“คนไทยรักข้าวไทย” กรีนพีซร่วมสนับสนุนให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของข้าวไทย ข้าว อาหารหลักของคนไทย ผลิตผลการเกษตรส่งออกหลักของประเทศ ชาวนา กระดูกสันหลังของชาติ กำลังไดัรับผลกระทบอย่างรุนแรงจากข้าวดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ของบริษัทเคมีเกษตร

Rice Farmers in Thailand. © Vinai Dithajohn / Greenpeace

© Vinai Dithajohn / Greenpeace

 

ชาวนาไทยปลูกต้นกล้าข้าวอินทรีย์บนผืนนาที่กรีนพีซเลือก นาข้าวผืนนี้ขณะนี้ได้กลายเป็นศิลปะ หรือ “ศิลปะบนนาข้าว” ที่นำเสนอภาพชาวนาเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดของโลก บัดนี้ข้าวออกรวมสีเหลืองถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้ว

เมื่อต้นปี กรีนพีซได้เชิญชวนให้คุณเป็นส่วนหนึ่งของงาน “ปลูกรักให้ต้นข้าว” ในวันแห่งความรัก เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าวอินทรีย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดราชบุรีื โดยเชิญชวนให้มาช่วยปลูกข้าวในนาข้าว 2 สี (ข้าวสีทองกับข้าวก่ำสีดำ) ขนาด 10 ไร่ เพื่อสร้างศิลปะอันสวยงาม ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของชาติ ในกิจกรรมงาน “ปลูกรักให้ต้นข้าว” เราได้ร่วมกันลงแขกดำนา พูดคุยเรื่องเกษตรกรรมอินทรีย์กับปราชญ์ข้าวไทย (คุณลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง) และมีการสอนการทำสารสกัดจากธรรมชาติเพื่อใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช เช่น น้ำส้มควันไม้ ที่ชาวนาผลิตขึ้นเพื่อใช้ไล่แมลงในนาข้าว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำกลับไปใช้ได้กับต้นไม้ของที่บ้านได้ด้วย

… แปลงข้าวนี้ ได้เติบโตเป็นภาพศิลปะจากธรรมชาิติที่สวยงามดังภาพนี้ ศิลปะนี้เกิดจากต้นข้าวจริงๆ ในพื้นที่ 10 ไร่ บางท่านคงได้ไปชมกันแล้วนะคะ

Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

 

ณ บัดนี้ข้าวได้ออกรวงเป็นสีเหลืองแล้ว ดังภาพนี้…

Organic Rice Art Ratchaburi. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

 

คลิกที่นี่ เพื่อดูเด็กๆร่วมกันปลูกต้นกล้า “ปลูกรัก​ให้​ต้นข้าว”  เมื่อวันแห่งความรัก 14 กุมภา

ตั้งแต่ต้นปีนี้ กรีนพีซได้รณรงค์เพื่อปกป้องข้าวไทยจากการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) เราหวังว่าการรณรงค์นี้จะสร้างความสนใจแก่สาธารณชน และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อหยุดยั้งบรรษัทเคมีเกษตรข้ามชาติไม่ให้ทดลองข้าวจีเอ็มโอในประเทศไทย พืชจีเอ็มโอมีเจ้าของสิทธิบัตร ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขโมยอธิปไตยทางอาหารไปจากประเทศ คุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพอันมีค่า และ เป็นภัยต่อสุขภาพ

Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

 

ต้นกล้าข้าวอินทรีย์ที่กรีนพีซนำไปใช้สร้างศิลปะบนนาข้าว

ต้นกล้าข้าวอินทรีย์ที่กรีนพีซนำไปใช้สร้างศิลปะบนนาข้าว สายพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในนาชลประทาน และสายพันธุ์ก่ำพะเยา เป็นสายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง มีสีดำชาวนาไทยปลูกต้นกล้าข้าวอินทรีย์บนผืนนาที่กรีนพีซเลือก นาข้าวผืนนี้ขณะนี้ได้กลายเป็นศิลปะ หรือ “ศิลปะบนนาข้าว” ที่นำเสนอภาพชาวนาเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดของโลก

Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

 

ภาพถ่ายของนางสำเนียง ฮวดลิ้ม อายุ 62 ปี เกษตรกรและเจ้าของนาข้าวอินทรีย์ ที่กรีนพีซใช้ปลูกศิลปะบนนาข้าว นางสำเนียงเป็นชาวนาเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่พ.ศ.2547 คุณป้าสำเนียงพบว่า่การปลูกข้าวอินทรีย์ใช้ต้นทุนต่ำกว่าเกษตรกรรมแบบใช้สารเคมีมาก (ต่ำกว่า 1,000 บาท เทียบกับการใช้สารเคมีเกษตรที่ราว 4,000 บาท) แต่กลับให้ผลผลิตเท่าเดิม

Farmer Makes Organic Noodles in Thailand. © Vinai Dithajohn / Greenpeace

© Vinai Dithajohn / Greenpeace

 

กระบวนการทำเส้นขนมจีนจากข้าวอินทรีย์ในโรงงานผลิตเส้นขนมจีนขนาดเล็ก ซึ่งดำเนินการโดยครอบครัวฮวดลิ้ม นาข้าว 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถผลิตเส้นขนมจีนได้ 1,000 กิโลกรัม ในทุกๆ วัน ครอบครัวนี้สามารถผลิตเส้นขนมจีนอินทรีย์ได้อย่างน้อย 200 กิโลกรัม

Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

ชาวนาไทยเตรียมต้นกล้าข้าวอินทรีย์เพื่อนำไปปลูกบนผืนนาที่กรีนพีซเลือก นาข้าวผืนนี้ขณะนี้ได้กลายเป็นศิลปะ หรือ “ศิลปะบนนาข้าว” ที่นำเสนอภาพชาวนาเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดของโลก

Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha

© Greenpeace / Athit Perawongmetha

 

ชาวนาไทยปลูกต้นกล้าข้าวอินทรีย์บนผืนนาที่กรีนพีซเลือก นาข้าวผืนนี้ขณะนี้ได้กลายเป็นศิลปะ หรือ “ศิลปะบนนาข้าว” ที่นำเสนอภาพชาวนาเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารที่สำคัญที่สุดของโลก

ศิลปะบนนาข้าวเกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองมรดกอันมีค่ายิ่งของประเทศไทย นั่นคือ ข้าว เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลปกป้องฟืชอาหารที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคจากภัยคุกคามจากการตัดต่อพันธุกรรมที่กำลังคืบคลานเข้ามา รวมถึงจากผลกระทบอันร้ายกาจของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ