เนื้อหาโดยสรุป

  • นักวิจัยจาก University of Catania ในอิตาลีค้นพบเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กในผลไม้และผักบางชนิดเช่น แครอท ผักกาดหอม แอปเปิ้ลและลูกแพร์
  • ไมโครพลาสติกสามารถแทรกซึมเข้าไปในรากของผักกาดหอมและลำต้นข้าวสาลี นอกจากนี้รากของพืชยังดูดซับนาโนพลาสติก ดังนั้นผลไม้และผักจึงเป็นแหล่งสะสมไมโครพลาสติกจากน้ำและดินที่ปนเปื้อนอยู่แล้ว
  • สถาบันผู้บริโภคของฮ่องกงรายงานว่าพบไมโครพลาสติกในเกลือที่นำมาทดสอบกว่า 20% จากปริมาณเกลือทั้งหมด โดยพบอนุภาคไมโครพลาสติกประมาณ 114 – 17,200 มิลลิกรัม ในเกลือทดลอง 1 กิโลกรัม
  • การหยุดกินอาหารที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะยิ่งเราเพิกเฉยไม่เริ่มแก้ปัญหามลพิษอย่างจริงจัง เราก็จะกินมันเข้าไปมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว
  • การลดการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่บริษัทต้นทางก็คือลดการผลิตพลาสติกที่ไม่จำเป็น ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตก็ลดใช้พลาสติกในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นยิ่งเราลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งได้เร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งลดความเสี่ยงของการกินไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายได้มากเท่านั้น

แน่นอนว่าอาหารคือปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตของเราทุกคน และวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหารจะต้องสะอาดและมีคุณภาพ แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน วัตถุดิบที่เราใช้ทำอาหารนั้นมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ งานวิจัยล่าสุดที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของร่างกายจากมลพิษพลาสติกแสดงให้เห็นแล้วว่าวัตถุดิบหลายประเภทที่เรากินมีปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อน จากขยะที่เราทิ้งในตอนนี้พวกมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อาหารของพวกเราแล้ว 

Plastic Free Picnic in Russia. © Greenpeace / Zamyslov Slava
ผักผลไม้ และอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน © Greenpeace / Zamyslov Slava

การหยุดกินอาหารที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะยิ่งเราเพิกเฉยไม่เริ่มแก้ปัญหามลพิษอย่างจริงจังเราก็จะกินมันเข้าไปมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว 

1.ผักและผลไม้

นักวิจัยจาก University of Catania ในอิตาลีค้นพบเศษชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กในผลไม้และผักบางชนิดเช่น แครอท ผักกาดหอม แอปเปิ้ลและลูกแพร์

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่พบปริมาณไมโครพลาสติกเยอะที่สุดในบรรดาผลไม้ที่นำมาทดสอบ โดยพบปริมาณไมโครพลาสติกในแอปเปิ้ล 1 กรัม เฉลี่ย 195,500 ชิ้น ในขณะที่ลูกแพร์มีปริมาณไมโครพลาสติกเฉลี่ย 189,500 ชิ้นต่อ 1 กรัม ส่วนบล็อคโคลี่และแครอท เป็นผักที่พบไมโครพลาสติกมากที่สุดโดยพบไมโครพลาสติกในปริมาณมากกว่า 100,000 ชิ้นต่อผัก 1 กรัม

‘Unwrap Our Grocery’ Photo opp in Hong Kong Supermarkets. © Patrick Cho / Greenpeace
สินค้าหลายๆชนิดรวมทั้งผลไม้อย่างแอปปิ้ลที่ขายในห้างสรรพสินค้ามักถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง © Patrick Cho / Greenpeace

ผลการศึกษาทั้ง 2 ชิ้นถูกเผยแพร่ก่อนที่จะมีการพบว่าไมโครพลาสติกสามารถแทรกซึมเข้าไปในรากของผักกาดหอมและลำต้นข้าวสาลี นอกจากนี้รากของพืชยังดูดซับนาโนพลาสติก ดังนั้นผลไม้และผักจึงเป็นแหล่งสะสมไมโครพลาสติกจากน้ำและดินที่ปนเปื้อนอยู่แล้วนั่นเอง

ซีออน ชาน ผู้ประสานงานรณรงค์ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออก ในฮ่องกง กล่าวว่า “เรากินปริมาณไมโครพลาสติกเกือบทั้งหมดที่สะสมอยู่ในแอปเปิ้ลได้เพียงกัดแค่หนึ่งคำ สิ่งที่เราทำได้เพื่อทำให้ปัญหาการสะสมของไมโครพลาสติกนี้ทุเลาลงคือ การลดการผลิตพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจะต้องเกิดขึ้นตั้งแต่บริษัทต้นทางก็คือลดการผลิตพลาสติกที่ไม่จำเป็น ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตก็ใช้พลาสติกในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นยิ่งเราลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวได้เร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งลดความเสี่ยงของการกินไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายได้มากเท่านั้น”

2.เกลือ

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2563 สถาบันผู้บริโภคของฮ่องกงรายงานว่าพบไมโครพลาสติกในเกลือที่นำมาทดสอบกว่า 20% จากปริมาณเกลือทั้งหมด โดยพบอนุภาคไมโครพลาสติกประมาณ 114 – 17,200 มิลลิกรัม ในเกลือทดลอง 1 กิโลกรัม ยิ่งไปกว่านั้นตัวอย่างการทดลองนี้ยังแสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งประเภทโพลีโพรพิลีน  (Polypropylene:PP) 

นอกจากนี้ จากงานวิจัยที่กรีนพีซ เอเชียตะวันออกทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Incheon National University ในเกาหลีใต้พบว่า เกลือที่นำมาทดสอบทั้งหมด 39 แบรนด์ จาก 21 ประเทศมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนมากกว่า 90% เกลือเหล่านี้ยังคงถูกจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าออนไลน์ และเมื่ออ้างอิงจากผลวิจัยในระดับสากลแล้ว เป็นไปได้ว่ามนุษย์เราอาจบริโภคอนุภาคไมโครพลาสติกเข้าไปประมาณ 20,000 ชิ้นต่อปี เมื่อบริโภคเกลือปริมาณเฉลี่ย 10 กรัมต่อวัน

3.ปลากระบอกเทา (Flathead Grey Mullet)

Microplastic Present in Wild Flathead Grey Mullet in Hong Kong. © Greenpeace
จากการทดลองของมหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong ใน พ.ศ.2560 พบไมโครพลาสติกในปลากระบอกเทาถึง 60% © Greenpeace

จากการทดลองของมหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong ใน พ.ศ.2560 พบไมโครพลาสติกในปลากระบอกเทาถึง 60% โดยพบปริมาณเฉลี่ย 4.3 ชิ้น ต่อปลา 1 ตัว และยังพบไมโครพลาสติกในปลาทะเลและปลากระบอกเทาที่ซื้อจากตลาดปลาอื่น ๆ อีกด้วย

พลาสติกปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารได้อย่างไร?

ไมโครพลาสติกเป็นพลาสติกที่แตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็ก (มีขนาดความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร) ไมโครพลาสติกนี้เกิดจากพลาสติกที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น บรรจุภัณฑ์จากซูเปอร์มาร์เก็ต ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ ถุงพลาสติกใส่ขนมปัง และอื่น ๆ มีรายงานว่า ในแต่ละปีมีพลาสติกมากกว่า 112 ตันในฮ่องกงถูกทิ้งเป็นขยะไหลลงทะเล พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยหลักของมลพิษพลาสติก

Microplastic Present in Wild Flathead Grey Mullet in Hong Kong. © Greenpeace
จากการทดลองของมหาวิทยาลัย The Education University of Hong Kong ใน พ.ศ.2560 พบไมโครพลาสติกในปลากระบอกเทาถึง 60% โดยพบปริมาณเฉลี่ย 4.3 ชิ้น ต่อปลา 1 ตัว © Greenpeace

ไมโครพลาสติกเป็นพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ที่หลุดรอดลงไปในมหาสมุทรได้จากการบำบัดน้ำเสีย พลาสติกเหล่าที่ไม่ได้ละลายหายไปไหน เพียงแต่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กลง จนเป็นอาหารของแพลงก์ตอนและหอยต่าง ๆ ทำให้ไมโครพลาสติกเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร

มลพิษไมโครพลาสติกส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพเรา

ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์น้ำ เช่น ทำให้ลำไส้ของปลาเกิดความผิดปกติ สารเคมีในไมโครพลาสติกจึงอาจเป็นพิษและคุกคามสุขภาพมนุษย์ ในไมโครพลาสติกมีกลุ่มสารมลพิษตกค้างยาวนาน หรือ persistent organic pollutants (POPs) เช่น ยาฆ่าแมลงและพลาสติกไซเซอร์ หรือแม้กระทั่งส่วนประกอบในพลาสติกประเภท PE และ PP ดังนั้น สุขภาพของเราตกอยู่ในความเสี่ยงทุกครั้งที่กินอาหารที่มีพลาสติกหรือไม่โครพลาสติกปนเปื้อน

เราจะแก้วิกฤตนี้ได้อย่างไร?

มลพิษพลาสติกถือเป็นวิกฤตของความสะดวกสบาย ซึ่งความสะดวกสบายนี้เองทำให้สุดท้ายเราต้องเผชิญกับกองขยะพลาสติกในปริมาณมหาศาลดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ทุกกลุ่มในวงจรพลาสติกต้องหันมาลดพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง นั่นคือการผลิต 

ผู้ผลิตและภาคธุรกิจต้องลดการผลิตที่ไม่จำเป็นลง แล้วหันมาใช้ระบบมัดจำ ระบบเติม และมุ่งผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำแทน รวมถึงระบบเก็บรวบรวมขยะเพื่อนำเข้าสู่ระบบหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ส่วนภาครัฐเองก็ควรออกนโยบายขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจคำนึงถึงการลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการจัดการไม่ให้ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม ในส่วนของผู้บริโภค นอกเหนือจากการลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ยังจำเป็นต้องร่วมกันส่งเสียงบอกภาครัฐและภาคเอกชนให้มีนโยบายลดใช้พลาสติกอย่างจริงจังและทันที และพร้อมสนับสนุนสินค้าที่ลดใช้พลาสติกเหล่านั้น 

เราต้องการคุณเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญคือเราไม่อาจกู้วิกฤตมลพิษพลาสติกด้วยเพียงแค่การรีไซเคิล ถึงเวลาแล้วที่บริษัททั้งหลายต้องบอกลาพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวไปพร้อมกัน ลงชื่อบอกบริษัทผู้ผลิตให้ยุติการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมทั้งสนับสนุนให้ซูเปอร์มาร์เก็ตลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง พัฒนา “ระบบเติม” ให้ลูกค้านำภาชนะมาเติมผลิตภัณฑ์ได้เอง

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม