รายงาน “เสียงแห่งจะนะ” เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม โดยมีข้อมูลคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลฉากทัศน์ความเสี่ยงด้านผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านมลพิษทางอากาศ และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หากมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิดขึ้น รวมถึงผลลัพธ์จากกระบวนการเปิดพื้นที่รับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่มาจากการระดมความเห็นของประชาชนหลากหลายอาชีพ 

รายงานพบว่า ทะเลและชายฝั่งอำเภอจะนะมีสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจ และสำคัญต่อระบบนิเวศร้อยชนิด แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญสำหรับชาวประมงพื้นบ้าน และผู้มีอาชีพต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นความมั่นคงทางอาหารให้กับทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และต่างประเทศ 

ทั้งครั้วเรือนประมงพื้นบ้าน ครัวเรือนนกเขาและอาชีพต่อเนื่อง มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดสงขลา อาชีพเหล่านี้พึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของทะเล ชายฝั่ง และอากาศที่บริสุทธิ์ หากอาชีพเหล่านี้ต้องเปลี่ยนไปทำงานในโรงงาน พวกเขาอาจทำได้เพียงระดับแรงงานไร้ฝีมือเพราะมีระดับการศึกษาไม่สูงนัก และอาจทำให้รายได้ต่ำกว่าที่มีในปัจจุบัน 

ส่วนการคาดการณ์ผลกระทบจากการปลด ปล่อยมลพษิของโรงงานอุตสาหกรรม พบว่ามลพิษ
ท่ีสําคัญที่จะเกิดข้ึนหากมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะ มี 5 ชนิดด้วยกันคือฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10)ซัลเฟอรไ์ดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และปรอท มลพิษทั้งห้าชนิดนี้จะกระทบตอทั้งสุขภาพของคนทางร่างกาย จิตใจ และกระทบต่อประมง อาชีพเลี้ยงนก และเกษตรกรรม 

ขณะที่การสร้างท่าเรือน้ำลึก อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและอาชีพของชาวประมงอย่างมากในด้านต้นทุนการประกอบอาชีพที่จะสูงขึ้น และอาจทำให้มีการปรับหรือถมพื้นที่ชายฝั่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดจากการหมักหมมตะกอนจากฝุ่นเรือ ตะกอนจากการขุดลอกร่องน้ำ ตะกอนที่ถูกนำไปทิ้งกลางทะเล ซึ่งโลหะหนักที่อยู่ในตะกอนอาจสะสมในห่วงโซ่อาหารทะเล เสียงและความสั่นสะเทือนอาจกระทบต่อสิ่งมีชีวิต 

นอกจากการคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รายงานฉบับนี้ยังรวบรวมข้อเสนอที่สำคัญจากกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคืออาชีพประมง อาชีพเลี้ยงนกเขา และเยาวชนในพื้นที่ 

#SaveChana #Saveจะนะ #OceanJustice

ดาวน์โหลดรายงาน