]กองทุนการสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) ได้รับการประกาศในการประชุม COP27 ที่อียิปต์ เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการชดเชยผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อไม่นานมานี้ กองทุนนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น กองทุนสำหรับการตอบสนองต่อการสูญเสียและความเสียหาย (Fund for Responding to Loss and Damage: FRLD) โดยขณะนี้มีเงินที่สัญญาจะบริจาคอยู่ที่ 702 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการคำนวณของกรีนพีซ สากลและ Stamp Out Poverty ภาษีความเสียหายจากสภาพอากาศที่เรียกเก็บจากบริษัทน้ำมันและก๊าซใหญ่ 7 แห่ง จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนได้ถึง 15.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีแรก ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่ได้รับการสัญญาจะบริจาคให้กับกองทุนปัจจุบันถึง 21 เท่า

[2] ราคาที่ต้องจ่าย: ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว7เหตุการณ์ในปี 2567  ชี้ให้เห็นเหตุผลว่าทำไมผู้ก่อมลพิษทางสภาพอากาศควรเป็นผู้จ่าย

[3] ภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพอากาศที่ประมาณการว่าจะต้องจ่ายโดยบริษัทน้ำมันและก๊าซที่ใหญ่ที่สุด 7 แห่ง โดยอ้างอิงจากข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2566 มีรายละเอียด ดังนี้

บริษัทน้ำมันและก๊าซรายได้ปรับปรุงในปี 2566 (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ประมาณการในปี 2566 ( ล้านตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
ประมาณการภาษีความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ต้องจ่ายจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2567 ที่อัตรา 5 ดอลลาร์
ExxonMobil38.6637.573.19
Shell28.3 460.172.30
Chevron24.7 507.242.54
TotalEnergies23.2411.922.06
BP13.8375.301.88
Equinor10.4343.311.72 
ENI9.2267.741.34
Totals148.20 3,003.2415.02

[4] Hurricane Helene | WWA; Typhoon Gaemi | WWA; Brazil floods | WWA; India’s heatwave | WWA; Kenya floods | WWA; Hurricane Beryl | Climate Central

[5]ภาษีความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศ (Climate Damages Tax) คือภาษีการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกใช้กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2-equivalent) จากทุกตันของถ่านหิน, บาร์เรลน้ำมัน หรือลูกบาศก์เมตรของก๊าซ ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า 100 องค์กร โดยมีการเรียกร้องให้เก็บภาษี โดยเพิ่มอัตราภาษีขึ้นทุกปี จากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนวิกฤตสภาพอากาศ ซึ่งรวมถึง ExxonMobil, Shell, TotalEnergies, BP, Chevron, Equinor และ Eni ซึ่งมีรายได้รวมในปี 2566 อยู่ที่ 148.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

[6] The Climate Damages Tax: A guide to what it is and how it works, Stamp Out Poverty, 2024, p. 7.

ติดต่อ

Tal Harris, Global Media Lead – Stop Drilling Start Paying campaign, Greenpeace International, +41-782530550, [email protected]

Greenpeace International Press Desk, +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours), [email protected]

Follow @greenpeacepress on X/Twitter for our latest international press releases