มหาสมุทรที่สมบูรณ์ ปลอดภัยมีส่วนสำคัญที่ช่วยค้ำจุนความยั่งยืนของโลกใบนี้ เพราะมหาสมุทรถือเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทรัพยากรที่ช่วยให้ผู้คนหลายพันล้านคนมีรายได้  และยังช่วยควบคุมสภาพภูมิอากาศให้สมดุล โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ( Intergovernmental Panel on Climate Change – IPCC) ได้เปิดตัวรายงานพิเศษที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันความกลัวที่เลวร้ายที่สุดของเรา นั่นก็คือ วิกฤตสภาพภูมิอากาศเชื่อมโยงและคือปัญหาเดียวกันกับวิกฤตในมหาสมุทร

Corals at Palawan Archipelago in the Philippines. © Steve De Neef

แนวปะการังที่ยังสมบูรณ์ในเมืองพาลาวันของฟิลิปปินส์

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลคือปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้โลกมีอุณภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ กระตุ้นให้แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็งละลายขนาดใหญ่มหึมาหลายแห่งพังทะลายลงอย่างรวดเร็วในอัตราที่น่าตกใจ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นตามไปด้วย

เมื่อน้ำทะเลจะดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากเกินปริมาณตามธรรมชาติเข้าไป ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ  มหาสมุทรมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นและเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศที่เปราะบาง เช่น แนวปะการังในเขตทะเลน้ำอุ่นที่สวยงาม

มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลจะช่วยกู้โลกได้อย่างไร? 

เหตุผลก็คือ ตามธรรมชาตินั้นสัตว์ทะเลและพืชใต้น้ำจะช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอน โดยล็อคมันไว้ใต้มหาสมุทร ไม่ว่าจะเป็นพืชในพื้นที่ชายฝั่ง เช่น ป่าชายเลนและหญ้าทะเล ก็จะช่วยดักคาร์บอนในตะกอนใต้น้ำและดิน และสัตว์ทะเลนั้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์จะถูกส่งผ่านตามวิถีห่วงโซ่อาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ในที่สุดก็จมลงสู่ก้นทะเลลึกไปพร้อมกับซากสัตว์ที่ตายแล้ว

อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถพึ่งพากระบวนการธรรมชาตินี้เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้แต่เพียงอย่างเดียว มนุษย์จำเป็นต้องหยุดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงขยายการดูแลและปกป้องพื้นที่กักเก็บคาร์บอนและมหาสมุทรให้เพิ่มมากขึ้น ก่อนที่วิกฤตสภาพอากาศจะเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

Oil Spill Aftermath in Balikpapan Bay. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

คราบน้ำมันบริเวณป่าชายเลนของหมู่บ้านในเกาะกะลิมันตัน

นอกเหนือจาก ภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศที่กำลังคุกคามการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลกแล้ว ในรายงานของ IPCC ยังระบุอีกว่า ผลกระทบต่อเนื่องของกิจกรรมทำลายล้างโดยมนุษย์ เช่น การขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง การปล่อยก๊าซและมลพิษพลาสติก ก็มีส่วนทำให้สถานการณ์สภาพอากาศย่ำแย่และแปรปรวนขึ้น

ความหวังเดียวที่จะช่วยปกป้องมหาสมุทรของเราตอนนี้คือ การที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ร่วมลงนามรับรองสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ณ ที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ เพราะหากมีการตกลงสนธิสัญญาที่แข็งแกร่งก็สามารถปูทางไปสู่การสร้างเครือข่ายเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล (Ocean Santuaries) ซึ่งกำหนดให้พื้นที่มหาสมุทรอย่างน้อย 30% เป็นพื้นที่คุ้มครองและจำกัดกิจกรรมที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศ ภายในปี พ.ศ. 2573

การประกาศเขตคุ้มครองดังกล่าว จะช่วยให้มหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตทางทะเลได้ฟื้นตัวกลับมา  และชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไม่ให้รุนแรงและรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน

School of Fish in the Amazon Reef. © Pierre Baelen / Greenpeace

ฝูงปลาบริเวฯแนวปะการังแอมะซอน

โดยเมื่อเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลที่เข้าร่วมการประชุมได้เสร็จสิ้นการเจรจารอบสุดท้ายลงแล้ว แม้ว่าหลายประเทศสนับสนุนหลักการและกระบวนการ แต่มีเพียงบางประเทศเท่านั้นที่แสดงเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นที่จะรับรองข้อตกลงให้เกิดขึ้นจริง

รายงานฉบับดังกล่าวยังเปรียบเสมือนนาฬิกาปลุก กระตุ้นให้รัฐบาลที่ยังไม่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น โดยควรส่งตัวแทนที่มีอำนวจตัดสินใจในระดับสูงเข้าร่วมการประชุมเรื่องสนธิสัญญาทะเลหลวง ณ กรุงนิวยอร์กที่จะจัดขึ้นในปีหน้า

Underwater Banner Action - IPCC Report. © Alexis Rosenfeld / Greenpeace

นักประดาน้ำกางป้ายข้อความว่า “มหาสมุทรของเรา สภาพภูมิอากาศของเรา การมีชีวิตรอดของเรา”

รวมไปถึงผู้นำทางการเมืองและผู้นำภาคธุรกิจจำต้องตระหนักถึงความเชื่อมโยงของวิกฤตมหาสมุทรกับการลงทุนต่าง ๆ ของตน  และตัดสินใจเปลี่ยนจากการพึ่งพิงพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นพลังงานทดแทน 100% ได้แล้ว เช่นเดียวกันก็ควรยุติการตัดไม้ทำลายป่า หยุดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ และเดินหน้าสนับสนุนสร้างเครือข่ายเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล

ไม่มีช่วงเวลาไหนจะดีไปกว่าปัจจุบันอีกแล้ว เพราะเราเหลือเวลาน้อยลงทุกที เราเรียกร้องให้ผู้นำประเทศทั่วโดยกล้าที่จะตัดสินใจอย่างเด็ดขาด เพื่อปกป้องมหาสมุทรและโลกของเรารวมกันกับผู้คนอีกเกือบสองล้านคนที่ได้ลงชื่อเรียกร้องให้รับรองสนธิสัญญาทะเลหลวง คุณเองก็ช่วงปกป้องมหาสมุทรได้เหมือนที่มหาสมุทรคอยปกป้องเรา

คริส โทรน ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ สหราชอาณาจักร

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม