ปีนี้จะเป็นเป็นปีที่ผมจะไม่มีวันลืม เป็นปีที่จะติดอยู่ในความทรงจำของผมไปอีกหลายปี เรื่องราวปี 2020 ของผมอาจเปรียบเทียบได้กับเมื่อปี 2013

ตอนนั้นผมเป็นผู้นำการเจรจาของคณะผู้แทนฟิลิปปินส์ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงวอร์ซอในช่วงเวลานี้ของปี ในขณะที่เจ้าหน้าที่จาก UN และผมกำลังถกเถียงกันในเรื่องอนาคตของสภาพภูมิอากาศ ผมก็ได้รับข่าวร้ายจากที่บ้าน  ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนได้พัดถล่มเมืองทาโคลบันบ้านเกิดของครอบครัวผม พายุลูกนี้เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดที่ได้พัดขึ้นฝั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนและส่งผลกระทบอีกหลายล้านคน

Aftermath of Typhoon Haiyan in the Philippines. ©  Matimtiman / Greenpeace
สภาพของด้านหน้าศาลากลางของเมืองทาโคลบันหลังจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนถล่มเมื่อปี 2013 © Matimtiman / Greenpeace

หนึ่งอาทิตย์ก่อนวันครบรอบ 7 ปี ของเหตุการณ์ภัยพิบัติในครั้งนั้น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นโกนีได้พัดถล่มฟิลิปปินส์ด้วยความรุนแรง ทำให้มันกลายเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่ได้พัดขึ้นฝั่งในปี 2020 และอาจมีความเร็วลมที่มากกว่าหรือเท่ากับความเร็วลมของไห่เยี่ยนเมื่อตอนพัดขึ้นฝั่งบนหมู่เกาะจังหวัดคาตันดัวเนส พายุโกนีได้พัดไปทั่วภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นโมลาเวเมื่อสัปดาห์ก่อน นั่นเป็นบันทึกเรื่องราวที่น่าเศร้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเกิดขึ้น

ฟิลิปปินส์ต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอธิบายเรื่องราวการเผชิญกับซูเปอร์ไต้ฝุ่น พลังที่แท้จริงของธรรมชาติ หรือความวิตกกังวลตามสัญชาตญาณ รวมถึงความโศกเศร้าอันยาวนานนี้ให้ออกมาเป็นคำพูดได้

แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการให้คนอื่น ๆ เข้าใจเรื่องนี้จากประสบการณ์ตรงของพวกเขา แต่ถึงแม้กับผู้คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากพื้นที่เขตร้อน ก็ยังมีภัยพิบัติทางอากาศอื่น ๆ ที่ยังรอเล่นงานพวกเขาอยู่อย่างเงียบ ๆ

เต๊นท์ในศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโกนี

นอกจากเป็นปีของการแพร่ระบาดแล้ว ยังเป็นปีที่มีไฟป่ามากเป็นประวัติการณ์ในออสเตรเลีย บราซิลและสหรัฐอเมริกา ไม่เกินสองเดือนที่ผ่านมาผู้คนหกล้านคนในบุรุนดี จิบูตี เอธิโอเปีย เคนยา รวันดา โซมาเลียซูดานใต้ ซูดาน แทนซาเนียและยูกันดาได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ น่าเสียดายที่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงภาพบางส่วนของปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก

เรากำลังอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศ ซึ่งตอนนี้กำลังแผ่ขยายออกไปเช่นเดียวกับการแพร่ระบาด แต่หลายคนปฏิเสธที่จะทำอะไรบางอย่างกับมัน โดยเฉพาะบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลและผู้หนุนหลังของพวกเขา ที่มีส่วนในการรับผิดชอบมากที่สุดต่อมลพิษคาร์บอนที่อยู่เบื้องหลังปัญหาต่าง ๆ

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา Shell ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างนักบนทวิตเตอร์ในเรื่องที่พวกเขาออกมาตั้งคำถามกับผู้คนว่าพวกเราจะทำอย่างไรเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน นับว่ากล้ามากที่ผู้ก่อมลพิษคาร์บอนได้ผลักภาระความรับผิดชอบมาให้บุคคลธรรมดาทั่วไปแก้ปัญหาวิกฤติภูมิอากาศที่พวกเขาเป็นต้นเหตุและได้ผลประโยชน์จากมัน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ผู้คนนับล้านร่วมกันทำให้พวกเขาเหล่านั้นรับผิดชอบ พวกเราต้องทำ เพราะการปล่อยคาร์บอนของพวกเขา (ในอดีตและสะสม) ได้เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของเราให้แย่ลง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบางที่สุดทั้งก่อน ระหว่างและหลังภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่รุนแรง

ย้อนกลับไปที่บทเรียนจากปี 2013 มีการเคลื่อนไหวใหม่เกิดขึ้นการต่อสู้ได้ย้ายจากห้องทดลอง ห้องประชุมบอร์ดบริหารและห้องประชุม ไปที่ถนน ห้องเรียนและห้องพิจารณาคดี นี่คือผลของการจัดระเบียบระดับรากหญ้า เยาวชนนัดหยุดงานประท้วงเรื่องสภาพอากาศ นักลงทุนกำลังดึงเงินของพวกเขาออกไปจากธุรกิจที่ก่อมลพิษและคนทั่วไปกำลังฟ้องร้องรัฐบาลและบริษัทต่าง ๆ เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขาในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ย้อนกลับไปในฟิลิปปินส์ กลุ่มพันธมิตรในท้องถิ่น คนงานและชาวประมงจำนวนมากได้มารวมตัวกันกับนักเคลื่อนไหวเพื่อผู้หญิงและ LGBTQ และประชาชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์ดำเนินการไต่สวนเพื่อถามหาความรับผิดชอบจาก บริษัท ยักษ์ใหญ่เช่น Shell, BHP Billiton, BP , Chevron, ConocoPhillips, ENI, ExxonMobil, Glencore, OMV, Repsol, Sasol, Suncor, Total, RWE และบริษัทผู้ก่อมลพิษคาร์บอนรายใหญ่อื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หลังจากการสอบสวนเป็นเวลา 5 ปี ตอนนี้เรากำลังตั้งตารอคำวินิจฉัยของคณะกรรมาธิการ เราคาดหวังว่านี่จะเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของชาวฟิลิปปินส์และขบวนการยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศโลก เราหวังว่าคณะกรรมาธิการจะไม่ล้มเหลวในการไต่สวนเพื่อถามหาความรับผิดชอบจากผู้ก่อมลพิษคาร์บอนรายใหญ่เหล่านี้ และออกคำแนะนำที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและหยุดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

ในตอนที่กำลังเขียนอยู่นี้ ใต้ฝุ่นอัตซานีกำลังปรากฏตัวในภาคเหนือของฟิลิปปินส์ ความวุ่นวายในเขตร้อนกำลังก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกและคาดว่าจะเข้ากระทบประเทศในอีกไม่กี่วันข้างหน้า (ไม่ว่าจะมุ่งหน้าไปยังเขตบิโคลที่ยังคงสะเทือนใจจากพายุไต้ฝุ่นโกนี หรือวิซายาตะวันออกซึ่งได้รับผลกระทบจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน) และในขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ ฟิลิปปินส์เพิ่งได้รับความเสียหายจากพายุหว่ามก๋อที่พัดถล่มเมื่อช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน

พายุหว่ามก๋อที่พัดถล่มเกาะลูซอนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่

มันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ที่เราจะยังคงสร้างความกดดันทางสังคมต่อผู้ก่อมลพิษคาร์บอนรายใหญ่เหล่านี้ และส่งเสียงเรียกร้องเพื่อความยุติธรรม ให้มันเป็นปีที่เรายืนหยัดร่วมกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่พวกเขาเรียกคืนสิทธิ์ในสภาพอากาศที่ปลอดภัยและมั่นคง ภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศทำให้เรามีเหตุผลมากมายที่ทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน แต่ยังช่วยให้เรามีเหตุผลที่ดีมากมายในการลุกจากที่นอนตอนเช้า ในขณะที่เราส่งเสียงของเราไปถึงห้องประชุมบอร์ด ห้องพิจารณาคดีและห้องโถงที่เต็มไปด้วยอำนาจ เรายึดมั่นในใจของเราว่า การต่อสู้ในครั้งนี้จะไม่เป็นเพียงการชนะหรือแพ้ในห้องกำหนดนโยบาย การพาณิชย์ หรือกฎหมาย แต่การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศครั้งนี้จะชนะหรือแพ้อยู่ในห้องหัวใจของผู้คนเช่นกัน

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม