แม้ว่าสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่สั่งห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลกของสหประชาชาติ ได้ถูกนำมาใช้เรียบร้อยแล้ว แต่ประเทศญี่ปุ่นยังคงที่จะ ทำลายความหวังของผู้ที่ยังมีชีวิตรอดมาจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2514 นักกิจกรรม 12 คน ได้รวมตัวกันล่องเรือไปที่เกาะอัมชิตกาในหมู่เกาะอาลูเชียนส์ ของรัฐอลาสก้า โดยมีภารกิจเดียวกันคือ เพื่อหยุดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าภารกิจของพวกเขาจะถูกขัดขวางก่อนที่จะถึงจุดหมาย ซึ่งการขัดขวางครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของกรีนพีซ และหนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่เรารณรงค์อย่างไม่หยุดหย่อนคือการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์

ลูกเรือกรีนพีซรุ่นแรกของเรือฟิลลิส คอร์แมกส์ (Phyllis Cormack) เดินทางไปยังเกาะอัมชิตกา เพื่อประท้วงการทดลองอาวุธนิวเคลียร์

และในปี พ.ศ. 2560 นี้ ประเด็นเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ที่เป็นการรณรงค์หลักของกรีนพีซ  ก็ประสบความสำเร็จ เพราะเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้นำ “สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์” มาใช้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ได้ลงมติสนับสนุนสนธิสัญญานี้ อันเป็นข้อตกลงที่ไม่ใช่แค่ห้ามให้มีการพัฒนา การทดลอง การผลิต การครอบครอง และการใช้อาวุธนิวเคลียร์ แต่ยังถือว่าการใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็น “ภัยคุกคาม” นอกจากนี้อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และระเบิดดาวกระจายยังได้ถูกห้ามใช้ในสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย สนธิสัญญาอาวุธนิวเคลียร์จะเปิดให้ลงนามโดยแต่ละรัฐในวันที่ 20 กันยายนที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ตาม ความผิดหวังของพวกเราคือประเทศญี่ปุ่นกลับไม่เข้าร่วมกับอีก 122 ประเทศหรือสองในสามของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ต้องการหยุดอาวุธนิวเคลียร์ การไม่เข้าร่วมของประเทศญี่ปุ่น ถูกมองว่าเป็น “ความเสียหายอย่างยอมรับไม่ได้ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการใช้อาวุธนิวเคลียร์ (Hibakusha) รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์”

นักกิจกรรมกรีนพีซถือธงของประเทศที่ยังใช้นิวเคลียร์กับระเบิดนิวเคลียร์จำลองหน้าการประชุมการหยุดใช้อาวุธหน้าองค์การสหประชาชาติเมื่อปีพ.ศ. 2539

รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความกังวลต่อการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาฉบับนี้ว่าการคุยกันแค่ประเทศที่อยู่ในกลุ่มไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ อาจสร้างการ “แบ่งแยก” ระหว่างประเทศที่ครอบครองและไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ จากมุมมองของทฤษฎีการเมืองที่คำนึงถึงเรื่องพลังงานในช่วงยุคสงครามเย็น ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศพันธมิตรที่อยู่ภายใต้ระบบคุ้มกันนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งจะเป็นการละเมิดสนธิสัญญาหากญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนาม ดังนั้นญี่ปุ่นอยู่ข้างเดียวกับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรอินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ) และประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ซึ่งก็อยู่ภายใต้ระบบคุ้มกันนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา

การนำสนธิสัญญาแห่งประวัติศาสตร์ที่ประเทศสมาชิกของสหประชาชาตินั้นเห็นด้วยมาใช้ครั้งนี้แสดงถึงชัยชนะที่ได้มาอย่างยากลำบากสำหรับผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Hibakusha) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของชาวอเมริกาจากการทดสอบนิวเคลียร์ ลูกหลานของพวกเขาและนักเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกับการต่อต้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในยุโรปและการทำเหมืองแร่ยูเรเนียมในประเทศออสเตรเลีย สนธิสัญญาฉบับนี้จะเป็นมรดกที่ยาวนานต่อประจักษ์พยาน การประท้วง และกิจกรรมต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และยังช่วยเติมไฟความหวังในการสร้างโลกที่เสรีจากนิวเคลียร์

การเดินขบวนต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ ณ การประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ ที่จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2559

Setsuko Thurlow หนึ่งในเหยื่อเคราะห์ร้ายของเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประเทศแคนาดา ได้บอกกับผู้เข้าร่วมการเจรจาสนธิสัญญาครั้งนี้ว่า

“ฉันอยากให้พวกคุณไม่ใช่แค่รู้สึกถึงการมีตัวตนของคนรุ่นใหม่ในอนาคต คนที่จะได้รับประโยชน์จากการเจรจาในการห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์ แต่ต้องนึกถึงคนที่เคยอยู่ท่ามกลางกลุ่มประจักษ์พยานและกลุ่มควันที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ”

“เราเชื่อมันว่าสนธิสัญญาฉบับนี้สามารถและจะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้”

ภาพนกพิราบสันติภาพจำลองถูกปล่อยสู่ท้องฟ้าเนื่องในวันครบรอบ 60 ปีเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อปี พ.ศ. 2548

เนื่องในวันครบรอบ 72 ปีของเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ พวกเราร่วมยืนหยัดกับผู้รอดชีวิต และคนทั่วโลกที่ร่วมรณรงค์ต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ และร่วมเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมสนธิสัญญานี้ การกำจัดอาวุธนิวเคลียร์เป็นเหตุผลหลักที่กรีนพีซรณรงค์ด้านนี้อย่าเต็มที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ความมุ่งมั่นของญี่ปุ่นต่อสนธิสัญญานี้จะไม่ใช่เพียงแค่ชัยชนะที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานสำหรับประเทศที่มีประวัติศาสตร์ที่โศกเศร้า แต่ยังเป็นก้าวสำคัญที่จะก้าวไปสู่อนาคตที่ปลอดภัยและปราศจากนิวเคลียร์

ยูโกะ โยเนดะ ผู้อำนวยการประจำกรีนพีซญี่ปุ่น

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

Comments

Leave your reply