เช้าตรู่วันที่ 26 เมษายน 2529 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลจำนวนสี่เครื่องระเบิด สหประชาชาติประกาศว่า เป็นหายนะด้านสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การระเบิดที่เชอร์โนบิลเป็นอุบัติเหตุที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์เคยมั่นใจอยู่เสมอว่า จะไม่มีทางเกิดขึ้น

ยี่สิบห้าปีต่อมา อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะในญี่ปุ่นทำให้เรายิ่งต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดหายนะอย่างเชอร์โนบิลขึ้นได้อีกในทุกที่ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์

รังสีนิวเคลียร์จากเชอร์โนบิลยังแพร่กระจายและยังคงอยู่ในอีก 30 ปีต่อมา ส่งผลถึงการดำรงชีวิตของผู้คนอีกหลายล้านคน นี่คือความจริง 15 ประการ ที่คุณอาจยังไม่รู้ถึงหายนะที่กำลังเกิดขึ้น:

1. เมื่อ 30 ปีก่อน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่ยูเครน เกิดการระเบิดขึ้น ประชาชนเกือบห้าล้านคนยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนจนถึงทุกวันนี้

Local Family with Wagon of Potatoes in Ukraine © Denis Sinyakov / Greenpeace

2. ปริมาณของรังสีที่แพร่กระจายออกมา มีอานุภาพมากกว่ารังสีจากระเบิดปรมาณูที่ถล่มใส่เมืองนางาซากิและฮิโรชิมะถึงอย่างน้อย 100 เท่า

Remains of the kindergarten in the town of Pripyat © Greenpeace / Steve Morgan

3. ประชาชนในเมืองใกล้เคียงอย่าง พริเพียต (Pripyat) อพยพออกจากพื้นที่ทันทีภายในสองวันหลังเกิดหายนะภัย ในช่วงเวลานั้นหลายคนได้รับรังสีปนเปื้อนในระดับสูง

Life in the 30 km Zone of Chernobyl © Jan Grarup / Noor / Greenpeace

4. ฝนกรดจากกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปไกลถึงไอร์แลนด์ โดยยูเครน เบลารุส และ รัสเซีย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากหายนะภัยเชอร์โนบิลมากที่สุด คือมีพื้นที่ปนเปื้อนรังสีมากถึงร้อยละ 63 

Decontamination Centre in Pripyat © Clive Shirley / Signum / Greenpeace

5. เมืองพริเพียต ถูกทิ้งร้างเนื่องเนื่องจากระดับการแพร่กระจายของรังสีอยู่ในปริมาณสูง กลายเป็นที่อยู่ของสุนัขป่า ม้าป่า บีเวอร์ หมูป่า และสัตว์อื่นๆ

Wild Horses in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

6. สัตว์ที่หากินอยู่ในละแวก 30 กิโลเมตรโดยรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล มีอัตราการตายก่อนอายุขัยสูงมากขึ้น มียีนผิดปกติมากขึ้น และมีอัตราการเกิดลดลง

 Stray Dog in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

7. คุณอาจคิดว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เครื่องอื่นๆ ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล คงจะปิดทำงานไปแล้ว แต่ความจริงคือ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อีกสามเครื่องเริ่มเดินเครื่องและใช้งานแล้วหลังจากเกิดหายนะภัยเพียง 13 ปีให้หลัง

Reactor 1 and 2 at Chernobyl Nuclear Plant © Greenpeace / Stefan Füglister

8. วัตถุดิบกัมมันตรังสียังอยู่ในแท่นซีเมนต์ปรักหักพังที่สร้างครอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาคารขนาดใหญ่หลังใหม่ถูกสร้างขึ้นครอบแท่นซีเมนต์ ซึ่งน่าจะใช้งานได้อีกอย่างน้อย 100 ปี

 The new giant structure is intended to contain the nuclear reactor. © Denis Sinyakov / Greenpeace

9. ป่าโดยรอบพื้นที่หายนะภัย มีชื่อใหม่ว่า “ป่าแดง” เนื่องจากรังสีนิวเคลียร์ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาลแดง และ ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่

Measuring Radiation at the Red Forest in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

10. อุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลที่มีนโยบายสนับสนุนนิวเคลียร์ ทั้งในยูเครน รัสเซีย และ เบลารุส ยังเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์มูลค่าหลายพันล้าน โดยเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบที่ต้องช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเชอร์โนบิล รัฐบาลประเมินผลกระทบจากหายนะภัยในขั้นต่ำสุด และหลบเลี่ยงความจริงที่เกิดขึ้นในเชอร์โนบิล

Village Drosdyn near Chernobyl © Jan Grarup / Noor / Greenpeace

11. วันนี้ คุณสามารถจองทัวร์ไปเยี่ยมชมเขตต้องห้ามในเชอร์โนบิล บริษัทท่องเที่ยวจัดโปรแกรมเที่ยววันเดียวไปเมืองร้างพริเพียต

Thirty years after the nuclear disaster Greenpeace revisits the site and the Unit 4 with the New Safe Confinement (NSC or New Shelter). © Denis Sinyakov / Greenpeace

12. พริเพียต อยู่ในสถานะของเมืองที่มีการปนเปื้อนระดับสูง และยังคงถูกทิ้งร้าง เนื่องจากต้องกำจัดพลูโตเนียมที่แพร่กระจายปกคลุมไปทุกหนแห่ง โดยคาดว่าต้องใช้เวลามากกว่า 24,000 ปี เพื่อลดปริมาณความเข้มข้นครึ่งหนึ่งที่ปรากฎในขณะนี้

Abandoned City of Pripyat in Ukraine © Denis Sinyakov / Greenpeace

13. รังสีนิวเคลียร์มีอานุภาพมากพอที่ทำให้ตาของนักดับเพลิงอย่างวลาดิมีร์ ปราวิก เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า

Abandoned Hospital in Pripyat © Vaclav Vasku / Greenpeace

14. สวีเดนเป็นประเทศแรกที่ประกาศต่อชาวโลกถึงหายนะภัยจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ขณะที่รัฐบาลยูเครนเลือกที่จะปิดปากเงียบในตอนแรก

Deserted City of Pripyat © Clive Shirley / Signum / Greenpeace

15. ในพื้นที่ปนเปื้อนหลายแห่ง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกมิติ รังสีจากเชอร์โนบิลปนเปื้อนในอาหารที่กิน ในนม ในน้ำที่ดื่ม ในโรงเรียน ในสวนสาธารณะ และในสนามเด็กเล่นที่ลูกหลานของเราใช้ และ ในป่าที่พวกเขาต้องเข้าไปตัดฟืนมาเผาเอาไออุ่น

Resident Sells Local Produce in Russian Market © Denis Sinyakov / Greenpeace

Comments

Leave your reply