บิลค่าไฟฟ้าถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของทุกครอบครัว และเป็นการจ่ายเงินมายาวนานตราบเท่าที่เราทุกคนยังคงพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชิ้อเพลิงฟอสซิลขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ การใช้ไฟฟ้าของเราทุกคนจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤตมลพิษทางอากาศและวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การจ่ายค่าไฟฟ้าทุกเดือนไม่เพียงแต่เป็นภาระของคนในครอบครัว แต่ยังหมายรวมถึงภาระทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในสังคมที่ต้องร่วมกันจ่ายแม้ว่าบางครั้งเราแทบจะมองข้าม
มาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อป (Net Metering) คือ ระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เองจากโซลาร์เซลล์บนหลังคากับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้ว
ลองดูตัวอย่างกันค่ะ
ตัวอย่างคือ บ้านของเราเสียค่าไฟฟ้าในเดือนพฤศจิกายนใช้ไฟฟ้าจำนวน 548 หน่วย (หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาท ประมาณ 2,192 บาท เมื่อบ้านดังกล่าวติดตั้งแผงโซลาเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านได้ 355หน่วย (หากค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาท คิดเป็นเงิน 1,420บาท)
เมื่อติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์บนหลังคาไฟฟ้าจะผลิตได้ในเวลากลางวัน กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ดังกล่าวจะไหลผ่านมิเตอร์เข้าสู่สายส่งหากเหลือจากที่บ้านเราใช้ พอตอนค่ำเราก็จะใช้ไฟฟ้าจากสายส่งซึ่งไฟฟ้าดังกล่าวก็จะไหลผ่านมิเตอร์เข้าบ้านเหมือนปกติ
ระบบ Net Metering จึงเป็นการคำนวนหักลบจำนวนหน่วยไฟฟ้า โดยคำนวนจากจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่บ้านเราใช้หักลบกับจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่บ้านเราผลิตได้ กรณีนี้จึงนำไฟฟ้าที่ใช้จำนวน 548 หน่วย ลบออกจากไฟฟ้าที่บ้านเราผลิตได้เอง 355 หน่วย ดังนั้นบ้านหลังนี้จึงจ่ายค่าไฟฟ้าเดือนดังกล่าวเพียงจำนวน 193หน่วย ทั้งนี้จะต้องจ่ายกี่บาทขึ้นอยู่กับราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ณ ช่วงเวลาดังกล่าว
ระบบ Net Metering แตกต่างจากโครงการนำร่องรับซื้อไฟฟ้าจากครัวเรือนของ กกพ. อย่างไร?
การนำร่องรับซื้อไฟฟ้าจากครัวเรือนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โครงการ “โซลารูฟท็อปภาคประชาชน” ไม่ใช่การรับซื้อไฟฟ้าของระบบNet Metering เพราะกกพ.กำหนดราคาการรับซื้อไฟฟ้าไม่ใช่ราคาเดียวกับราคาที่ขายไฟฟ้าให้กับประชาชน การนำร่องโครงการดังกล่าวของกกพ.จึงเป็นการหักลบราคาค่าไฟฟ้าไม่ใช่การหักลบหน่วยไฟฟ้า (ระบบ Net Metering มีการกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าราคาเดียวกับราคาที่ขายไฟฟ้า แต่อัตราในโครงการของกกพ.ปัจจุบัน รับซื้อไฟฟ้าในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่ขายไฟฟ้า) ซึ่งการนำร่องดังกล่าวถือเป็นการใช้ระบบ Bill Metering
การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบ Net-metering จะก่อให้เกิดการผ่านครั้งสำคัญ
ผู้ใช้ไฟฟ้าเปลี่ยนเป็น Prosumer
สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือ ประชาชนจะสามารถลดค่าใช้จ่ายภาระค่าไฟฟ้าลงได้ และยังสามารถสร้างรายได้จากขายไฟฟ้าที่เหลืออีกด้วย
การที่ประชาชนช่วยกันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อใช้เองในครัวเรือน จะทำให้เดิมที่เคยอยู่ในฐานะผู้ซื้อไฟฟ้าเปลี่ยนสู่ผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองและขายให้การไฟฟ้าในส่วนที่เหลือ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในการผลิตไฟฟ้าและสร้างความเป็นธรรมทางพลังงาน
เปลี่ยนระบบรวมศูนย์พลังงานเป็นการกระจายศูนย์พลังงาน
จากเดิม “ระบบรวมศูนย์พลังงาน Centralisation” ที่เราทุกคนยังคงต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าฟอสซิลขนาดใหญ่ การที่ประชาชนช่วยกันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานสู่ “ระบบกระจายศูนย์พลังงาน Decentralisation” ที่มาจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกระจายศูนย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงานอย่างแท้จริง
อีกทั้งเป็นการนำพลังงานสะอาดที่มีศักภาพในธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า ลดการสร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ลดนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจากต่างประเทศ ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ ลดวิกฤตโลกร้อน และก่อให้เกิดการพึ่งตนเองจากพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน
เปลี่ยนจากการพึ่งพาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสู่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่า
เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกประเภทยังคงปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าการผลิตไฟฟ้าประเภทอื่นๆ
มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป(Net Metering) คือความเป็นธรรมที่เราทุกคนต้องลงมือทำ ร่วมลงชื่อผลักดันให้ประเทศไทยออกมาตรการในการรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟระดับครัวเรือน
#พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อทุกคน
#SolarEnergyForAll
ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป
มีส่วนร่วม
Discussion
กำลังวางแผนติดโซลาร์เซลคะ
ที่บ้านก็ติดโซล่าเซลล์ใช้ ลดค่าไฟฟ้า
อยากให้ข้อความบทนี้ กระจายสู่ภาคประชาชนเยอะๆและอยากให้รัฐส่งเสริมสนับสนุน เพราะมันเป็นดีต่อประชาชนและประเทศชาติ
กำลังวางแผนจะติดโซล่าร์เซลบนหลังคาโกดังครับ
อยากรู้ต้นทุนการติดตั้ง และ เงื่อนไข การติดตั้ง
สามารถสอบถามรายละเอียดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ในกลุ่ม LINE : https://line.me/R/ti/g/D8gDsolT_g (Thailand Solar Fund Q&A) ได้เลยค่ะ หรือลองฟังรายละเอียดเบื้องต้นในการติดตั้งแผงโซลาร์ได้ที่ Facebook Live : https://act.gp/2NEOlFV ค่ะ
อยากให้รัฐสนับสนุนประชาชนในเรื่องวัสดุที่บ้านก็อยากติดตั้ง
เห็นด้วยในการประหยัดลดพลังงาน โดยเฉพาะใช้พลังบริสุทธิ์จากแสงอาทิตย์/ลม/น้ำ ทั้งเคยศึกษาการลงทุนจากผู้ประกอบการติดตั้ง ซึ่งพบว่าปัจจุบัน แม้จะมีราคาเงินลงทุนที่ ค่าเฉลี่ยพื้นที่ต่อกำลังวัตต์ถูกลง แต่ก็ยังเป็นต้นทุนที่สูงหลายแสนบาทต่อบ้านหนึ่งหลัง ที่มีใช้ตามบ้านรุ่นใหม่ก็แค่Gimmick เพื่ออุปกรณ์บางชนิด หากจะเก็บกักไฟก็ต้องเพิ่ม อุปกรณ์เก็บไฟสำรอง(ต้องลงทุนอีกหลายแสน) ทั่วไปๆจึงเหมาะกับคนที่กลางวันมีคนอยู่ บ้านที่ปลอดคน มีแค่ตู้เย็นที่มีโอกาสได้ใช้ ดังนั้นจุดคุ้มทุนมักใช้เวลามากถึง 8-10 ปีหรือกว่านั้น อีกทั้งรูปแบบที่ปัจจุบันส่วนใหญ่มักเหมาะกับอาคารที่มีดาดไฟ กรณีให้เข้ากับรูปทรงหลังคา ของบ้านพักอาศัย ยังมีผู้ผลิตพัฒนาอยู่น้อย (มักเป็นแผงใหญ่สีเหลี่ยม) แม้แต่ของSCG ก็ตาม และต้องมีพื้นที่หลังคาที่มากพอ และแผงติดตั้งที่ไม่ทำให้เสียรูปแบบสถาปัตย์ของอาคารไป ปัจจุบันจึงมักเห็นผู้ประกอบการโรงงาน และธุรกิจSolar Farm ที่ทำแล้วผลตอบรับคุ้มลงทุน กรณีบ้าน หมู่บ้านจัดสรร อาจจะยังไม่คุ้มที่ลงทุนนัก แม้จะสามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีต้องรักษาไว้ อนาคตแผงโซล่าที่ปรับเข้ากับกระเบื้องหลังคา และ ทรงหลังคารูปแบบต่างๆได้สวยงาม รวมทั้งต้นทุนถูกลงมากๆ กว่านี้ แม้ไม่ต้องคิดถึงการขายคืน แต่วิธีนี้บ้านของเรา ก็สามารถช่วยลดการใช้พลังงานจากผลิตกระแสไฟฟ้า(เตาเชื้อเพลิง) ไปได้ จึงคาดหวังว่า บ้านพักของชุมชนอนาคต จะเข้าถึงการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้ง่ายกว่านี้.
เห็นดว้ยคะพลังงานแสงอาทิตย์
คงเป็นแค่คำหวานตามกระแสพอประชาชนที่เขาพอทำได้จะเอาจริงๆการไฟฟ้าก็กั๊กอีกอ้างโน่นนี่นั่นสร้างกฎระเบียบมากมายอ้างเรื่องความปลอดภัยบ้างไรบ้างต้องมีวิศวกรมาตรวจรับรองโดยไม่สนใจว่าเทคโนโลยีของกริดไทเขาพัฒนาไปถึงไหน สรุปก็คือกลัวเสียประโยชน์ เบื่อ!!!
น่าสนใจมาก หากมีความประสงค์ติดตั้งต้องไปติดต่อที่ไหนได้บ้างคะ รบกวนขอรายละเอียด
ขอร่วมสนับสนุนค่ะ
ดีครับแต่เราจะต้องทำอย่างไรบ้างครับ เหมือนกับการขอขนานไหไหมครับ
ผมเป็นผู้อำนวยการ ร.ร.ประถมศึกษา ใน จ.เชียงราย มีนักเรียนชนเผ่ากะเหรี่ยง 150 คน ทาง รร.มีภาระค่าไฟฟ้า ตกเดือนล่ะ 2500-3000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่คิดมาจากค่ารายหัวเด็ก ที่รัฐให้คนล่ะ 1900 /คน/ปี ทำให้งบพัฒนาเด็ดในรร.เล็กๆ ลดน้อยลงมาก หากใช้ระบบนี้ ทาง รร. เหลืองบประมาณพัฒนาเด็กอีกมาก และที่สำคัญคือการส่งต่อองค์ความรู้ให้เด็กๆ เห็นคุณค่าของพลังงานสะอาด
นายกไปไม่ได้ประโยชน์เลยเพราะไปทำตามผู้ผลิตและสร้างคารบอนทำลายโลก ทั้งที่ประเทศไทยเป็นเป็นประเทศเกษตรกรรมสร้างป่าโดยเฉพาะสวนยางพาราซึ่งเป็นพืชที่กำจัดคารบอนกำจัดก๊าซเรือนกระจกได้ดีที่สุดและมากที่สุดในโลก ทุกประเทศทั่วโลกที่ทำลายโลกต้องช่วยจรรโลงเศฐกิจภูมิศาสน์ของประเทศไทยไว้เพราะเราเป็นประเทศที่สร้างโลกดูแลรักษาโลก ทำไมนายกเราและทีมงานไม่เสนอให้เกิดเป็นรูปธรรมสัญญาในที่ประชุมโลก ครับ