ยืนหยัดเคียงข้างในสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองชาติพันธุ์
กรีนพีซรณรงค์ผลักดันให้เหล่าผู้นำและผู้มีอำนาจต้องหยุดยกผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนขึ้นมาเหนือกว่าคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน โดยต้องเพิ่มการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมืองมีส่วนร่วมเพื่อการตัดสินใจในเชิงนโยบาย
พร้อมทั้งสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous peoples and local communities –IPLCs) ตามแนวทางในข้อตกลงอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ของคณะทำงานใน Article 8 (j)


คืนสิทธิในการปกป้องพื้นที่ตนเอง
ใช้แนวทางที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนให้ชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมืองมีอำนาจในการปกป้องที่ดิน แหล่งน้ำ อาณาเขต และความหลากหลายทางชีวภาพของพวกเขา เพื่อรับรองสิทธิในที่ดินและแหล่งน้ำตามจารีตประเพณีของชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมืองพร้อมทั้งประกันสิทธิของพวกเขาว่าจะไม่ถูกช่วงชิงโดยกลุ่มผู้มีอำนาจ โดยจะนำไปสู่การผลิตที่มั่นคง ยั่งยืน และแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เน้นการวางแผนและมีส่วนร่วมในถิ่นฐานและวิถีชีวิตของแต่ละชุมชนในเขตป่า
โดยที่สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนและเกษตรกรรมยั่งยืน ที่ให้ความสําคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นธรรมระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับผู้ประกอบการ
ภูมิปัญญาที่ปกป้องระบบนิเวศโลก
โลกต้องตระหนักถึงการทำงานของชนเผ่าพื้นเมืองชาติพันธุ์ ด้วยความรู้และภูมิปัญญาที่สั่งสมมา อันกลายเป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพสำหรับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยข้อตกลงอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพได้เน้นย้ำถึงกรอบการทำงานของรัฐบาลเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพจะต้องเคารพภูมิปัญญา นวัตกรรม ประเพณีปฏิบัติ และเทคโนโลยีของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น เทียบเท่ากับความรู้รูปแบบอื่นๆ แม้ว่าชนเผ่าพื้นเมืองจะเป็นประชากรเพียง 5% ของโลก แต่พวกเขากลับเป็นผู้ปกป้องระบบนิเวศในผืนป่าและต้นน้ำของโลกกว่า 80%
การสนับสนุนตามแนวทางนี้จะช่วยชะลอวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งช่วยเพิ่มพื้นที่เขตป่า ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลกที่คุ้มครองสัตว์ทะเลและทรัพยากร

-
เสียงของการปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ถูกทำให้เงียบด้วย ‘SLAPP’
มีคดี SLAPP เกิดขึ้นมากกว่า 500 คดี ทั้งคดีที่ฟ้องโดยรัฐและฟ้องโดยเอกชน ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการฟ้องคดีปิดปากมากที่สุด 3 อันดับ คือกลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และกลุ่มพลังงาน
-
ปลดล็อกโลก: ยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
รายงานสหประชาชาติ A/HRC/59/42: ความจำเป็นเร่งด่วนในการยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รายงานนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบจากวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นวัฏจักรข้ามรุ่นที่รุนแรงและแผ่กระจายไปเป็นความรุนแรงของการละเมิดสิทธิมนุษยชน
-
กรีนพีซหวังเห็น UNOC3 เปลี่ยนวาทกรรมสวยหรูสู่การปฏิบัติจริง
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องมหาสมุทร (The UN Ocean Conference: UNOC) ปิดฉากลงอย่างเป็นทางการในวันนี้ พร้อมความก้าวหน้าสำคัญในการผลักดัน “สนธิสัญญาทะเลหลวง” (High Seas Treaty) สู่การให้สัตยาบัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดตั้งเขตอนุรักษ์ในน่านน้ำสากล ซึ่งจะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถใช้ปกป้องพื้นที่มหาสมุทรได้อย่างแท้จริง
เรื่องราวชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมือง

รู้จักการประชุมระดับโลก เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ CBD-COP

ฟังเสียงและข้อมูลโต้อคติไร่หมุนเวียนตัวการฝุ่นพิษภาคเหนือ

‘บ้านเรา ให้เราดูแล’ เสียงจาก 4 นักปกป้องชุมชนทะเลไทย
-
คุยกับ วินัย ปราณสุข : เรื่องเล่าจากนักวิจัยทางทะเลที่เชื่อในพลังของชุมชน
พี่นัย ได้ไปร่วมเก็บตัวอย่างหน้าดินเพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพกับ เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ โดยภารกิจการเก็บตัวอย่างครั้งนี้เกิดขึ้นที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร และ อ.จะนะ จ.สงขลา เราอยากพาทุกคนมาสำรวจตัวตนของเขาและการเป็นนักวิจัยทางทะเลกับเนื้องานที่คนทั่วไปแบบเรา ๆ อาจไม่เคยเห็น
-
พูดคุยกับ วรรณิศา จันทร์หอม กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น และการใช้ศิลปะ เกียวทาคุสื่อสารเรื่องราวของชุมชน
“เราไม่ได้มองแค่รายได้ เพราะจริง ๆ การได้สื่อสารเรื่องราวของชุมชนมันมากกว่ารายได้”