All articles
-
Fake My Catch: ความไม่น่าเชื่อถือของการตรวจสอบย้อนกลับทูน่ากระป๋อง
รายงานฉบับนี้พบว่าข้อมูลของบัมเบิล บีในเว็บไซต์ “Trace My Catch” ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของตนตั้งแต่การจับจนมาถึงเป็นกระป๋องนั้น มีไม่เพียงพอและในบางกรณีก็ไม่ถูกต้อง
-
จากอ่าวไทยถึงรัฐสภา : บันทึกเดินเรือทวงคืนน้ำพริกปลาทู
ปลาทูเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน เพราะราคาถูก รสชาติอร่อย และเต็มไปด้วยสารอาหาร มันจึงช่วยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมานานหลายชั่วอายุคน แต่ปลาทูไทยวันนี้ไม่ได้มีราคาถูกและหาง่ายเหมือนดังแต่ก่อน ที่วางขายในตลาดหรือห้างร้านนับวันยิ่งตัวเล็กลง และส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อเทียบปี 2557 และ 2562 ผลผลิตปลาทูไทยลดลงเกือบ 6 เท่า[1] และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราปล่อยให้มีการทำประมงเกินขนาดและจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยไร้การควบคุม หลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านจึงรวมตัวกันรณรงค์ให้หยุดซื้อ-จับ-ขาย สัตว์น้ำวัยอ่อน พวกเขาร่วมกันทำบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สร้างข้อตกลงในชุมชนไม่จับสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สื่อสารวิกฤตครั้งนี้กับสังคม หรือแม้กระทั่งเดินทางมายื่นหนังสือต่อห้างร้านในกรุงเทพฯ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน “ปัจจุบันมีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ทำให้ประมงพื้นบ้านที่เป็นประมงขนาดเล็ก ที่จับปลาตัวใหญ่ได้ผลกระทบโดยตรง รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องซื้ออาหารทะเลในราคาที่แพงขึ้น การรณรงค์ในเรื่องของการห้ามซื้อห้ามขายสัตว์น้ำวัยอ่อนทั่วกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต” ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้เราฟังขณะรอยื่นหนังสือต่อห้างสรรพสินค้าให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน ความพยายามเหล่านี้ช่วยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคและชาวประมงในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ปิยะมองว่า มาตรการควบคุมจากภาครัฐเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ตลอดเวลาที่ชาวประมงร่วมกันรณรงค์ ภาครัฐกลับไม่มีส่วนร่วมในการผลักดันและควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แม้จะมี “กุญแจ” สำคัญอยู่ในมือ กุญแจสำคัญที่ว่า คือพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตราที่ 57 ซึ่งระบุว่า…
-
ทำประมงในทะเลหลวงแล้วไม่ค่อยมีกำไร จะอยู่รอดได้ต้องกดขี่แรงงาน?
เขียนโดย Mallika Talwarแปลและเรียบเรียงโดย อารีญา ยอดดำเนิน
-
แรงงานประมงข้ามชาติอินโดฯ ประกาศชัยชนะหลังรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายประกันสิทธิและความปลอดภัย
อินโดนีเซียประกาศบังคับใช้กฎหมายปกป้องสิทธิและการจ้างงานแรงงานข้ามชาติบนเรือประมง ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการละเมิดในอุตสาหกรรมประมง
-
ประมงพื้นบ้านล่องเรือจากทะเลถึงรัฐสภาไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายเลิกจับสัตว์น้ำวัยอ่อน
กรุงเทพฯ, 8 มิถุนายน 2565 — ภาคีเครือข่ายทวงคืนน้ำพริกปลาทูล่องเรือจอดหน้ารัฐสภาไทย และ ยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังเดินทางกว่า 14 วัน รวมระยะทางราวหนึ่งพันกิโลเมตร เรียกร้องภาครัฐออกมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แก้วิกฤตทรัพยากรประมง
-
“ปลาเงี่ยน” ซาซิมิไทยที่เกือบหายไปเพราะปลาหมดทะเล
การนำปลาแร่สดมาทานคู่กับเครื่องเคียง คือเมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมในไทยที่เรียกกันติดปากว่า “ซาซิมิ” แต่รู้หรือไม่ว่ามีปลาทะเลไทยที่ถูกนำมาทำ “ซาซิมิ” เช่นกัน โดยเมนูนี้ทางภาคใต้เรียกว่า ปลาเงี่ยน ปลาเงี้ยน ปลาจิ้ม หรือแล้วแต่บางพื้นที่จะเรียก
-
คุยกับวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี ถึงรูรั่วทะเลไทย หลังปฏิวัติประมงครั้งใหญ่ปี ‘58
การประมงของไทยในช่วงสิบปีหลังเป็นอย่างไร สถานการณ์ปลาทะเลอยู่ในขั้นวิกฤตจริงหรือไม่ วันนี้เราจับเข่าคุยกับ “แทป” วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย
-
การหาข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงยังคงล้มเหลว ขณะที่เรือกรีนพีซพบกองเรือประมงผิดกฎหมายในทะเลหลวง
- การเจรจาเพื่อหาข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวงครั้งที่สี่ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติยังหาข้อสรุปไม่ได้ ขณะที่เรืออาร์กติก ซันไรส์ (Arctic Sunrise) ของกรีนพีซ พบกองเรือกว่า 400 ลำ กำลังกวาดทรัพยากรทะเลในน่านน้ำเปิดทางตอนใต้ของแอนตาร์กติก
-
Coastal Lives during Covid-19 : ชีวิตที่เปลี่ยนไปของแรงงานประมงข้ามชาติในอุตสาหกรรมประมง
หลังการระบาดของโควิด-19 ตอนนี้คนงานข้ามชาติโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารทะเลมีชีวิตเป็นอย่างไร วิถีชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปแค่ไหน ?
-
จริงหรือไม่ ที่เขาว่าปลาตัวเล็กมีแคลเซียมเยอะ
ร่วมไขคำตอบว่า ปลาเล็กปลาน้อยเหล่านี้มีแคลเซียมมากอย่างที่เราได้ยินกันมาจริงหรือไม่ ก่อนจะเข้าสู่บทสรุปที่ว่า เราผู้บริโภคจะเลือกกินอย่างไรให้ดีต่อทั้งสุขภาพเราเองและท้องทะเล