เราสามารถปกป้องมหาสมุทรโลกร้อยละ 30 ภายในปี 2573

ทะเลหลวงคือทรัพยากรร่วมระดับโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 61 และมีปริมาตรร้อยละ 72 ของทะเลและมหาสมุทรของโลก

ทะเลหลวงครอบคลุมร้อยละ 43 ของพื้นผิวโลก และเป็นพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตอีกถึงร้อยละ 70 บนโลกที่รวมทั้งแผ่นดินและทะเล ทะเลหลวงหรือน่านน้ำสากลนี้เป็นแหล่งของความรุ่มรวยของสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศทางทะเลอันน่าอัศจรรย์ ด้วยความกว้างใหญ่ไพศาล มหาสมุทรโลกมีความสำคัญที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาวะของโลก

อย่างไรก็ดีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่สิ่งมีชีวิตถูกคุกคามด้วยผลกระทบจากกิจกรรมหลากหลายของมนุษย์ สิ่งนี้กระตุ้นให้เกิดการเจรจาครั้งประวัติศาสตร์โดย องค์การสหประชาชาติ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มการปกป้องและปฏิรูปการจัดการมหาสมุทรโลก

เขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเลคือเครื่องมือสำคัญที่จะปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยและสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ช่วยฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของมหาสมุทรให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อีกทั้งยังช่วยประคับประคองการบริการของระบบนิเวศ รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการออกแบบโครงข่ายของเขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเลที่ครอบคลุมทั่วโลก เพื่อกอบกู้วิกฤตที่มหาสมุทรกำลังเผชิญอยู่และเอื้อให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศมหาสมุทร ทั้งหมดพร้อมแล้วที่ลงมือทำ เหลือเพียงแต่เจตจำนงทางการเมืองเท่านั้น

การปกป้องมหาสมุทรร้อยละ 30 จะเป็นอย่างไร?

คณะนักวิทยาศาสตร์เรียกร้องให้ปกป้องมหาสมุทรของโลกอย่างน้อยร้อยละ 30 ให้เป็นเขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเลที่ปลอดภัยจากการตักตวงประโยชน์ของมนุษย์ จากแผนที่ https://www.greenpeaceoceanblueprint.org/ บริเวณสีส้มจะแสดงให้เห็นว่า เราสามารถปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลและระบบนิเวศอย่างน้อยในพื้นที่ร้อยละ 30 ของมหาสมุทรโลกได้อย่างไร

แนวทางการปกป้องที่เป็นได้ในรายงานนี้มาจากข้อมูลทางเศรษฐกิจสังคม ลักษณะทางชีวภูมิศาสตร์ สมุทรศาสตร์และชีววิทยา  เช่น การกระจายตัวของฉลาม วาฬ รอยแยกในทะเล ร่องลึก ปล่องความร้อน ร่องลึก กระแสน้ำ เขตชีวภูมิศาสตร์ บริเวณที่มีแรงกดดันจากกิจกรรมประมงพาณิชย์และพื้นที่ที่เป็นเป้าหมายของการทำเหมืองแร่ในทะเล

โครงข่ายของเขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเลนี้เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและความไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลอุณหภูมิผิวทะเลเพื่อระบุพื้นที่ที่มีแนวโน้มค่อยๆ เปลี่ยนแปลงหรือพร้อมปรับตัวกับแรงกดดันที่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในทะเล ทีมนักวิจัยยังหลีกเลี่ยงพื้นที่น่านน้ำที่มีการประมงเข้มข้นเพื่อลดความเป็นไปได้ที่จะทำให้กิจกรรมการประมงหยุดชะงักลง อย่างไรก็ดีเราเสนอให้มีการยุติการขุดแร่ใต้ทะเลชั่วคราวเพื่อให้แน่ใจว่าเรามีทางเลือกที่เปิดกว้างให้โครงข่ายเขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเลเกิดขึ้นจริง

อ่านหรือดาวน์โหลดรายงานได้โดยคลิกที่รูปภาพ หรือลิงก์ด้านล่าง

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม