“เจ็ดสิบกว่าปีที่รอคอย ในที่สุดวันนี้ก็มาถึงและเป็นวันหนึ่งที่ฉันมีความสุขมากที่สุด” เซ็ตสึโกะ เทอร์โลว (Setsuko Thurlow) ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา พูดถึงการตกลงร่วมลงนามสนธิสัญญายุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ณ องค์การสหประชาชาติ ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา  “นี่คือจุดเริ่มต้นของการยุติอาวุธนิวเคลียร์”

แต่การลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นเพียงก้าวแรกก่อนที่สนธิสัญญาฉบับนี้จะมีผลต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

จนถึงวันที่ 20 กันยายน รัฐบาลสามารถดำเนินการขั้นต่อไปและลงนามในสนธิสัญญาการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการ เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ ประเทศนั้นๆจะต้องนำมาใช้เป็นกฎหมายแห่งชาติในการให้คำมั่นต่อสนธิสัญญาฉบับนี้ และจะต้องมีอย่างน้อย 50 ประเทศลงนาม สนธิสัญญานี้จึงจะได้รับการยอมรับตามกฎหมายระหว่างประเทศ

รัฐบาลที่ลงนามและให้สัตยาบันในสนธิสัญญามีสิ่งที่พึงกระทำคือ:

“ห้ามการพัฒนา การทดสอบ การผลิต การมีไว้ในครอบครองหรือสะสมอาวุธนิวเคลียร์หรืออุปกรณ์ระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ … (หรือ) การใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นภัยคุกคามไม่ว่ากรณีใดก็ตาม” สนธิสัญญาฉบับนี้ยังห้ามประเทศต่างๆ จัดตั้งสถานี การติดตั้ง หรือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในเขตแดนของตน อ่านข้อความฉบับเต็มได้ที่นี่

ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สนธิสัญญาฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจาก 122 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่ได้ร่วมลงชื่อคาดหวังที่จะได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบันในช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามา

นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่แค่นั้นยังไม่พอ

เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเมื่อพูดถึงความอยุติธรรมของโลกที่ยังใช้อาวุธนิวเคลียร์ มีแค่ 9 ประเทศในโลกที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง คือ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหพันธรัฐ อินเดีย เกาหลีเหนือ ปากีสถาน และอิสราเอล และยังมีอีก 5 ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯไว้ในครอบครองตามสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (North Atlantic Treaty Organzation : NATO) คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี่ เนเธอร์แลนด์ และตุรกี

ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้คว่ำบาตรการเจรจาของสนธิสัญญาฉบับใหม่ ยกเว้นเนเธอร์แลนด์ที่เข้าร่วมการเจรจาแต่กลับลงนามต่อต้านสนธิสัญญาฉบับนี้

พวกเขาทั้งหมดยืนกรานว่าจะไม่ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ สหรัฐฯ ยังใช้อิทธิพลต่อการกดดันประเทศอื่น ๆ เพื่อไม่สนับสนุนสนธิสัญญา

ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่สำคัญ เว้นเสียแต่ว่าประเทศที่ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาจะไม่ต้องมีพันธะตามข้อตกลงนี้

ประชาชนเรียกร่วมเดินขบวนยุติอาวุธนิวเคลียร์หน้าสถานที่การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี (เมษายน ปี 2559)

ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริงแต่ก็ไม่มีเหตุผลที่จะสิ้นหวัง ตรงกันข้าม วันนี้กลับเป็นยุคสมัยใหม่และเป็นจุดเริ่มต้นของการยุติอาวุธนิวเคลียร์

แต่ละประเทศที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันในสนธิสัญญาฉบับนี้จะมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสนธิสัญญาที่จะมีผลกระทบต่อการเมืองโลก และช่วยลดบทบาทของอาวุธทำลายล้างในแผนนโยบายด้านความมั่นคงให้เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย

การมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาอาจส่งผลต่อการปฏิบัติทางทหารในประเทศที่ไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญา ซึ่งทำให้ผู้สนับสนุนการใช้อาวุธนิวเคลียร์ยากที่จะอธิบายว่าอาวุธนิวเคลียร์เป็นวิธีที่ถูกกฎหมายและเป็นประโยชน์ในการสร้างความมั่นคง นอกจากนี้ยังจะสร้างบรรทัดฐานต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ในทางสากล

อย่างที่มหาตมะ คานธีเคยกล่าวไว้ “เริ่มแรกพวกเขาไม่ใยดี แล้วต่อมาก็หัวเราะใส่ จากนั้นก็จะต่อสู้กับคุณ แล้วคุณจะเป็นผู้ชนะ”

แม้ว่าหนึ่งปีก่อนหน้านี้ความคิดเกี่ยวกับสนธิสัญญายุติการใช้อาวุธนิวเคลียร์ดูเหมือนว่าเป็นความฝันลมๆ แล้งๆ และเป็นเรื่องที่น่าขำขันของใครหลาย ๆ คน แต่กลับกลายเป็นว่ามีหลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและใช้เวลาเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้นในการตกลงและพูดคุย

ประเทศซึ่งมักถูกมองข้ามเมื่อมีการพูดถึงความมั่นคงระดับโลก นั้นได้ร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาสังคมจนทำให้การร่วมลงนามสนธิสัญญาเป็นจริงขึ้นมา

หลายประเทศสนับสนุนสนธิสัญญาฉบับนี้ และอีกหลายประเทศที่จะร่วมลงนามในช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามา ได้แสดงจุดยืนในนามของพลเมืองของประเทศและอีกกว่าล้านคนบนโลกอย่างชัดเจนว่า อาวุธนิวเคลียร์ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสงบสุขและความมั่นคง

ปีนี้ความคิดเรื่องสงครามนิวเคลียร์ถูกจุดประเด็นขึ้นอีกครั้งในบางประเทศ ไม่มีช่วงเวลาไหนที่ดีต่อการประนามอาวุธนิวเคลียร์ที่เลวร้ายเท่าวันนี้ซึ่งถือเป็นวันสันติภาพโลก เราควรที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลของเราร่วมสนับสนุนสนธิสัญญาฉบับนี้

พวกเราสามารถทำอะไรได้บ้าง?

ส่งเรื่องราวถึงผู้นำรัฐ/ผู้มีอำนาจตัดสินใจและเรียกร้องให้พวกเขาสนับสนุนสนธิสัญญาหยุดใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยทำตามขั้นตอนได้ที่นี่

Jen Maman ที่ปรึกษาอาวุโสด้านสันติภาพ กรีนพีซสากล

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

Comments

Leave your reply