ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา คำสั่งซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่ลดลงอย่างมากทั่วโลกเหตุผลประการหนึ่งคือเศรษฐกิจที่ตกต่ำซึ่งเป็นเหตุให้คนละทิ้งพลังงานนิวเคลียร์
อุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของพลเรือนดำเนินงานมากกว่า 50 ปีในช่วงเวลาอันยาวนานเช่นนี้ตามธรรมดาแล้วน่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการเรียนรู้ใหม่ๆ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมนิวเคลียร์กลับไม่ได้ดำเนินไปตามแบบแผนดังกล่าว
ต้นทุนการก่อสร้างสูงขึ้น
หลายประเทศพบว่าต้นทุนการก่อสร้างโครงการพลังงานนิวเคลียร์สูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้มากในสหรัฐอเมริกาจากการประเมิน 75 เครื่องปฏิกรณ์ทั่วประเทศชี้ให้เห็นว่าในขณะที่งบประมาณที่ตั้งไว้มีรวมกันที่ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ต้นทุนการก่อสร้างที่แท้จริงกลับเป็น 145,000 ล้านเหรียญ ในอินเดียประเทศซึ่งอาจมีการก่อสร้างโครงการพลังงานนิวเคลียร์อยู่ในปัจจุบันแต่ต้นทุนเฉลี่ยที่แท้จริงของการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ 10 เครื่องล่าสุดอยู่สูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้อย่างน้อย 300%
เวลาก่อสร้างสูงขึ้น
ระยะเวลาก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 66 เดือนเมื่อกลางทศวรรษ 1970 เป็น 116 เดือน (เกือบ 10 ปี) ในระหว่างปี 2538 ถึง 2543
ระยะเวลาก่อสร้างที่ยาวนานขึ้นเป็นสัญญาณที่ชี้ถึงปัญหาอันเนื่องมาจากการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและยากต่อการจัดการ
อุปสงค์การก่อสร้างลดลง
ในปัจจุบันเครื่องปฏิกรณ์เพียง 22 แห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในโลกส่วนใหญ่ (17 เครื่อง) ก่อสร้างในเอเชียและ 16 จาก 22 เครื่องสร้างตามเทคโนโลยีของจีน อินเดียและรัสเซีย เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่มีโอกาสจะส่งออกไปยังประเทศอุตสาหกรรม (OECD) แน่นอน
การก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ 5 เครื่องเริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว และโอกาสที่จะสร้างให้เสร็จตามกำหนดการยังมีความไม่แน่นอน อีก 14 เครื่องเริ่มการก่อสร้างแล้ว แต่มีคำสั่งให้ชะลอการก่อสร้างออกไปในปัจจุบัน โดยมี 10 เครื่องอยู่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก การก่อสร้างโครงการนิวเคลียร์ที่น้อยลงอย่างมากทำให้แนวโน้มการพยากรณ์ต้นทุนมีความไม่แน่นอน