All articles
-
COP 27 ความสูญเสียและความเสียหายที่ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบ
แม้ว่าการประชุม COP27 จะมีมติตกลงจัดตั้งกองทุนชดเชยควาสูญเสียและเสียหาย เพื่อสนับสนุนเงินให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เรายังคงต้องจับตาการดำเนินกองทุนนี้ต่อไปว่าผู้ก่อมลพิษจะร่วมรับผิดชอบอย่างไร
-
บทสรุป COP27 และอนาคตการปกป้องสภาพภูมิอากาศ
ไฮไลท์สำคัญจาก COP27 ก้าวต่อไปของการร่วมกันแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก
-
ที่ประชุม COP27 ตกลงจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย เพื่อความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
กลุ่มประเทศร่ำรวยจะต้องสนับสนุนเงินจำนวนราวแสนล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี เพื่อสนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดจากผลกระทบวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
แนวโน้ม COP27 อาจเป็นแค่ประชุมฟอกเขียวของกลุ่มผู้ก่อมลพิษ
ครึ่งทางการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศโลก COP27 ในปีนี้มีประเด็นใหม่ที่น่าสนใจนั่นคือ การจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage)
-
ทำไมต้องมี ‘กองทุนชดเชยค่าเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ?’ : เมื่อประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศไม่ได้ก่อมลพิษหลัก
เมื่อต้องสูญเสียจากสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ก่อ หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเริ่มเรียกร้อง “ความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ” เพื่อสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในโลกที่ปลอดภัยจากกลุ่มประเทศผู้ก่อมลพิษหลัก
-
กรีนพีซโต้ร่างเอกสารเจรจาที่เตรียมโดยอียิปต์ในฐานะประธาน COP27
เยบ ซาโน(Yeb Saño) ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ หัวหน้าคณะผู้แทนกรีนพีซที่เข้าร่วม COP27 กล่าวว่า: ร่างเอกสารเจรจาที่เราได้รับจากคณะเจ้าภาพการประชุม COP27 จะยิ่งทำให้โลกของเราเดินเข้าสู่ภัยพิบัติวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายกว่าเดิม
-
COP27 เพิกเฉยต่อเสียงชุมชนที่ได้รับผลกระทบและให้ความสำคัญกับผู้ก่อมลพิษมากกว่าความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ
กรีนพีซยังยืนยันว่าความหวังที่จะกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศให้กลับคืนมาได้ ก็ต่อเมื่อโลกจะต้องละวางเรื่องผลประโยชน์ลงและให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลก
-
กลุ่มผลประโยชน์จากประเทศร่ำรวยขัดขวางข้อเรียกร้องว่าด้วยกองทุนความสูญเสียและความเสียหาย
จากการวิเคราะห์ของกรีนพีซ สากล ระบุว่า กลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุดและก่อมลพิษมากที่สุดในประวัติศาสตร์พยายามขัดขวางความคืบหน้าในการเจรจาที่ COP27 เพื่อจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานกองทุนความสูญเสียและความเสียหายที่มีความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งเรียกร้องโดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าการจัดหาเงินทุนเพื่อรับมือกับความสูญเสียและความเสียหายจะเป็นวาระสำคัญของ COP27
-
“ไม่มีเศรษฐกิจที่โต บนโลกที่ตาย” กรีนพีซ ประเทศไทยส่งข้อความเรียกร้องความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศต่อผู้นำ APEC พร้อมวิพากษ์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาลไทย
นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทยทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย - แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมได้ชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปก ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก
-
รู้จักนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมรุ่นใหม่ ร่วมเดินทางกับกรีนพีซ เรียกร้องความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศช่วง COP27
การเคลื่อนไหวและรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รณรงค์ปกป้องสภาพภูมิอากาศจากภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่กำลังจะมีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศโลกอย่าง COP27 เกิดขึ้น