All articles
-
ไม่ควรจะมีใครถูกบังคับให้สูญหายจากการเรียกร้องสิทธิทางสิ่งแวดล้อม
กี่ชีวิตมาแล้วที่ต้องร่วงหล่นสูญหายจากการปกป้องชุมชนและสิ่งแวดล้อม
-
ทำไมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิและชดเชยคาร์บอนไม่ช่วยกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
การตั้งเป้าหมายก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิเกิดขึ้นแทบจะเป็นรายวัน แผนการนี้ทึกทักว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ถ่านหินจะชดเชยด้วยการดูแลป่าหรือปลูกป่าในเวลาจริง โดยละเลยความจริงที่ว่าต้นไม้ใช้เวลาเติบโต ในขณะที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานฟอสซิลนั้นเห็นผลในทันที
-
นโยบาย Net Zero Emission ของไทยจะเป็นเพียงหน้าไหว้หลังหลอกหรือไม่?
หนึ่งในไฮไลท์จากมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา คือ การเห็นชอบกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ. 2065-2070 (พ.ศ.2608-2613)
-
รายงาน IPCC เตือนให้รัฐบาลทั่วโลกลงมือทำทันทีเพื่อกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ก่อนที่จะสายเกินไป
รายงานคณะทำงานที่ 1 เรื่อง “พื้นฐานวิทยาศาสตร์กายภาพ(the Physical Science Basis)” อันเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) จัดทำโดย นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลก สรุปถึงความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดว่า เกิดอะไรขึ้นกับระบบสภาพภูมิอากาศของโลก และเป็นคำเตือนที่ชัดเจนว่าเรากำลังจะมุ่งหน้าไป ณ ที่ใด หากไม่ลงมือทำอย่างเร่งด่วน
-
ติดตามวิกฤตสภาพภูมิอากาศจากรายงาน IPCC
รายงานที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุดของ IPCC นี้ คือสารที่ส่งตรงจากนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศชั้นนำของโลกถึงรัฐบาลประเทศต่างๆ ในเรื่องความเข้าใจล่าสุดว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบสภาพภูมิอากาศของโลก
-
ยูเนสโกเตือน ความล้มเหลวของนโยบายสภาพภูมิอากาศของรัฐบาลออสเตรเลีย จะทำให้เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ กลายเป็น “มรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย”
การสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลของรัฐบาลออสเตรเลีย รวมถึงการขาดนโยบายสภาพภูมิอากาศที่น่าเชื่อถือ ทำให้ล่าสุด องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ออกมาเตือนว่า เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ มรดกทางนิเวศวิทยาที่สำคัญของโลกจะตกอยู่ในอันตราย
-
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อเมืองชายฝั่งในเอเชีย
รายงานฉบับใหม่ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ระบุว่า ภายในปี 2573 การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและน้ำท่วมแนวชายฝั่งในสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียอาจนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 724,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
-
ศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินคดีโลกร้อนครั้งประวัติศาสตร์ สั่งให้เชลล์ลดการปล่อยคาร์บอน 45% ในฐานะตัวการก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
กรุงเฮก, 26 พฤษภาคม 2564 - ในคำตัดสินครั้งประวัติศาสตร์ในวันนี้ ศาลเนเธอร์แลนด์ตัดสินว่าเชลล์ต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นตัวการก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ นับเป็นครั้งแรกที่บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่ต้องรับผิดชอบต่อการมีส่วนร่วมในวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และได้รับคำสั่งให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
-
คำมั่นสัญญาอันน้อยนิดของผู้นำโลกในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศกำลังพาพวกเราเข้าใกล้หายนะ
ผู้นำจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน แคนาดา และญึ่ปุน ต่างก็ให้คำสัญญาใหม่ ๆ ในการป้องกันวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่พวกเราก็ยังไม่เห็นแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปเป็นร่างและเส้นทางที่ชัดเจนที่จะทำตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นั่นคือการควบคุมอุณหภูมิพื้นผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
-
แถลงการณ์กรีนพีซ ประเทศไทย “สิทธิทางสิ่งแวดล้อมของชนเผ่าพื้นเมือง”
กรีนพีซ ประเทศไทย ในฐานะเป็นองค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นอิสระและเป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมในประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่า การเคารพสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (indigenous rights) และการฟื้นฟูสิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง (self-determination) คือหัวใจสำคัญในการต่อสู้เพื่อปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติรวมถึงนิเวศบริการโดยรวมต่อสังคมไทย