การเกิดรูโหว่ในชั้นโอโซน ยังเป็นประเด็นที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น การที่ชั้นโอโซนถูกทำลายจนเกิดรูโหว่ที่เราได้ยินกันนั้น มิได้เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น แต่จะทำให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผ่านเข้ามายังพื้นโลกมากขึ้น จึงขออธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

ตามที่ได้ทราบแล้วว่าบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่มีทั้งหมด 4 ชั้นได้แก่ ชั้นโทรโพสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์ เมโซสเฟียร์ และเทอร์โมสเฟียร์ โดยการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนนั้น เกิดขึ้นที่ชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุด (ประมาณเพียง 10-15 กิโลเมตรนับจากผิวโลกขึ้นไป) นั่นคือ ชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งในบรรยากาศชั้นนี้มีปริมาณก๊าซโอโซนน้อยมาก เนื่องจากหากโอโซนอยู่ในชั้นนี้จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์

Ozone Hole Action in Austria. © Greenpeace / Waltraud Geier

Greenpeace sets up a gigantic mock-up ozone hole and makes delegates of the Montreal Protocol Conference climb through it in order to get to the venue, the Vienna International Center. Activists are wearing sunglasses and UV-protection overalls with labels that reads “Stop Ozone-Killers Now!”

 

ส่วนชั้นบรรยากาศที่พบก๊าซโอโซนมาก ได้แก่ ชั้นสตราโตสเฟียร์ ซึ่งอยู่ไกลจากพื้นผิวโลกขึ้นไปประมาณ 50 กิโลเมตร และอยู่เหนือชั้นโทรโพสเฟียร์ โดยก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศนี้มีหน้าที่ดูดซับรังสีทุกชนิดที่แผ่ออกมา จากดวงอาทิตย์ไว้มิให้ส่องไปยังโลกทั้งหมด โดยเฉพาะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตชนิดบี หรือ UV-B ซึ่งเป็นรังสีที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ หากมนุษย์ได้รับรังสีนี้เป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา ทั้งนี้พบว่า หากโอโซนในบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์ลดลงเพียงร้อยละ 1 จะมีผลทำให้อัตราการเกิดต้อกระจกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6-0.8 นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ซึ่งพบว่าเป็นกันมากในหมู่คนผิวขาว รวมทั้งทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง ชึ่งทำให้เกิดโรคติดต่อต่างๆ มากขึ้น นอกจากรังสี UV-B จะมีผลต่อมนุษย์แล้ว สัตว์และพืชก็ได้รับผลกระทบจากรังสีดังกล่าวนี้เช่นกัน โดยรังสี UV-B จะไปทำลายการเจริญเติบโตของสัตว์ในช่วงแรก และทำให้แพลงตอนซึ่งเป็นอาหารสำคัญของสัตว์น้ำในกระบวนการห่วงโซ่อาหารในน้ำ มีปริมาณลดลง ส่วนผลกระทบต่อพืชนั้น พบว่ารังสี UV-B จะทำให้การเจริญเติบโตของพืชลดลง

อย่างไรก็ตาม แม้การเกิดภาวะโลกร้อน มิได้มีสาเหตุโดยตรงจากการเกิดรูโหว่ในชั้นโอโซน แต่การเพิ่มขึ้นของสารทำลายชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศ นอกจากจะยิ่งไปเพิ่มความหนาของบรรยากาศในชั้นโทรโพสเฟียร์ ซึ่งจะทำให้รังสีความร้อนถูกสกัดกั้น และแผ่ความร้อนกลับมายังพื้นผิวโลกได้มากยิ่งขึ้นแล้วนั้น สารทำลายชั้นโอโซนที่สามารถทะลุผ่านชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปยังชั้นสตราโตสเฟียร์ได้ ก็จะไปทำลายโอโซนได้อย่างรวดเร็วจากการเกิดปฏิกิริยาแบบลูกโซ่ ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวีตบนโลกที่จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เพราะแสงอาทิตย์ที่ส่องผ่านมานั้นนอกจากจะถูกกักเก็บและทำให้โลกร้อนแล้ว ยังมีรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวีตในโลกคือ รังสี UV-B ปะปนเข้ามาในปริมาณที่เข้มข้นขึ้นด้วย ทั้งสองปรากฏการณ์นี้จึงถือเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงที่มนุษย์ทุกคนต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อทั้งโลกและตัวมนุษย์เอง

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม