นี่คือบทสนทนาระหว่างนักรณรงค์ด้านความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศทั้ง 4 คน เกี่ยวกับมุมมองต่อระบบการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ ระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนมีส่วนร่วม การดูแลระบบนิเวศในธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ

ผู้ร่วมกิจกรรมกับเรืออาร์กติก ซันไรส์กำลังแขวนเรือกระดาษที่มีข้อความเขียนด้วยลายมือผูกติดไว้กับอวนจับปลา© Philip Reynaers / greenpeace

ประเทศที่มั่งคั่งมากกว่ากำลังผลักภาระไปให้กลุ่มประเทศที่ยากจน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แนวคิดขวาประชานิยม(right-wing populism) วิกฤตด้านสุขอนามัย สิ่งเหล่านี้สร้างความเหลื่อมล้ำเป็นแรงกดดันต่อประเทศที่ยากจนกว่า ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน พวกเรามองเห็นสิ่งเหล่านี้ที่เป็นความบิดเบี้ยวกำลังเกิดขึ้นในโลกของเรา และเราก็กำลังใช้ชีวิตไปกับความไม่เท่าเทียมเหล่านั้น ไม่แปลกใจหากคนรอบข้างเราหลายคนอาจรู้สึกสิ้นหวังกับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่เราจะเปลี่ยนแปลงโลกของเราได้หรือไม่? โลกที่ดีกว่าเดิมหน้าตาเป็นอย่างไร?

จากความเห็นของกรีนพีซในยุโรปสะท้อนว่าปี 2563 ทำให้เราเห็นว่าวิกฤตทั้งหมดที่เราเผชิญอยู่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เราค้นพบว่าโรคระบาดเชื่อมโยงกับการทำลายผืนป่า เราพบว่ากลุ่มคนยากจนที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 มากกว่าคนกลุ่มอื่นอย่างไร และเรายังพบอีกว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทำให้วิกฤตเศรษฐกิจเลวร้ายมากกว่าเดิม

ในความพยายามของการรณรงค์เพื่อโลกของเรา เรารู้ดีว่าเราไม่สามารถเพิกเฉยต่ออุปสรรคของมวลชนหรือการคอรัปชั่นทางการเมืองเพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์อย่างเช่นการเอื้อผลประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลและน้ำมัน เราจำเป็นจะต้องขับเคลื่อนงานรณรงค์ที่สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างเป็นแกนหลัก เราไม่สามารถแยกปัญหาสิ่งแวดล้อมออกจากประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมได้อีกต่อไป เพราะความพยายามต่อสู้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มองปัญหาเพียงด้านเดียวนั้นเป็นการต่อสู้แค่ผิวเผินและไม่สามารถแก้ไขวิกฤตที่เราเผชิญจากต้นตอได้

เพราะกรีนพีซยังเป็นมือใหม่ต่ออุปสรรคเหล่านี้ จึงเป็นเหตุผลที่ทีมรณรงค์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกรีนพีซในยุโรปได้มาพูดคุยกับนักกิจกรรมที่ทำงานด้านความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศในทวีปยุโรปถึงมุมมองของพวกเขาต่อระบบการจัดเก็บภาษีแบบใหม่ ระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนมีส่วนร่วม การดูแลระบบนิเวศในธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ

กัพพี โบลา (Guppi Bola) : องค์กร Decolonising Economics

กัพพี โบลา (Guppi Bola) และ โนนี มาคูยามา (Noni Makuyana) เป็นผู้ก่อตั้งองค์กร Decolonising Economics โดยในคลิปวิดีโอ โบลาอธิบายเอาไว้ว่าเราจะเพิ่มความเป็นอิสระทางระบบเศรษฐกิจได้มากกว่าปัจจุบันอย่างไร รวมทั้งการฟื้นฟูระบบนิเวศที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤต ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการเงินและทำให้เท่าเทียมกันมากขึ้น องค์กร Decolonising Economics ยังทำงานในเชิงขับเคลื่อนการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นรากฐานความเป็นธรรมของคนแต่ละเชื้อชาติ ยุติระบบเศรษฐกิจที่ถูกวิเคราะห์โดยคนผิวขาว ซึ่งการวางรากฐานทางเศรษฐกิจใหม่นี้จะช่วยให้โลกเกิดความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศด้วย

ชิฮิโร กูย์ชีบรู๊ค (Chihiro Geuzebroek) : องค์กร Climate Care

ชิฮิโร กูย์ชีบรู๊ค เป็นนักกิจกรรมที่ทำงานกับชุมชน เป็นออแกไนซ์และแต่งเพลงให้กับองค์กรขับเคลื่อนด้านสังคม Shell Must Fall เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Aralez และ Climate Liberation Bloc collective อีกด้วย ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เธอเป็นผู้สร้างภาพยนตร์โดยมีผลงานกำกับภาพยนตร์เกี่ยวกับความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศชื่อว่า Radical Friends ชิฮิโรชี้ให้เห็นว่าการหยุดระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมและเปลี่ยนผ่านมาเป็นการจ้างงานอย่างมีจรรยาบรรณจะช่วยสิ่งแวดล้อมที่กำลังอยู่ในวิกฤตได้อย่างไร โดยมีฐานรายได้ที่เท่าเทียมกัน

ทาเทียนา การาวิโต (Tatiana Garavito) ประชาธิปไตยที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ทาเทียนา การาวิโต (Tatiana Garavito) ผู้ก่อตั้งและวิทยากรขององค์กร Wretched of the Earth โดยทำงานรณรงค์ในประเด็นการลี้ภัย ชาติพันธุ์ ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและประชาธิปไตยที่ทุก ๆ คนมีส่วนร่วม ทาเทียนาแนะนำให้เรารู้จักกับระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบใหม่ที่เราสามารถหล่อเลี้ยงตัวเองและคนอื่น ๆ โดยระบบนี้ได้รับการการันตีว่าเราจะไม่ถูกคนบางกลุ่มปล้นเพื่อครอบครองทรัพยากรของโลกไปเป็นของตัวเอง

แซมี แบลสอิงแอม (Samie Blasingame) : อาหาร สิ่งจำเป็นของทุกชีวิต

แซมี แบลสอิงแอม (Samie Blasingame) ทำงานในองค์กร BIPoC (Black Indigenous People of Colour) ประจำกรุงเบอร์ลิน เป็นองค์กรที่รณรงค์เกี่ยวกับความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม ของชนพื้นเมือง คนผิวดำ และคนผิวเหลือง รวมทั้งทำงานกับเครือข่ายเพื่อความยั่งยืน GreenBuzz Berlin แซมีแชร์ให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนนโยบายของระบบอาหารโลกโดยชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ทำการเกษตรไม่ได้เป็นพื้นที่ของอุตสาหกรรมอาหารบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

เราต้องทำงานร่วมกับเครือข่ายที่ขับเคลื่อนเรื่องความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อให้การเรียกร้องของพวกเขากลายเป็นประเด็นสาธารณะดังที่เราคาดหวังว่าโลกนี้ควรจะเป็น เราขอขอบคุณนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 อย่างมากที่มาร่วมแชร์มุมมองกับกรีนพีซ เราต่างรู้กันดีว่าเราสามารถทำให้โลกที่เราอยู่กลายเป็นโลกที่ดีกว่าเดิม และเราทราบดีว่าผู้คนบนโลกใบนี้ควรได้รับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น อย่ากลัวที่จะทำให้ความคาดหวังของเราเป็นจริงด้วยความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

จอร์เจีย วิทเทคเกอร์ หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศและการยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่ออนาคต กรีนพีซ สหภาพยุโรป

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม