“รัฐอาจพิจารณาการใช้ “การประเมินผลกระทบต่อสิทธิการเข้าถึงอาหาร” เพื่อบ่งชึ้ผลกระทบของนโยบาย และโครงการต่าง ๆ ที่จะมีต่อสิทธิการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่อ่อนไหว และควรนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการใช้มาตรการที่ถูกต้อง”
แนวทางการปฏิบัติด้านสิทธิการเข้าถึงอาหารตามคำแนะนำขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
อาหารไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต แต่อาหารนั้นเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวิถีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเกษตรกรรมเป็นหัวใจสำคัญอย่างไทย ดังนั้นสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงอาหารจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม แม้จะเกิดขึ้นกับสิ่งเล็ก ๆ อย่างเมล็ดพันธุ์ มิเช่นนั้นแล้ว คำกล่าวแต่โบราณอาจต้องเรียบเรียงเสียใหม่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว … และมีบริษัทครอบครองในทุกเมล็ดพันธุ์”
ทางแยกที่รัฐบาลจะต้องเลือกเดินหากเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ที่พ่วงมาพร้อมกับ อนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 คือ การตัดสินใจว่าจะให้น้ำหนักความสำคัญไปในทิศทางใด ระหว่างสิทธิในการเข้าถึงอาหารอย่างเป็นธรรมของประชาชน หรือผลประโยชน์คณานับของบรรษัทอาหารและเกษตรที่ครอบครองตลาดเพียงไม่กี่ราย
- เพราะเหตุใดการเข้าร่วม CPTPP จึงเป็นการผูกขาดเมล็ดพันธุ์
- “เมล็ดพันธุ์ไม่ใช่สินค้า แต่เมล็ดพันธุ์คือชีวิต” – โจน จันได
ประเด็นหลักของ UPOV 199 คือตัดสิทธิพื้นฐานของเกษตรกรในการเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อในฤดูกาลถัดไป มีโทษตามกฎหมาย บริษัทสามารถฟ้องร้องเอาผิดและสั่งปรับเกษตรกรได้ ความเหมาะสมของ UPOV 1991 นั้นออกแบบมาเพื่อระบบอาหารที่เน้นการรวมศูนย์และเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งวิถีเกษตรกรของประเทศไทยนั้นถูกขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรายย่อยนับล้าน ก่อร่างสร้างตัวจากการเก็บเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน คัดสรรตามภูมิปัญญา ส่งต่อและแบ่งปัน หากตัดสิทธิพื้นฐานนี้ไป เกษตรกรทุกราย แม้แต่คุณยายปลูกมะเขือขายที่ตลาดวันอาทิตย์ ก็จะจำเป็นจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัททุกครั้ง มิเช่นนั้นจะต้องเสี่ยงกับโทษอาญา
ครองเมล็ด ครองอาหาร
ก็แค่เมล็ดเล็ก ๆ ก็จ่ายเงินซื้อไป ไม่น่ามีปัญหาอะไร… จริงหรือ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ยังอยู่เหนือการครอบครองของบรรษัทอาหาร โดยร้อยละ 80 ของเมล็ดพันธุ์ในเอเชียนั้นยังมาจากเกษตรกรผู้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จากฤดูกาลก่อนไว้ปลูกต่อ (Grain, 2015) แต่บรรษัทยักษ์ใหญ่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบบนี้ เนื่องจากเมล็ดเล็ก ๆ ที่เป็นทรัพยากรที่ธรรมชาติมอบให้นั้น คือทรัพย์สินสร้างผลประโยชน์มหาศาล

ในช่วงระยะเวลาเพียง 20 ปี ระบบอาหารของโลกได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนลงของบริษัทอาหารและเกษตร ภาพรวมที่เกิดขึ้นของประเทศสหรัฐอเมริกาน่าจะชัดเจนที่สุด ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ร่วมอนุสัญญา UPOV ในปีพ.ศ.2524 และภายหลังปรับใช้อนุสัญญา 1991 ในพ.ศ.2542 ช่วงยุคปีพ.ศ. 2539 มีบริษัทเมล็ดพันธุ์อิสระราว 600 บริษัท โดยที่ 10 บริษัทใหญ่ถือครองตลาดเพียงร้อยละ 16.7 ของจำนวนเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปี จำนวนบริษัทได้ลดลงอย่างชัดเจน มีการรวมศูนย์การผลิตมากขึ้น ขณะเดียวกันที่ราคาของเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าแมลงก็สูงขึ้น เกษตรกรรายย่อยที่ทำรายได้จากธุรกิจในครอบครัวก็หายไป กลายเป็นลูกจ้างของบริษัทอาหารและเกษตร ไม่น่าแปลกใจที่ในปี 2559 ร้อยละ 75 ของเมล็ดในตลาดถูกครอบครองบริษัทยักษ์ใหญ่เพียง 10 บริษัท (seedcontrol.eu) และตัวเลขนี้กำลังลดลง
ปัจจุบันนี้ความมั่นคงทางอาหารของอเมริกากำลังอยู่ภายใต้อำนาจของบริษัทเพียงหยิบมือ มีเพียง 4 บริษัทเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า ‘The Big 4’ (หลังจากที่บริษัทไบเออร์ได้ซื้อมอนซานโต้เป็นที่เรียบร้อย) ซึ่งจำนวนบริษัทที่น้อยกว่านิ้วมือข้างเดียวนั้นครองตลาดเมล็ดพันธุ์โลกถึงร้อยละ 60 โดยที่ความหลากหลายของพืชพรรณก็ลดลง ร้อยละ 75 ของอาหารทั่วโลกมาจากพืชแค่ 12 ชนิด และสัตว์ 5 สายพันธุ์ (FAO, 1999)
การครอบครองของบริษัทอาหารและเกษตรตั้งแต่ต้นทางตลอดจนปลายทางของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ถึงผลผลิต และอาหารแปรรูป มอบโอกาสให้บริษัทสามารถกำหนดสายพันธุ์ในการปลูก ไปจนถึงรูปแบบการปลูก การเก็บเกี่ยว ตลอดจนราคาขาย การเป็นเจ้าของสิทธิบัตรและลิขสิทธิทางปัญญาทางเมล็ดพันธุ์และอาหารนั้นทำให้บริษัทมีอิทธิพลมากขึ้นต่อนโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และผลพวงที่ตามมาไม่ใช่เป็นเพียงยอดของพีระมิดทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรากฐานทางสังคม วิถีชีวิต และพื้นฐานสำคัญอย่างสิทธิในการเข้าถึงสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้กับทุกชีวิตบนโลกอย่างเท่าถึงกัน นั่นก็คือ เมล็ดพันธุ์
- การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือการส่งต่อมรดกชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
- บริษัทยักษ์ใหญ่กำลังครอบครองระบบอาหาร แต่เรายังมีหวังที่จะเปลี่ยนแปลง
การหายไปของบริษัทย่อยในสหรัฐอเมริกานั้น เป็นภาพสะท้อนของการครอบครองระบบอาหาร ความสมบูรณ์ทางระบบนิเวศที่สูญหายไป พันธุ์พืชที่ลดน้อยลง เกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถอยู่ได้ อธิปไตยทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพอาจเป็นสองคำที่ฟังเข้าใจยาก แต่สองสิ่งนี้คือความมั่นคงทางอาหารที่เราจะต้องสูญเสียไปอย่างถาวร เมื่อไม่มีสิทธิในเมล็ดพันธุ์ ย่อมไม่มีสิทธิในอาหารอย่างแท้จริง นี่คือจุดจบของสิทธิการเข้าถึงอาหาร เพราะเมล็ดพันธุ์นั้นคือจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารและอุปทานทั้งหมด
สิทธิในการเข้าถึงอาหาร คือสิทธิพื้นฐานของมนุษย์
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า สิทธิในการเข้าถึงอาหารนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวิธีการบริจาค แต่เป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน คือ การที่ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะอยู่ตามลำพังหรือกับผู้อื่นในชุมชน สามารถเข้าถึงอาหาร ทั้งด้านกายภาพและเศรษฐกิจ ได้ตลอดเวลา ซึ่งภาครัฐจะต้องเป็นผู้เอื้ออำนวย แน่นอนว่าความหมายในสิทธิมนุษยชนนี้ย่อมรวมถึงระยะสั้นและระยะยาว ก็คือความมั่นคงทางอาหารที่ประชาชนสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตัวเอง ตามวิถีชีวิตที่พึงมี ไม่ว่าจะเป็นในมุมของเกษตรกรผู้ผลิต หรือผู้บริโภค
ความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารจึงเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารได้ ไม่ว่าจะเป็นในภาวะเกิดผลกระทบจากโรคระบาด วิกฤตสภาพภูมิอากาศ หรือวิกฤตเศรษฐกิจ

การเข้ามาครอบครองของบริษัทนั้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาชีพเกษตรกรไปเป็นจ้างงานของบริษัท แต่ในระยะยาวนั้น การถูกริดรอนสิทธิในการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์นั้นทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ได้เป็นเจ้าของผลิตผลที่ปลูก ผืนดินที่ปลูก และจำเป็นจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ทวีคูณสุงขึ้น ผู้บริโภคเองก็จะมีทางเลือกทางการซื้อที่น้อยลง ท้ายที่สุดแล้ว การที่เมล็ดพันธุ์ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของบริษัทเกษตรและอาหารจะไม่เพียงเปลี่ยนสามารถเกษตรกรเป็นอาชญากร แต่อาจเป็นไปตามที่ ดร.วันทนา ศิวะ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวอินเดีย กล่าวไว้ว่า “เป็นทาสเมล็ดพันธุ์”
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนปลูก คนกิน หรือคนขาย เราควรมีสิทธิในการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์และอาหารที่หลากหลาย ความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารของคนหลายล้าน ไม่ควรจะตกอยู่ในมือของไม่กี่บริษัท ภายใต้การเอื้อประโยชน์ของ UPOV 1991

ที่มาและข้อมูลเพิ่มเติม
- FAO, ‘The Right to Food: Voluntary Guidelines’, 2005. http://www.fao.org/3/a-y7937e.pdf
- FAO, ‘What is Happening to Agrobiodiversity?’,1999. http://www.fao.org/3/y5609e/y5609e02.htm
- Seedcontrol.eu, ‘The not-so-free seed market’. http://seedcontrol.eu/seed-stories.php
- GRAIN, ‘Seed laws that criminalise farmers: resistance and fightback’, April 2015, https://www.grain.org/e/5142

ร่วมส่งเสียงบอกนายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรีให้ยุติการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ในทันที เพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกร ความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของไทย จากการครอบงำของบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย และบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของโลก
มีส่วนร่วม
Discussion
ไม่เห็นด้วยกับ CPTPP อย่างมาก ประชาขนส่วนมากเสียผลประโยชน์มากกว่าได้
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยครับ
ไม่เห็นด้วยอย่าโง่
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยกับcptpp
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างแรง
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างแรงค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยครับ
ไม่เห็นด้วยอย่างแรงค่า
ไม่เห็นด้วยอย่างมากสงสารเกษตรกรมากๆ
ไม่เห็นด้วยอย่างแรงค่ะ ก่อนจะเซ็นช่วยเห็นแก่ประชาชนกับเกษตรกรด้วยเถอะค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย ประชาชนเสียมากกว่าได้เยอะ
เห็นด้วยทุกคนควรได้เข้าถึงเมล็ตพัธุ์ ไมาถึงกับฟรีแต่ก็ไม่ควรแพง และสามารถเก็บๆว้ปลูกต่อได้
เอาหนี
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ ??
ไม่เห็นด้วยอย่างมากกับCPTPP ปปช.โคตรจะเสียผลประโยชน์เลย
ไม่เห็นด้วยค่ะ เป็นการเอืิอประโยชน์กับนายทุน ของแพง อะไรแพงขึ้น ส่งผลกระทบมากๆกับประชาชนค่ะ
ประชาชนเสียมากกว่าจริงๆ ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย อยากให้พิจารณาดีๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ทำแบบพออยู่พอกิน รายได้แค่เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง อีกอย่างภาครัฐยังไม่เข้าถึงการเกษตรได้ทั่วทุกภูมิภาคเลย ประชาชนบางส่วนยังขายสินค้าทางการเกษตรที่ราคาตกต่ำ มาพัฒนาส่วนนี้ก่อนดีมั้ย???
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยสุดๆ
ไม่สนับสนุนเพราะเป็นลูกหลานเกษตรกร ณ ตอนนี้ก็ต้องมีงบในการทำนาทำไร่แล้ว ทั้งค่าปุ๋ยค่ายา หากต้องมาซื้อพันธุ์พืชอีกก็จะยิงลำบากเพราะตอนนี้ก็ไม่พอกินแล้วว
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ประชาชนเสียมากกว่าได้อย่างมาก
ไม่เห็นด้วยครับเราปลูกเองครับ หน่วยงานใดก่ไม่มีสิทมาเอาของเรา ทำกินมาแต่เกิดไปเป็นของนายทุนได้ใด #ขอสาบคนที่คิดและพลักดัน
ไม่เห็นด้วย เมล็ดพันธุ์สำคัญกับชีวิต ประชาชนคนธรรมดาจะเอาอะไรไปสู่กับนายทุน กฎหมายที่ค้ำคอ สิทธิที่หายไปผลเสียที่ตาม ปัจุบันเมล็ดพันธุ์พืชก็แพงอยู่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการตัดแต่งพันธุกรรม พันธุ์ดั้งเดิมหายไป จริงอยู่ที่ว่าตัดแต่งพันธุกรรมอาจดีแต่ มันก็มีผลเสีย (ทาสการเกษตร.) ท่าคุณยังเห็นประชาชนธรรมดาสำคัญขอให้ยกเลิก *** คุณพร้อมตายหรือยัง***
ไม่เห็นด้วย ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงเมล็ดพันธุ์
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยเพราะไม่ได้เป็นการช่วยเหลือประชาชนแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของนักธุรกิจ และนักการเมืองเท่านั้น
ไม่เห็นด้วยสุดๆมีแต่เสียกับเสีย
เป็นการเอาเปรียยปชช
ไม่เห็นด้วยอย่างแรง
ไม่เห็นด้วย
ไม่เอาไม่สนับสนุน
ไม่ด้วยเป็นอย่างมาก
ไม่เห็นด้วยอย่างมาก เพราะประเทศไทยเป็นเมืองเกษตร
ไม่เอา
ไม่เห็นด้วยเลยค่ะ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เหนด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยครับ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยกับ CPTPP อย่างมากค่ะ อะไรคือผลประโยชน์ของประชาชน ?
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยขอคัดค้านค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยเลยทั้งๆที่เราสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์พัฒนาสายพันธุ์ของเราได้เองแล้วทำไมต้องไปซื้อด้วยล่ะชาวสวนไทยแม่งเก่งจะตายลองคิดเล่นๆดูนะว่าการที่เราต้องซื้อเมล็ดพันธ์มันทำให้เพิ่มต้นทุนในการผลิตเมื่อต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแน่นอนราคาผลผลิตก็จะสูงขึ้นด้วยเมื่อผลผลิตจากชาวสวนสูงขึ้นก็ส่งผลถึงผู้ที่แปลรูปเช่นร้านอาหารหรือโรงงานแปลรูปต่างๆทำให้ราคาขายสูงขึ้นหรืออาจจะได้ปริมาณที่น้อยลงมันก็จะส่งผลถึงผู้บริโภคทำให้ใช้รายจ่ายในแต่ละวันสูงขึ้นและเราก็จะตายเพราะไม่มีอะไรจะกิน55555สู้ๆครับกับความโง่ของพวกเขา
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยครับ
#NoCPTPP
-
ไม่เห็นด้วย ??ในเมื่อประเทศเราเป็นประเทศที่ผลิตอาหาร ข้าว/ผลไม้ จะไปเป็นทาสทำไม
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่มีวันจะเห็นด้วย ประชาชนเสียสุดๆๆ
รัฐบาลเห็นแก่ตัว
ไม่เห็นด้วยเพราะเราควรมีสิทธิ์เก็บเมล็ดพันธุ์จากที่ทำครั้งก่อนมาปลูกใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องให้บริษัทยักษ์ใหญ่มาเอาเปรียบ
ไม่เห็นด้วย!!!
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ดี
ไม่เห็นด้วย
เนื่องจากไม่มีสิทธิเสรีในการครอบครองเมล็ดพันธุ์พืชทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเดิมจึงไม่สนับสนุน
ไม่เอาไม่สนับสนุน
ไม่โอเคเลยค่ะ
ปัญญาอ่อนอ่อนอีรัฐ
Please listen to the voice of the people
ไม่เห็นด้วยอย่างมากสงสารเกษตรกรมากๆ
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยอย่างมากครับ คนไทยเสียประโยชน์ครับ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
#NoCPTPP
❤️
ไม่เห็นด้วยมากๆเลยค่ะ
ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ไม่เห็นด้วยกับ CPTPP
ไม่เห็นด้วยมากๆค่ะ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วยอย่างแรง
ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้พวกผู้คนที่มีอาชีพเกี่ยวกับทางนี้จะมีค่าใช่จ่ายสูงขึ้น ไม่เห็นด้วยอย่างมากค่ะ
ไม่เห็นด้วยกับ CPTPP อย่างมาก ประชาขนส่วนมากเสียผลประโยชน์มากกว่าได้
ไม่เห็นด้วยครับ
??
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากครับ
คัดค้าน
คุณควรจะฟังเสียงประชาชน หยุดการกระทำของคุณเถอะ
?
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยค่ะ
ไม่เห็นด้วย เข้าเพื่ออะไร บ้าหรือป่าว วิถีชีวิตชาวบ้าน ชาวสวน อยู่บ้านเค้าก็ปลูกพืชผักกินกันเอง จะมาตัดสิทธิ์ของเค้าเพื่ออะไร